กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

21
วิทยากรโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านวิจัยและจัดทำวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
วันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ.2567
หน่วยงาน สกร.ระดับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

22
วิทยากรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ระบบบริหารข้อมูลผู้เรียนออนไลน์ ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านงานวิจัยในชั้นเรียน และ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ.2567
ณ โรงแรมบลูฮิปโป ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
หน่วยงาน สำนักงาน สกร.จังหวัดสมุทรปราการ





23
วิทยากรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านระบบบริหารจัดการผู้เรียนออนไลน์และการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านระบบบริหารจัดการ
ผู้เรียนออนไลน์ การใช้โปรแกรม Canva การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศและนวัตกรรม
วันที่ 24 - 26 กรกฎ่าคม พ.ศ.2567
หน่วยงาน สกร.ระดับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

24
วิทยากรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ระบบบริหารข้อมูลผู้เรียนออนไลน์ ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านงานวิจัยในชั้นเรียน และ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ.2567
หน่วยงาน สำนักงาน สกร.จังหวัดสมุทรปราการ

25
[Work & Life] เพราะ เวลา เป็นสิ่งมีค่าที่นำกลับมาไม่ได้' กับ 6 เคล็ดลับ ยกระดับการประชุมไม่ให้เสียเวลา จากผู้เขียนหนังสือ ‘The Surprising Science of Meetings’
.
ชีวิตคนวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่น้อยไปกับการประชุม ทั้งประชุมออนไลน์และเจอกันในห้องแบบเห็นหน้า โดยหลายคนยอมรับว่า บางครั้งการประชุมก็ทำให้เสียเวลา รู้สึกว่าเอาไปทำงานอื่นน่าจะได้ประโยชน์คุ้มกว่า
.
ด้วยเหตุนี้ หลักสูตร MBA จำนวนมากจึงมักแนะนำผู้บริหารให้พยายามประชุมกันให้น้อยที่สุด แต่ถึงอย่างไร การประชุมเพื่อระดมความคิด แก้ไขปัญหา หรืออัปเดตสถานการณ์ของบริษัท ก็ยังคงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้
.
สตีเว่น จี.โรเจลเบิร์ก (Steven G. Rogelberg) อาจารย์มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ในสหรัฐฯ ผู้เขียนหนังสือ 'The Surprising Science of Meetings’ ที่รวบรวมทั้งข้อดีและข้อเสียของการประชุม จึงแนะนำวิธีทำให้การประชุมแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการศึกษาของเขา
.
6 เคล็ดลับที่อาจารย์สตีเว่นแนะนำมีดังนี้
.
1. ไม่ควรกำหนดวาระ แต่ตั้งเป็นคำถาม
.
หากคุณมีคำถามที่ต้องการคำตอบ ไม่ใช่แค่คำถามว่าทำไมเราต้องนัดประชุม คุณจะรู้ได้ทันทีว่า การประชุมนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ เมื่อคุณได้คำตอบจากการประชุมนั้น
.
2. ต้องแน่ใจว่า การประชุมทำให้งานสำเร็จได้จริง
.
การประชุมไม่ใช่มีขึ้นเพื่อกำหนดวาระทางสังคม หรือสร้างชุมชนร่วมกัน สิ่งเหล่านั้นเป็นผลพลอยได้จากการประชุมที่มีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อคนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเข้าประชุม พวกเขามีแนวโน้มที่จะสามัคคีกันมากขึ้น แต่การประชุมที่ดีต้องเป็นการทำให้งานสำเร็จลุล่วงเป็นหลัก
.
3. ต้องมีผู้บริหารดูแลการประชุม
.
ถึงแม้การประชุมจะเป็นหนึ่งในงานที่มีราคาแพงที่สุดขององค์กร แต่หลายองค์กรมักไม่มีผู้บริหารคอยดูแลหน้าที่นี้โดยเฉพาะ
.
องค์กรควรกำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้นำคอยดูแลการประชุม และกระตุ้นให้ผู้นำคนอื่นๆ จัดการประชุมกับลูกทีมเมื่อมีเรื่องใหม่เข้ามาเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง รวมถึงช่วยกำหนดรูปแบบการประชุมว่า เรื่องไหนควรนัดประชุม ต้องเชิญใครเข้าร่วมบ้าง และควรใช้เวลานานแค่ไหน? หรือพูดง่ายๆ ว่า มีตำแหน่งผู้ตรวจสอบการประชุมนั่นเอง
.
4. ใช้เวลาให้กระชับที่สุดเท่าที่จะทำได้
.
จากข้อมูลสถิติพบว่า ทีมมีแนวโน้มจะทำงานได้มากขึ้นเมื่อต้องแข่งกับเวลา ดังนั้น เมื่อให้เวลาจำกัด พวกเขาจะโฟกัสกับงานได้มากกว่าปกติ เช่นเดียวกับการประชุมที่มีเวลาจำกัด จะเร่งให้ทุกคนสามารถหาแนวทางร่วมกันได้ดีขึ้น
.
5. เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
.
ผลวิจัยพบว่า พนักงานมักจัดอันดับให้การประชุมที่หัวหน้า หรือผู้บริหารพูดมากกว่าคนอื่น คือ การประชุมที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด สิ่งนี้จึงโยงไปสู่เหตุผลพื้นฐานของการประชุมที่ดี นั่นคือ มันออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีอำนาจในการแสดงความคิดของตัวเอง
.
6. ถามหาฟีดแบ็ก
.
องค์กรทั่วไปมักไม่มีกระบวนการประเมินผลว่า การประชุมแต่ละครั้งได้ผลตามที่ตั้งเป้าหรือไม่ หากเรามองไปที่ผลสำรวจการมีส่วนร่วมของบริษัทต่างๆ เกือบทุกบริษัทไม่มีคอนเทนต์เกี่ยวกับการประชุม และนั่นคือปัญหาใหญ่
.
.
ทั้งหมดที่กล่าวมา คือ เคล็ดลับที่อาจารย์สตีเว่นแนะนำ เพื่อช่วยให้การประชุมครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจทำให้พนักงานออฟฟิศทุกคนเลิกเบื่อหน่ายการประชุม เพราะการเจอกันแต่ละครั้งจะมีความหมายมากขึ้น และไม่ทำให้ใครต้องรู้สึกว่า มันช่างเป็นการเสียเวลาอีกต่อไป

เขียนโดย Phanuwat Auaudomchaisakun

ที่มา เพจ Future Trends
27
วิทยากรโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการวิจัยและการนิเทศ
วันที่ 27 - 28 มิถุนายน พ.ศ.2567
ณ ภัทรภูริวัลเล่ย์รีสอร์ท อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
หน่วยงาน สกร.ระดับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม



28
วิทยากรโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ด้านการวิจัยทางการศึกษา และการนิเทศ
วันที่ 27 - 28 มิถุนายน พ.ศ.2567
หน่วยงาน สกร.ระดับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

29
9 ประโยคเด็ดจากหนังสือ กะทัดรัดปรัชญา
.
1. เราทุกคนต่างมีปีศาจในตัวกันทั้งนั้น ทว่าทัศนคติของผู้อื่นที่มีต่อเราหรือเพื่อนบ้านที่คอยแอบมองเราข้ามรั้วคือสิ่งที่ทำให้เรายังควบคุมปีศาจตัวนั้นไว้ พูดอีกอย่างก็คือ ความกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่นคือสิ่งเดียวที่ทำให้เรายังดำเนินอยู่ในทำนองคลองธรรม -เพลโต
.
2. สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าอะไรถูกหรือผิดก็คือความสุขที่ได้รับจากการกระทำนั้น -เบนแธม
.
3. เราคือผลจากการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าของเราเอง ฉะนั้นความเป็นเลิศจึงไม่ใช่การกระทำ แต่เป็นนิสัย -อริสโตเติล
.
4. มนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องตกอยู่ตรงกลางระหว่างความเบื่อหน่ายกับความทุรนทุรายไปชั่วกัปชั่วกัลป์ เราเป็นได้แค่คนที่ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร หรือไม่ก็เป็นคนที่ไม่มีวันพอใจกับอะไรทั้งนั้น -โชเปนเฮาเออร์
.
5. การพูดคุยจะดีที่สุดเมื่อเราหยุดฟังคนอื่นพูด และจะดียิ่งกว่าหากเราใช้เวลาคิดทบทวนสิ่งที่ได้ฟัง -สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น
.
6. รักบริสุทธิ์คือการรับรู้ถึงวิญญาณของกันและกัน มันคือการเห็นตัวตนส่วนที่ลึกที่สุดและจริงแท้ที่สุดของกันและกัน ความรักแบบนี้จะไม่สนใจความเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก มันเป็นความรักที่ซื่อสัตย์ มั่นคง และทุ่มโดยไม่สนว่าร่างกายที่เป็นเปลือกนอกจะเป็นอย่างไร -เพลโต
.
7. บางครั้งการเป็นส่วนหนึ่งของอะไรสักอย่างก็ทำให้รู้สึกดี เราทุกคนล้วนชอบความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งและได้ประโยชน์จากความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่เกิดจากการทำหน้าที่ของตัวเอง -ขงจื๊อ
.
8. มารยาทสำคัญกว่ากฎหมาย เพราะกฎหมายขึ้นอยู่กับมารยาท มารยาทคือความคาดหวังที่ไม่ได้เขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่ช่วยให้สังคมสามารถทำงานต่อไปได้ มันคือกฎที่เราใช้ต่อกันและกันและมันมีอยู่ทุกหนแห่ง ไล่ตั้งแต่เราควรกินอาหารในที่สาธารณะอย่างไรไปจนถึงเราควรเลือกภาพยนตร์ที่จะดูกับครอบครัวในช่วงสุดสัปดาห์อย่างไร -เบิร์ก
.
9. ไฮเดกเกอร์กล่าวไว้ว่า “เราไร้อิสรภาพและถูกล่ามไว้กับเทคโนโลยีในทุกหนแห่ง ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือปฏิเสธมันก็ตาม” เขาพูดแบบนี้ก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ตกับสมาร์ตโฟนเสียอีก ทุกวันนี้เราถูกติดตั้งลงไปในเครื่องจักรอย่างแท้จริง และผลที่ได้ก็คือเรามองทุกสิ่งผ่านเลนส์ของเทคโนโลยี คนที่เลือกจะถ่ายคลิปดอกไม้ไฟเอาไว้มีมากกว่าคนที่ดูมัน ก้าวแรกของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องถ่ายรูปเก็บไว้ก่อนการดื่มด่ำปลาบปลื้ม และไม่มีอะไรเป็นจริงเว้นเสียแต่ว่ามันจะถูกแชร์ในโลกออนไลน์ ผลคือเราหลงทางจากตัวตนของเราเอง เราดึงตัวเองออกจากธรรมชาติ และสิ่งนี้ได้ทิ้งความโหยหาที่แสนเศร้าและชืดชาไว้ในสักแห่งที่ลึกลงในจิตใจของเรา
.
ที่มา เพจอ่านเถอะวัยรุ่น
30
กรรมการประเมิน ศกร.ตำบลต้นแบบ 5 ดี พรีเมี่ยม ศกร.ระดับตำบลตลาดใหม่
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2567
ณ ศกร.ระดับตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง