ผู้เขียน หัวข้อ: สามก๊ก ตอน ศึกผาแดง กับความรู้ทางการบริหาร  (อ่าน 4757 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3910


สามก๊ก ตอน ศึกผาแดง

ความรู้ทางการบริหารที่ได้จากเรื่องสามก๊กนี้ เปรียบเสมือนองค์กรหนึ่ง ซึ่งแต่องค์กรก็มีผู้นำและแนวทางในการจัดการบริหารองค์การที่แตกต่างกันไป ทำให้เราเห็นข้อดี ข้อเสีย ขององค์กรต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

โจโฉผู้นำแห่งวุยก๊ก เน้นเรื่องการบริหารคน โดยเฉพาะการคัดเลือกคนที่มีความสามารถ จัดให้เหมาะกับงานที่มอบหมาย ถือที่ว่า ?ไม่ว่าแมวขาว แมวดำ จับหนูได้ก็เป็นแมวที่ดีทั้งนั้น? เขาพิจารณาบุคลากรจากความสามารถ โดยมิได้มีอคติต่อภูมิหลัง ขอเพียงคนผู้นั้นมีความสามารถตามที่ต้องการ โจโฉย่อมเปิดโอกาสให้แสดงฝีมือเต็มที่อย่างแน่นอน บุคคลากรที่มีคุณภาพจึงเปรียบเสมือนทรัพยากรสำคัญขององค์กร จึงจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

โจโฉวัดคนที่ผลของงาน รู้ความสามารถของลูกน้องทุกคนเป็นอย่างดี เป็นเจ้านายที่มีจิตวิทยาในการจัดการลูกน้องสูง รู้ว่าลูกน้องต้องการอะไรมีการให้รางวัลเป็นสิ่งตอบแทนตามหลักความต้องการของมาสโลว์ พูดจาเปิดเผยตรงไปตรงมา แต่ วู่วาบใจร้อน อารมณ์แปรปรวนง่าย คนในองค์การจึงมีความหวาดระแวงในตัวผู้นำแบบเผด็จการ เพราะรวมอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่โจโฉเพียงคนเดียว

ส่วนเล่าปี่ผู้นำแห่งจ๊กก๊ก ใช้การกระจายอำนาจ (Empowerment) เป็นหลักการบริหาร โดยเล่าปี่แสดงความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ?ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน? ราวกับเป็น ?คนในครอบครัวเดียวกัน? เช่น เล่าปี่วางใจให้ขงเบ้งรับผิดชอบดูแลบริหารจัดการกองทัพทั้งหมด หลังจากเชิญมาร่วมงานแล้ว ในช่วงเวลานี้ขงเบ้งจึงมีฐานะเปรียบเสมือนกับ CEO ของเล่าปี่

เสน่ห์ประจำตัวของเล่าปี่คือ ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง นี่เองที่ช่วยดึงดูดและรั้งคนเก่งๆมากมายมารวมกลุ่ม แม้จะมีกองทัพน้อยแต่ทุกคนก็พร้อมที่จะทำงานให้ด้วยความเต็มใจ ซึ่งต่างจากของโจโฉแม้ว่าจะมีลูกน้องมากมายเพียงใดก็ไม่อาจทำให้ลูกน้องไว้เนื้อเชื่อใจในตัวผู้นำได้ ซึ่งเปรียบได้กับบุคคลากรในองค์กรที่แม้ว่าจะมีน้อยแต่ทุกคนล้วนมีความสามารถ หัวใจของความสำเร็จอยู่ที่ทีมงานที่ดีและการประสานงานที่ดี ลูกน้องที่อยู่ด้วยไม่มีความหวาดระแวงในตัวผู้นำ ให้อิสระในการทำงานแก่ลูกน้องโดยที่ตนเองเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และสนับสนุน เป็นผู้นำที่มีความเป็นนักสู้ คือ ล้มแล้วต้องลุกขึ้นมาให้ได้ คนแพ้ได้แต่ใจอย่ายอมแพ้ คุณธรรมความดีที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ชนะใจคนได้

ซุนกวนผู้นำแห่ง ง่อก๊ก เป็นคนที่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นมาวิเคราะห์ตักสินใจ แต่ขาดความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากผู้เป็นพ่อและพี่ที่เก่ง จึงมีจิวยี่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำในการตัดสิน มีการประสานความสามารถของคนรุ่นต่างๆ ได้อย่างลงตัว วัดคนที่ความสามารถ ไม่ถือรุ่น ถืออายุ รู้จุดเด่นจุดด้อยของลูกน้อง ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ยอมรับคำตำหนิจากลูกน้อง มีการแบ่งบทบาท อำนาจหน้าที่ (Authority) อย่างชัดเจน เห็นได้จากซุนกวนไม่ค่อยนำทัพออกลุยเองเหมือนกับเล่าปี่และโจโฉ แต่ทำหน้าที่ผู้นำทางบริหาร และตัดสินใจในนโยบายสำคัญของแคว้นอย่างเต็มที่มากกว่า

ขงเบ้ง ?โดดเด่นด้านบริหารปกครอง? เน้นความถูกต้อง ความเสมอภาค และการทำงานเป็นทีมตามนโยบายขององค์กร รักษาหน้าที่ๆที่ได้มองหมายอย่างเคร่งครัด สุขุมรอบครอบ จึงไม่ใช่คนกล้าได้กล้าเสียแบบโจ ขงเบ้งรวบอำนาจการตัดสินใจไว้เพียงผู้เดียว โดยกระจายอำนาจให้กับผู้อื่น จนตนเองต้องตรากตรำทำงานหนัก เพราะขาด ?ความไว้เนื้อเชื่อใจ? ในความสามารถของลูกน้องมากกว่า และไม่ปล่อยวางงานบางอย่างที่ไม่สำคัญมากนักให้ผู้ใต้บังคับระดับรองลงมาดูแล เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับตนเอง

จากสามก๊กในตอนนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงหลักการ POSDCORB คือการมารวมตัวเฉพาะกิจเป็นพันธมิตรกันเพื่อต่อสู้กับโจโฉ โดยมีขงเบ้งเป็นคนประสานงาน และรายงายความคืบหน้าต่างๆให้ทราบ และแสดงให้เห็นถึง ความอดทน เล่าปี่ผ่านสร้างตัวจากศูนย์ ล้มลุกคลุกคลาน พ่ายแพ้ในการรบครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ยัง ?ลุก? ขึ้นมาได้ตลอด อีกทั้งยังเปี่ยมด้วยคุณธรรม ที่มัดใจลูกน้องได้อยู่หมัด

ส่วนขงเบ้งทุ่มเทอย่างสุดความสามารถ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ บริหารปกครองด้วยความยุติธรรม มิได้คิดคดทุรยศต่อเล่าปี่ แม้ว่าเขาจะมีอำนาจบัญชาการภายในจ๊กก๊กแต่เพียงผู้เดียว ภายหลังเล่าปี่สิ้นชีวิตไปแล้วก็ตาม

เป็นคนที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อนำมาวิเคราห์ตัดสินใจ มีการประสานความสามารถของคนรุ่นต่างๆ ได้อย่างลงตัว วัดคนที่ความสามารถ ไม่ถือรุ่นถืออายุ รู้จุดเด่นจุดด้อยของ ยอมรับคำตำหนิจากลูกน้อง เพื่อพัฒนาตนเอง แนวทางการบริหารงานของซุนกวนแตกต่างจากผู้นำเผด็จการแบบโจโฉและแบบเล่าปี่ที่มีขงเบ้งเป็น CEo บริหารงานให้ แนวทางของซุนกวน มีการแบ่งบทบาท อำนาจหน้าที่ (Authority) อย่างชัดเจน เห็นได้จากซุนกวนไม่ค่อยนำทัพออกลุยเองเหมือนกับเล่าปี่และโจโฉ แต่ทำหน้าที่ผู้นำทางบริหาร และตัดสินใจในนโยบายสำคัญของแคว้นอย่างเต็มที่มากกว่า

จากทั้งสามก๊กที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นถึงภาวะความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน ย่อมมีแนวทางในการบริหารงานที่ต่างกันออกไป การที่ได้ลูกน้องดีๆ ได้คนเก่งๆ เข้ามาร่วมงานด้วยแล้ว อย่าละเลยคุณค่าของพวกเขาเหล่านั้น ที่จะเป็นแรงและกำลังสำคัญที่จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จ



ที่มา  :  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pinkwinter&group=2