ผู้เขียน หัวข้อ: พระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  (อ่าน 4403 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923



การถ่ายภาพเป็นศิลปะสาขาหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงโปรดที่จะถ่ายภาพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยเฉพาะเมื่อได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายภาพ

อุปกรณ์การถ่ายภาพต่างๆ ตอนนั้นยังไม่ทันสมัยเหมือนกับปัจจุบัน แต่พระองค์ก็ทรงศึกษาและฝึกด้วยพระองค์เอง จนทรงเป็นนักถ่ายรูปผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทั้งกล้องธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์
 
กล้องถ่ายภาพที่พระองค์ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว ต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ จึงทรงถ่ายภาพได้อย่างเชี่ยวชาญมั่นพระราชหฤทัย แม้ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อนก็มิทรงใช้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงใช้แต่กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตราฐานอย่างที่นักเลงกล้องทั้งหลายใช้กัน
 
นอกจากการรถ่ายภาพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในการล้างฟิล์ม การอัด ขยายภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพขาวดำหรือภาพสี โดยทรงจัดทำห้องมืดขึ้นในบริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรง 'สร้างภาพ' ให้เป็นศิลปะถูกต้องและรวดเร็วด้วยพระองค์เอง

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงเดียว เพราะแต่ละภาพทรงไว้ซึ่งคุณค่าทั้งทางศิลปะและวิชาการ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองและนำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงตรัสพระราชดำริเรื่องการถ่ายภาพไว้ดังนี้
 
"การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนานหรือความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง"
 
"รูปที่ถ่าย เราก็ปะตัดเอาไปให้หนังสือพิมพ์ พิมพ์ขึ้นมาเป็นหนังสือเป็นสิ่งที่ให้ความสุข ให้ความสบายใจ ก็เพราะว่าการถ่ายรูปนั้นไม่ได้ตั้งใจจะถ่ายรูปให้เป็นศิลปะ หรือจะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร เป็นแต่เพียงกดชัตเตอร์สำหรับเก็บรูปให้เป็นที่ระลึก แล้วถ้ารูปนั้นดี มีคนได้เห็นรูปเหล่านั้นและพอใจ ก็จะทำให้เป็นการแผ่ความสุขไปให้ผู้ที่ได้ดู  เพราะว่าเขาชอบหมายความว่าได้ให้ เขามีโอกาสได้เห็นทัศนียภาพที่เขาอาจไม่ค่อยได้เห็น หรือในมุมที่เขาไม่เคยเห็น ก็แผ่ความสุขไปให้เขาอีกทีหนึ่ง เป็นจุดประสงค์ของการถ่ายรูป"


ที่มา : http://morning-news.bectero.com/royal/14-Oct-2016/89184