เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความ และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและแหล่งเรียนรู้
?ทวิภาษา? หนทางแก้ปัญหาอ่านเขียน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ?ทวิภาษา? หนทางแก้ปัญหาอ่านเขียน (อ่าน 3499 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
?ทวิภาษา? หนทางแก้ปัญหาอ่านเขียน
เมื่อ:
เมษายน 24, 2016, 11:43:20 AM
น้อยคนที่จะรู้ว่า นอกจาก "ภาษาไทย"ที่เป็นภาษาหลักของชาติแล้ว ยังมีภาษาถิ่นในพื้นที่ต่างๆ มากกว่า 30 ภาษา และการใช้ภาษาถิ่นนั้นก็มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้ภาษาถิ่นสื่อสารในชีวิตประจำวันจะแตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ สะท้อนถึงเป็นระบบคิด ระบบความรู้ของมนุษย์เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชุมชนท้องถิ่นสืบไป
เพื่อเป็นการรักษาข้อบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ กระทรวงศึกษาธิการ และหลายหน่วยงานได้พยายามหาแนวทางยกระดับของการเรียนการสอนภาษาถิ่นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นฐานทางภาษา - วัฒนธรรมของพื้นที่ เพราะจากข้อมูลเมื่อปี 2556 พบว่า มีโรงเรียนตามแนวชายแดนและพื้นที่ห่างไกลมีการใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวันแตกต่างจากภาษาไทย มากกว่า 30 ภาษาเช่น ภาษาไทย-มลายูถิ่น ภาษาไทยล้านนา คำเมืองภาษาไทยอีสาน ลาวอีสาน ไทลื้อ ไทเลย ไทดำ/โซ่ง มอญ เขมร อาข่า กูย/กวย พม่า จีนฮ่อ/จีนยูนนาน เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็เป็นที่มาของโครงการวิจัยปฏิบัติการ "การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาถิ่นเป็นสื่อ กรณีการจัดการแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายู) ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( Mother Tongue-Based-Bilingual Education "Thai-local Malay/Patani Malay) ดำเนินการศึกษาโดยศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (Unicef Thailand) และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี ศ.เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
ศ.เกียรติคุณ ดร.สุวิไล กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการว่า มุ่งแก้ไข และพัฒนาระบบการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ เพราะผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในหลายพื้นที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่สุดในประเทศ ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากภาษาของเยาวชนในพื้นที่แตกต่างกับภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาราชการ ที่เด็กและคุณครูใช้สื่อสารกันในโรงเรียน ในส่วนนี้ทางทีมวิจัยได้พยายามคิดค้นแนวทางแก้ปัญหา โดยการใช้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นพื้นฐานสร้างกระบวนการสอนแบบเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพระหว่างภาษาและวัฒนธรรม หรือกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้แบบทวิภาษา/พหุภาษา
"ผ่านไปแล้วกว่า 9 ปี (นับตั้งแต่ปี 2551-59) ทีมวิจัยได้คิดค้นกระบวนการเรียนการสอนแบบทวิภาษา ควบคู่กับการทดลองสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านประจัก อ.ยะลัง จ.ปัตตานี , โรงเรียนบ้านบึงน้ำใสอ.รามัน จ.ยะลา, โรงเรียนไทยรัฐวิทยา10 อ.เมืองจ.นราธิวาส และโรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ อ.เมือง จ.สตูล และเตรียมขยายผลอีก 13 โรงเรียนซึ่งผลของการศึกษาและทดลองโครงการทวิภาษาในระยะที่ผ่านมาเกิดผลในเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมว่า เด็กๆ ในโรงเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น ถึงร้อยละ 50 และมีนักเรียนสอบผ่านเกณฑ์ถึงร้อยละ 72 ต่อ ร้อยละ 44.65 เมื่อเทียบกับโรงเรียนคู่เทียบในพื้นที่ ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญรูปแบบการสอนสามารถทำให้เด็กนักเรียนกล้าที่จะพูดภาษาไทยกับคุณครู และสามารถอ่านออก เขียนได้อย่างเป็นรูปธรรม" หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าว พร้อมอธิบายว่า
โอกาสนี้ คณะประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโครงการ "ทวิภาษา" และโรงเรียนคู่เทียบ โดย ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ สินธนา ให้ข้อคิดเห็นว่าแนวทางการพัฒนาความรู้ทวิภาษามีประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับปานกลาง และต่ำ เมื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนานักเรียนระหว่างโรงเรียนทั้ง 2 กลุ่ม แล้วสามารถสรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาความรู้แบบทวิภาษาแก่นักเรียนมีวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนในกลุ่มที่มีทักษะการเรียนรู้ต่ำ-ปานกลาง มีพัฒนาการด้านการเรียนสูงขึ้นแม้ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่านักเรียนเหล่านี้จะพัฒนาตนเองได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ความรู้และการพัฒนาเกิดการขยายผล ทางทีมวิจัยได้เพิ่มโรงเรียนนำร่องอีก 12 โรงเรียนในพื้นที่ 4 จังหวัดที่กล่าวมาข้างต้นและพื้นที่อื่นในบริเวณชายแดนของประเทศ ทั้งพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีความหลากหลายของการใช้ภาษาถิ่นเช่นกัน แม้จะมีเสียงคัดค้านอยู่บ้านแต่หากเข้าใจในกระบวนการ และวัตถุประสงค์ก็จะเข้าใจ
จากนั้น มิรินด้า บูรณ์รุ่งโรจน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล อธิบายถึงรูปแบบการเรียนการสอนแบบทวิภาษาว่า ขั้นต้นจะเน้นการพัฒนาระบบคิด วิเคราะห์ และความกล้าแสดงออกผ่านภาษาท้องถิ่น ก่อนพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาถิ่นด้วยอักษรไทย ผ่านสื่อการสอนที่หลากหลาย ทั้งสื่อการสอนที่เป็นรูปภาพ แบบฝึกการเขียน การสะกดคำ การเขียน-อ่าน ภาษาถิ่นด้วยอักษรไทย รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำร่วมกันในห้องเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกสนุกสนาน และอยากที่จะเรียนรู้ ด้วยภาษาถิ่น เพราะถ้าเข้าใจในภาษาถิ่นแล้วก็จะเข้าใจในภาษาที่สองหรือภาษาไทย ซึ่งจะเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อทางราชการ และการเรียนในระดับต่อไป
"เด็กในพื้นที่ชายแดนและในพื้นที่ห่างไกลส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาแม่ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เมื่อถึงวัยเรียนการไปโรงเรียนจึงถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับกลุ่มเด็กเหล่านี้ ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ที่มักพบเจอมากกว่าเด็กในพื้นที่อื่นๆ ที่ใช้ภาษาไทย เพราะเมื่อไปโรงเรียนเด็กไม่สามารถสื่อสารกับครูได้ ครูใช้ภาษาไทยเด็กฟังไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ โดยเฉพาะเด็กอนุบาลไม่สามารถสื่อสารได้เลย แม้แต่จะขออนุญาตเข้าห้องน้ำก็พูดไม่ได้" นักวิจัยสถาบันวิจัยภาษาฯกล่าว และอธิบายต่อว่า
การพัฒนาภาษาไทยของเยาวชน เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาไทยโดยเน้นการปฏิบัติ (Total Physical Response) และพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษาไทยด้วยแบบเรียนอ่าน-เขียน แบบเชื่อมโยง ผลที่ออกมาคือ เด็กๆ สามารถอ่าน เขียนภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการเรียน และลดอัตราอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการศึกษาพื้นที่ชายแดนใต้ ในส่วนของนักเรียนชั้นประถมปลายมีการเชื่อมโยงการเรียนรู้จากภาษามลายูถิ่นไปสู่ภาษามลายูมาตรฐาน ที่เป็นอักษรรูมี-โรมัน และอักษรยาวี ซึ่งเป็นภาษาใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน
นักวิชาการ สถาบันวิจัยภาษาฯ กล่าวว่า อีกไม่นานต่อจากนี้ นักเรียนที่เรียนแบบทวิภาษาจะจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ทีมวิจัยได้มุ่งหวังให้ กระทรวงศึกษาธิการได้นำรูปแบบและข้อค้นพบกระบวนการเรียนการสอบแบบทวิภาษานำไปขยายผลต่อ โดยเฉพาะครูผู้สอน ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสอน และการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะตาแนวทาง "ทวิภาษา" นั่นคือ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ โดยมีครูที่สามารถสื่อสารกับเด็กได้เข้าใจ
ที่สำคัญการจัดการเรียนรู้ของทวิภาษา เริ่มจากฐานที่เด็กมีและเรียนรู้จากสิ่งที่เด็กรู้ ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องใกล้ตัวขยายออกไปสู่สิ่งใหม่หรือเรื่องไกลตัว เรียนรู้ภาษาพูดก่อนภาษาเขียน เรียนรู้จากภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้วขยายสู่ภาษาและวัฒนธรรมของชาติ อันเป็นบันไดของระดับการศึกษาที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการศึกษา--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความ และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและแหล่งเรียนรู้
?ทวิภาษา? หนทางแก้ปัญหาอ่านเขียน
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?