(http://www.lertchaimaster.com/imageforum/56392_20_2.jpg)
ชีวิตวัยเด็ก
ซุนยัดเซ็น อักษรจีนอ่านว่า ซุนอี้เซียน หรือชาวจีนเรียกท่านว่า ซุนจงซัน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ที่หมู่บ้านชุ่ยเฮิง อำเภอเซียงซัน มณฑลกวางตุ้ง เมื่ออายุยังน้อยชื่อ ?ตี้เชี่ยง? ต่อมาใช้ชื่อ ?เหวิน? และ ?อี้เซียน? ในช่วงที่พำนักและเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อการปฏิวัติอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ปี ค.ศ.1897 นั้น เคยใช้ชื่อ ?จงซันเฉียว? และภายหลังการปฏิวัติซินไฮ่แล้วมักใช้ชื่อ ?จงซัน?ครอบครัวเป็นชาวนายากจน ประกอบด้วยบิดา มารดา พี่ชาย พี่สาว และน้องสาว ต้องอาศัยอยู่
ในกระต๊อบหลังเล็กที่ชายหมู่บ้านอาศัยมันเทศเป็นอาหารหลักแทนข้าว ปู่ของเขาซุนจิ้งเสียนเป็นชาวนายากจนที่ต้องเช่านาเขาทำเพื่อความอยู่รอด บิดาของเขาซุนต๋าเฉิงต้องไปประกอบอาชีพเป็นช่างปะรองเท้าที่มาเก๊าในวัยหนุม ต่อมาได้กลับบ้านเช่านาเขาทำ และเป็นยามในหมู่บ้านพร้อมกันไปด้วย ส่วนพี่ชายของเขาซุนเหมยเป็นคนงานในบ้านเจ้าของที่ดินในหมู่บ้านติดกัน ต่อมา ในปี ค.ศ.1871 ได้พลัดพรากจากบ้านเกิดไปหาเลี้ยงชีพยังหมู่บ้านเกาะฮาวายอันไกลโพ้น โดยแรก เริ่มทำงานในสวนผัก ไม่นานก็ไปเป็นคนงานในไร่ปศุสัตว์ จากนั้นได้หักร้างถางพงดำเนินกิจการคอกปศุสัตว์จนได้รับความสำเร็จกลายเป็น นายทุนชาวจีนโพ้นทะเลปีที่ซุนยัดเซ็นเกิดนั้น เป็นปีที่ 6 หลังจากกหารพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสบุกเข้านครปักกิ่ง และเป็นปีที่ 2 หลังจากนครนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของไท่ผิงเทียนกว๋อ (ขบวนการเมืองแมนแดนสันติ) ถูกยึดครอง ประเทศจีนในขณะนั้นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สังคมศักดินาของจีนแปรเปลี่ยน เป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งศักดินา ความพ่ายแพ้และการยอมจำนนอันอัปยศในสงครามฝิ่นของรัฐบาลราชวงศ์ชิงสองครั้ง สองครา ทำให้ประเทศจีนสูญเสียเอกราชทางการเมืองและตกเป็นทาสทางเศรษฐกิจของทุนนิยม ต่างชาติ ขณะเดียวกันการต่อสู้ของประชาชนจีนต่ออิทธิพลรุกราน ของต่างชาติและอิทธิพลของศักดินาจีนเข้ารับใช้ของมันก็ได้ระเบิดขึ้นอย่างดุ เดือดซุดยุดเซ็นต้องทำนาตั้งแต่อายุได้เพียง 6 ขวบ เริ่มเรียนหนังสือกับครูที่สอนในบ้านเมื่ออายุได้ 10 ขวบ
ในเวลา นั้นมีนักรบผู้เฒ่าคนหนึ่งชื่อ ฝงส่วงกวาน ซึ่งเคยร่วมการปฏิวัติไท่ผิงเทียมกว๋อ มักจะเล่านิทานการโค่นบัลลังก์ราชวงศ์ชิงของหงซิ่วฉวนและหยางซิ่วซิงให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้านฟังเสมอ พอเล่าถึงตอนก่อการที่จินเถียน ตั้งเมืองหลวงที่นานกิง และตีค่ายใหญ่ของทหารราชวงศ์ชิงฝั่งเหนือและใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงแตกจน เจิงกว๋อฟานต้องกระโดนน้ำตาย เด็ก ๆ ก็ดีใจลิงโลดซุนยัดเซ็นมีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวการจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของ ชาวนา อาทิ หงซิ่งฉวนและหยางซิ่วซิงเป็นอย่างยิ่งมาตั้งแต่เยาว์วัย เวลานั้นซุดยัดเซ็นก็เริ่มรู้สึกว่า สังคมประเทศจีนในขณะนั้นมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ยุติธรรมเขา เห็นเจ้าหน้าที่เกณฑ์เสบียงอาหารกับชาวบ้านบังคับเก็บภาษี หรือไม่ก็จับกุม ถูกรีดภาษีอากรเพิ่มทุกปี โดยชนชั้นปกครองราชวงศ์ไม่เคยทำประโยชน์ให้แก่ราษฎรแม้แต่น้อย การฉ้อราษฎร์ บังหลวงข่มประชาชนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นศักดินาของประเทศจีนในอดีต นั้นซุนยัดเซ็นในเยาว์วัยได้ประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง จึงทำให้เขาเริ่มเกิดความสงสัยและไม่พอใจมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
การศึกษา
ดร.ซุน ถือว่า เป็นผู้ได้รับการศึกษาดียิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และยังมีความหลากหลายทั้งในด้านภาษา บัญชี การแพทย์ และการเมือง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) การศึกษาในฮาวาย
ซุนยัดเซ็นเริ่มต้นชีวิตการศึกษาเมื่ออายุ 12 ปี โดยเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา 2 แห่ง ที่เกาะฮาวาย ตอนที่เขาอายุได้ 12 ขวบ ซุนยัดเซ็นก็เดินทางไปฮาวายพร้อมกับมารดาเพื่อไปอาศัยอยู่กับพี่ชายของเขา ที่นั่น การเดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งแรก ทำให้เขาได้เปิดหูเปิดตาสู่โลกภายนอกเขาเริ่มงานโดยเป็นลูกจ้างอยู่ในร้าน ขายของของพี่ชายที่คาฮูลูอิในเกาะมาอูอิ เขาได้เรียนรู้การทำบัญชีและดีดลูกคิด ทั้งหัดพูดภาษาท้องถิ่น ไม่นานซุนได้เข้าเรียนในโรงเรียนเปาโล ปีถัดมา (ค.ศ.1879) เขาก็ได้เข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนมัธยมชายอิโอลันนี ซึ่งเป็นโรงเรียนของคริสต์จักรอังกฤษในฮอนโนลูลู จบการศึกษาปี ค.ศ.1882 ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โออาร์โฮ ไฮสกูล ซึ่งเป็นของคริสต์จักรอเมริกา ในการสอนของโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ซุนพากเพียรเรียนหนังสือวิชาต่าง ๆ จนได้เป็นนักเรียนที่มีคะแนนนิยมดีเด่น ในเวลาว่างนอกจากเรียนภาษาจีนด้วยตนเองยังชอบอ่านชีวประวัติของนักปฎิวัติชน ชั้นนายทุน อาทิ ชีวประวัติของวอชิงตัน,ลินคอล์น ในเวลานั้นประชาชนฮาวายได้เกิดการรณรงค์ต่อสู้คัดค้านอเมริกา โดยเสนอคำขวัญว่า ?ฮาวายเป็นของชาวฮาวาย? การโจมตีและขับไล่ศัตรูผู้รุกรานเกิดขึ้นทั่วไป การต่อสู้คัดค้านชาวอเมริกันผู้รุกรานอย่างห้าวหาญของประชาชนฮาวายที่ซุนได้ เห็นกับตา ทำให้เขาคิดถึงประเทศจีนที่ถูกจักรวรรดินิยมรุกราน และเกิดอุดมการณ์ในอันที่จะคัดค้านลัทธิอาณานิคมและเรียกร้องความเป็นเอกราช ของประเทศจีนเมื่อได้ศึกษาในต่างประเทศ เปิดโลกทัศน์ได้ซุนยัดเซ็นเห็นถึงการคัดค้านต่อสู้ทางการเมืองในหลายรูปแบบ จึงทำให้เกิดแนวความคิดและแรงบันดาลใจที่จะกอบกู้ประเทศชาติ ซุนกลับประเทศจีนเมื่อปี
ค.ศ.1883 การที่ได้พำนักและศึกษาในต่างประเทศเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ซุนได้เห็นความเจริญต่าง ๆ ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคมจีนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และทำให้ซุนเกิดความปรารถนาที่จะพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน เมื่อกลับสู่มาตุภูมิแล้ว ซุนพยายามปลุกระดมชาวบ้านให้เกิดความสำนึกที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยการโจมตี ความเน่าเฟะของบ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันล้าหลังของประเทศจีน อีกด้านหนึ่งเขาได้เริ่มลงมือพัฒนาการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น ติดตั้งไฟส่องถนนหนทาง การวางเวรยามป้องกันโจรผู้ร้าย จากบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกของเขาก็คือ การทำลายเทวรูป เขาเห็นว่าเทวรูปที่สลักด้วยไม้นั้นนอกจากชาวบ้านจะถูกหลอกต้มตุ๋นเอาเงิน ทองไปแล้ว ยังแก้ปัญหาเมื่อคราวจำเป็นไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชาวบ้านอีกด้วย และการกราบไหว้ต่อสิ่งเหล่านั้นก็เป็นการเชื่อที่งมงาย พฤติการณ์ทำลายเทวรูปอันห้าวหาญของซุนยัดเซ็นได้สร้างความเดือดดาลให้แก่ชาว บ้านส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะถูกโจมตีจากพวกเจ้าที่ดินอย่างหนัก จนในที่สุดซุนต้องเนรเทศตัวเองไปสู่ฮ่องกง
(2) การศึกษาในฮ่องกง
เมื่อไปถึงฮ่องกง เขาเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนมัธยมซึ่งคริสต์จักรอังกฤษตั้งขึ้น ในปี ค.ศ.1883 เขาก็ได้เข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชนไปพร้อมเพื่อนรักลู่ฮาวตง ต่อมาเขาได้เรียนต่อในวิทยาลัยวิคตอรี ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่ทางการอาณานิคมอังกฤษก่อตั้งขึ้น จากการรุกรานของ ฝรั่งเศสทำให้สงครามจีน-ฝรั่งเศส ระเบิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1881-1885 ณ สมรภูมิชายแดนจีน-เวียดนาม กองทัพจีนได้ยังความปราชัยให้แก่กองทัพฝรั่งเศส ประชาชนจีนทั่วประเทศ เมื่อได้รับข่าวก็เร่าร้อนในการทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศส การรณรงค์หนุนแนวหน้าแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ชาวจีนโพ้นทะเลที่พำนักอยู่ในอเมริกา ญี่ปุ่น คิวบา และสิงคโปร์ ก็พากันบริจาคทรัย์หนุนการสู้รับกับฝรั่งเศสอย่างทั่วหน้า แต่ทว่ารัฐบาลราชวงศ์ชิงกลับไปยุติสงครามด้วยการคุกเข่ายอมลงนามในสนธิสัญญา ยอมจำนนต่อข้าศึกที่เมืองเทียนสิน ความโง่เขลา ความเน่าเฟะและการขายชาติของรัฐบาล ทำให้ซุนยัดเซ็นเคียดแค้นอย่างยิ่ง และความสำนึกในความรักชาติและความคิดเปลี่ยนแปลงสภาวะสังคมของเขาก็ก้าวรุด หน้าไปอีกก้าวหนึ่ง ขณะเดียวกันกรรมกรและชนชั้นต่างๆ ในฮ่องกงได้ก่อการประท้วงทางการอาณานิคมอังกฤษ พฤติการณ์รักชาติต่อต้านจักรวรรดินิยมเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อการปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดปฏิวัติแก่ ซุนยัดเซ็น อย่างลึกซึ้ง ทำให้เขาได้รับกำลังใจจากการต่อสู้ของมวลชน โดยเฉพาะการต่อสู้อันห้าวหาญของ เหล่ากรรมกร ซึ่งซุนได้กล่าวว่า ?ความจริงได้พิสูจน์แล้วว่าประชาชนจีนมีความตื่นตัวพอควร? ?แสดงว่าประชาชนจีนยังพลังความสามัคคีทางชนชาติ? พร้อมกับเห็นว่า ?ประเทศจีนยังมีความหวัง?
(3) การศึกษาด้านแพทย์
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิคตอรีแล้ว เขาก็ตัดสินใจอุทิศตนช่วยชาติบ้านเมืองด้วยการศึกษาต่อในวิชาแพทย์โดยการแนะ นำจากบาทหลวง ซี.อาร์ แฮกเกอร์ เขาได้เข้าศึกษาในวิทยาลัย แพทย์หัวหนาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลป๋อจี้ในกว่างโจว ในปี ค.ศ.1886 ซึ่งขณะนั้นซุนมีอายุ 20 ปี ที่วิทยาลัยแพทย์นี้เองเขามีเพื่อนนักศึกษาคนหนึ่งชื่อ เจิ้งซื่อเหลียง ทั้งสองสนิทสนมกันมาก ต่อมาเขาจึงรู้ว่าเจิ้งเป็นสมาชิกสมาคมลับที่ต่อต้านราชวงศ์ชิง เจิ้งซื่อเหลียงเป็นคนมีอุปนิสัยดี มีจิตใจสูง ทั้งคู่มักจะคุยกันด้วยปัญหาชาติบ้านเมือง และภายหลังที่ซุนติดต่อกับสมาคมลับนี้เพื่อประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวปฏิวัติ นั้น เขาได้รับความช่วยเหลือจากเจิ้งเป็นอย่างมาก เขาเห็นว่าวิทยาลัยแพทย์ฮ่องกงมีคุณภาพการสอนเหนือกว่า และสามารถแสดงความคิดอ่านทางการเมืองได้อีกด้วย เขาจึงตัดสินใจย้ายไปเข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ จนสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ.1892 ช่วง 5 ปีที่ซุนศึกษาอยู่ในวิทยาลัยแพทย์ เขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ด้วยความพากเพียร นอกจากนั้นเขายังเพียรศึกษาวิชาการเมืองการทหาร ประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ และเกษตรศาสตร์ของชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะชอบอ่าน ?ประวัติการปฏิวัติของฝรั่งเศส?และหนังสือ ?กำเนิดสิ่งมีชีวิตแผกพันธุ์? ของดาร์วิน เขาได้รับความนึกคิดจากหนังสือสองเล่มนี้เป็นอย่างมาก
ระหว่าง ที่ซุนศึกษาวิชาการแพทย์อยู่นั้น เขาสนใจปัญหาการเมืองอยู่ไม่ขาด เขาได้ยึดสถาน ศึกษาเป็นแหล่งโฆษณาชวนเชื่อในอุดมการณ์รักชาติของเขา โดยเขามักจะกล่าวว่า อันตรายที่ประเทศ จีนได้รับอยู่ในเวลานี้ สมควรที่พวกเราทุกคนต้องเข้าไปช่วย เพื่อปลุกเร้าให้มวลชนเกิดความตื่นตัว เขามักจะเอ่ยถึง ?หงซิ่งฉวน? โดยยกย่องท่านผู้นี้เป็นวีรบุรุษต่อต้านราชวงศ์ชิงเป็นคนแรก ได้แสดงความเสียดายต่อความล้มเหลวของขบวนการไท่ผิงเทียนกว๋อ และตั้งตนเป็นหงซิ่วฉวน คนที่สอง
ระหว่างศึกษาในฮ่องกง เขามักเดินทางไปมาระหว่างกว่างโจว-มาเก๊า ในเวลาว่างจากการเรียน พบปะสนทนากับมิตรสหายที่มีอุดมการณ์รักชาติด้วยกันเพื่อปรึกษาหาความรู้ใน วิชาการ แสวงหา สัจธรรมในการกู้ชาติ ค้นหาทางออกของประเทศจีน ในจำนวนนี้ ซุนยัดเซ็นกับเฉินเซ่าไป๋ อิ๋วเลียะ และหยางเหอหลิง ซึ่งอยู่ฮ่องกงด้วยกัน มีความสนิทสนมกันเป็นอันมาก พวกเขามักสนทนาปัญหาบ้านเมือง โจมตีการปกครองอันมืดมนของราชวงศ์ชิงเสนอคำขวัญ ?กบฏต่อราชวงศ์ชิง? ขณะนั้นประชาชนยังไม่มีความตื่นตัวทางการเมือง เมื่อได้ยินได้ฟังความคิดอ่านเช่นนี้ ก็เกิดตกอกตกใจและขนานนามคนทั้งสี่ว่า ?สี่มหาโจร? และไม่กล้าเข้าใกล้พวกเขา
จากอายุ 12 ขวบถึง 26 ปี ซุนยัดเซ็นรับการศึกษาจากลัทธิทุนนิยมตะวันตกเป็นเวลา 14 ปี ใน ช่วงนี้ด้วยความเป็นชายหนุ่มที่พากเพียรแสวงหาความรู้จากตะวันตกเพื่อแสวงหา สัจธรรมในการช่วยชาติ เขาได้เรียนรู้วิทยาการธรรมชาติ และวิทยาการทางสังคมการเมืองของชนชั้นนายทุนมากมาย ซึ่งได้ทำให้เขาเกิดความเลื่อมใสในอารยธรรมของชนชั้นนายทุนตะวันตก ในขณะเดียวกัน การต่อสู้กับการต่อต้านจักรวรรดินิยมและศักดินานิยมของประชาชนทั้งในและต่าง ประเทศก็ได้ส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อความนึกคิดของซุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อการปฏิสนธิอุดมการณ์ปฎิวัติของชนชั้น นายทุนของซุนยัดเซ็น