กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

62
ปัจจัยแวดล้อมของการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น การแข่งขันในตลาดแรงงานสูง มีผลทำให้ความต้องการแรงงานมีทักษะเปลี่ยนไป แต่การศึกษาของไทยยังมีหลายประเด็นที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในการวางแผนแก้ไขอย่างจริงจัง
.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่นับวันจะสูงขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะมีการแข่งขันที่สูง หรือโรงเรียนที่มีหลักสูตรพิเศษอย่างภาษาต่างประเทศ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้เกิดช่องว่างทางการศึกษามากขึ้น
.
ขณะที่คุณภาพการศึกษาของไทยที่ลดลง สะท้อนผ่านดัชนีการวัดความสามารถด้านความรู้ระดับประเทศหรือ PISA ซึ่งจะมีผลระยะยาวต่ออนาคตของบุตรหลาน และตลาดแรงงานไทย ทัศนคติการเรียนต่อระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีลดลง จากผลสำรวจพบว่าผู้ปกครองเกือบครึ่ง (49% ของกลุ่มตัวอย่าง) เห็นด้วยกับบุตรหลานที่เริ่มมองว่าการเรียนจบปริญญาตรีหรือสูงกว่าไม่สำคัญต่อการสมัครงานในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าอาชีพอิสระหาเงินได้มากกว่า และปัจจุบันมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จและสร้างรายได้จากการใช้เทคโนโลยี ในการสร้างรายได้จากการขายของออนไลน์ การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) และการสร้างรายได้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะข้างหน้า
.
ดังนั้น เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ที่เท่าเทียม และเตรียมทักษะความพร้อมให้กับนักเรียน ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อาทิ
.
1. การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
.
2. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป
.
3. การยกระดับโรงเรียนอาชีวะศึกษาด้วยการเพิ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนา
.
4. การพัฒนาและยกระดับความรู้ใหม่ๆ (Upskill และ Reskill) ให้กับบุคลากรผู้สอน รวมถึงการเพิ่มบุคลากรครูผู้สอน
.
สอดคล้องกับมุมมองของนักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยสะท้อนเรื่อง “ผลสอบ PISA สัญญาณเตือนวิกฤตการศึกษา แก้ปัญหาให้ถูกจุด” หลังจากผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA  พบว่า นักเรียนไทยอายุ 15 ปี คะแนนลดต่ำลงในทุกด้านทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยนายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโส ทีมนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า สาเหตุหลักของปัญหาที่ทำให้ผลการประเมิน PISA ของไทยลดลงต่อเนื่องนั้น มาจากการระบบศึกษาของไทยที่อ่อนแอ จาก 2 สาเหตุหลักคือ
.
1. หลักสูตรของไทยล้าสมัย มีการใช้มาตั้งแต่ปี 2551 หรือ 15 ปีมาแล้ว และแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับหลักสูตรอยู่บ้าง แต่เป็นการปรับเล็กในบางวิชาเท่านั้น ซึ่งในภาพรวมหลักสูตรไทยยังไม่มุ่งให้เด็กนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะการที่เด็กจะมีสมรรถนะในการประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่เหมาะสม ไปพร้อมๆ กัน เช่น การจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะต้องรู้คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ทักษะการออกเสียง และมีทัศนคติในการกล้าสื่อสาร โดยได้รับการฝึกฝนในสถานการณ์ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แต่หลักสูตรของไทยมุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้ผ่านการจดจำ ในขณะที่การทดสอบของ PISA เน้นนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การใช้หลักสูตรของไทยไม่มีความยืดหยุ่นเท่าที่ควร แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะให้โรงเรียนสามารถนำหลักสูตรแกนกลางไปปรับเพื่อให้เข้ากับบริบทได้ แต่ในทางปฏิบัติครูยังไม่กล้าทำสิ่งใหม่ ยังทำตามสิ่งที่เคยทำมา อีกทั้งยังมีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ทำให้โรงเรียนต้องทำหลักสูตรตามที่สาระวิชาได้กำหนดเอาไว้ 
.
2. จุดอ่อนสำคัญอีกประการหนึ่งคือการบริหารทรัพยากร ทั้งด้านคน โดยเฉพาะครู และ งบประมาณ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน ถือว่าไทยลงทุนทรัพยากรด้านการศึกษาค่อนข้างสูง แต่ผลลัพธ์ยังไม่ดี ซ้ำยังลดลงเรื่อยๆ สะท้อนว่าการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพต่ำ อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีอิสระในการจัดการทรัพยากรด้วยตัวเอง หลายโรงเรียนยังขาดแคลนครู โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก มีปัญหาครูไม่ครบชั้น ซึ่งสอดรับกับผลคะแนนของ PISA ที่บ่งชี้ว่าโรงเรียนที่มีครูเพียงพอจะมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า นอกจากนี้ในปัจจุบันครูต้องแบกรับงานธุรการที่นอกเหนือไปจากการสอนมาก ทำให้ไม่สามารถโฟกัสกับการสอนได้  ซึ่งจากการที่ทีดีอาร์ไอได้ลงพื้นที่สำรวจความเห็นครูใน 8 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ครูต้องทำงานนอกเหนือจากการสอนจำนวนมาก โดยภาระงานที่ครูรู้สึกว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือการรายงานผลที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ หน่วยงานต่างๆ มอบหมายให้โรงเรียนทำ ส่งผลให้ครูสอนนักเรียนได้ไม่เต็มที่
.
นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังได้ยกตัวอย่างการศึกษาของประเทศที่ได้ผลประเมินของ PISA ในเกณฑ์ดี อย่างสิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้ระบบการศึกษาที่ดีจากประเทศเหล่านี้ได้ เช่น สิงคโปร์มีความโดดเด่นในเรื่องของการพัฒนาครู โดยให้ความสำคัญกับการผลิตครูอย่างมาก มีเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง ครูได้รับค่าตอบแทนที่สูงและได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง จึงทำให้ครูของสิงคโปร์มีคุณภาพ ส่วนฟินแลนด์ มีความน่าสนใจด้านหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นสร้างสมรรถนะ โดยพยายามให้นักเรียนได้เรียนจากสถานการณ์จริง และเกิดการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ และให้ความสนใจโลกใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี ทำให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่ทันโลกทันเหตุการณ์
.
นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังแนะนำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า ไทยควรยกเครื่องการศึกษาใหม่ ปรับใหญ่ทั้งระบบ ทั้งหลักสูตร การใช้ทรัพยากร และการผลิตครู แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรก ซึ่งทำได้ทันที คือการลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนของครูให้เหลือน้อยที่สุด ระยะที่สอง รัฐบาลควรปรับหลักสูตรการศึกษาให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หรือภายในวาระของรัฐบาล โดยเมื่อปรับหลักสูตรแล้วก็จำเป็นต้องออกแบบให้องค์ประกอบอื่นของระบบการศึกษามีความสอดคล้องกันด้วย ทั้งการผลิตและพัฒนาครู ตลอดจนการสอบและประเมินผล
.
สำหรับในระยะที่สาม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานานนั้น อาจจะเริ่มต้นจากข้อเสนอของธนาคารโลก ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนที่อยู่ใกล้กัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการเรียนการสอน ส่วนโรงเรียนที่ไม่สามารถที่จะควบรวมหรือพัฒนาเป็นเครือข่ายได้ เช่น โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องคงอยู่และมีการจัดสรรงบเพิ่มเพื่อให้มีทรัพยากรที่เพียงพอในการจัดการศึกษา
...................................................
ที่มา https://www.salika.co/.../thai-education-for-new-generation/
63
ใบประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2567-2572

64
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของผู้เรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ทอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง       

ผู้เผยแพร่ผลงาน นายเลิศชาย ปานมุข ครูชำนาญการ สกร.อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


65
บทคัดย่อ เรื่อง โมเดลการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.พัทธกานต์ วัฒนหโยธิน ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง


66
บทคัดย่อ เรื่อง การประเมินการใช้หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการทอผ้าใยสับปะรด 60 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.พัทธกานต์ วัฒนหโยธิน ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง



67
บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.ปวิณา โพธินาม ผู้อำนวยการสถานศึกษา  วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี


68
คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
คำสั่งที่ 755/2567
คำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้

*******************************




69
70
บทเรียนออนไลน์ รายวิชาการป้องกันการทุจริต
https://drive.google.com/file/d/1_6YfkxogwL6t-DVSOX8SviPOhLyK655o/view?usp=sharing