ผู้เขียน หัวข้อ: ฤาการศึกษาไทย....จะไร้ซึ่งความรับผิดชอบ  (อ่าน 3552 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ฤาการศึกษาไทย....จะไร้ซึ่งความรับผิดชอบ
สิริรัตน์  นาคิน

         ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนต้องรับสภาพปัญหาที่ว่าด้วยหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ แต่หากมองด้วยความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่แล้วคงเป็นคำพูดที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างแน่นอน แต่หากเราปรับเปลี่ยนคำว่ารับผิดชอบ ซึ่งนัยความรับผิดชอบนี้ว่าเกิดมาจากความรับผิดชอบต่อตนเอง อันเป็นสิ่งที่เกิดมาจากแรงผลักดันข้างในว่าเราต้องรับผิดชอบและความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนด้วยเหตุผลใดก็ตามเป็นองค์ประกอบย่อยนั้นจะเหมาะสมกว่า บ้างบอกหน้าที่ของความเป็นนาย เป็นลูกน้อง เป็นอะไรก็ตามที่เราทำ หรือต้องทำก็ตามแต่ล้วนแล้วเกิดจากความรับผิดชอบที่เราควรมีตามเจตนารมณ์ของบุคคลนั้น ๆอันเป็นไปด้วยความรักความเมตตาต่อการเคารพบทบาทหน้าที่ที่ชอบด้วยความเต็มใจมิใช่หรือ หากกระทำเพียงแค่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายคงไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ หากทำด้วยใจที่พึงมีความรับผิดชอบอยู่เป็นนิจและมีใจใส่ในหน้าที่นั้น ๆ ก็นับได้ว่ามีประโยชน์มากทีเดียว

          ความรับผิดชอบ (responsibility) ในที่นี้ขอกล่าวถึงความรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องต้นเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยตามมาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องด้วยสภาพปัจจุบันที่แปรเปลี่ยนไป วัฒนธรรมความเห็นแก่ตัวมากขึ้นนับทวีคูณ ซึ่งเรามิอาจปฏิเสธได้ว่าบ้างก็มีความรับผิดชอบสูง บ้างก็มีความรับผิดชอบปานกลาง จนกระทั่งถึงมีน้อย หรือไม่ค่อยมีและที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือไม่มีเลย ความรับผิดชอบในเรื่องแรกนี้คือรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัว เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบที่พึงกระทำอยู่เป็นกิจวัตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ถ้าเป็นนักเรียนก็ต้องมีความรับผิดชอบในการทำการบ้าน ครูก็ต้องรับผิดชอบในการสอน และงานในหน้าที่ทั้งจากที่ได้รับมอบหมายก็ดีหรือนอกเหนือหน้าที่แต่เห็นความสำคัญว่าควรรับผิดชอบก็ดี หมอ พยาบาลรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยยามเจ็บไข้ ภารโรง รับผิดชอบดูแลในเรื่องความสะอาด งานบริการด้านต่าง ๆ ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย แม่ค้ารับผิดชอบในการรักษาความสะอาด คุณภาพ การบริการทั้งเรื่องอาหาร และสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องมอบให้ลูกค้า ด้วยความรับผิดชอบที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ เมื่อมีความรับผิดชอบด้วยความใส่ใจก็จะพึงกระทำสิ่งใดด้วยความระมัดระวัง เพราะเมื่อเกิดอะไรขึ้นมาจะมาเรียกหาใคร ให้มาแสดง ?ความรับผิดชอบ? ก็คงหาไม่มี เนื่องจากทุกคนก็จะอ้างด้วยเหตุผล และข้ออ้างที่ว่าด้วยความผิดแต่ไม่รับและไม่ชอบ เพียงแค่เรื่องใกล้ตัวนี้ก็ต้องเสริมสร้างแล้วว่าเราจะต้องรับผิดชอบตนเองอย่างไรบ้าง เรามีหน้าที่ทำอะไร มีหน้าที่เรียน มีหน้าที่สอน มีหน้าที่รักษาคนป่วย มีหน้าที่จัดหาสิ่งดี ๆ มาเสนอลูกค้า เมื่อเรารู้ตัวรู้ตนต่อหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองได้ในระดับหนึ่ง ก็สามารถที่จะรู้หน้าที่ รู้ตัว รู้ตนต่อความรับผิดชอบเบื้องต้นที่เป็นบทบาทอันแตกต่างกันไปตามปัจเจกบุคคล ซึ่งในสังคมเราทุกวันนี้มักสับสนกับคำว่าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือแม่กระทั่งไร้ซึ่งหน้าที่คือไม่ทำสิ่งใดๆเลยที่กล่าวมา เพื่อไม่ก้าวก่ายบทบาทหน้าที่ของผู้อื่นก็เป็นข้ออ้างอิงที่เกิดขึ้นใหม่ ในกรณีเช่นนี้คงไม่แปลกนักสำหรับสังคมปัจจุบันมักจะใช้คำว่าหน้าที่ใครๆก็รับผิดชอบไป แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเราทุกคนนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกันเชื่อมโยงถึงกันหมด โดยเริ่มจากหน้าที่ความรับผิดชอบส่วนตัว ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เริ่มจากหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวเสียก่อน ถ้าทำได้ก็ถือว่าได้ทำประโยชน์กับส่วนรวมแล้วเพราะว่าสิ่งที่เรารับผิดชอบนั้นเกิดขึ้นจากการตระหนักรู้ในตนเอง สามารถรับผิดชอบได้ส่งผลให้เชื่อมโยงไปถึงส่วนรวม สังคมต่อ ๆ กันไปโดยเห็นเป็นภาพกว้างได้ไม่ว่าจะเรื่อง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เมื่อเราตระหนักรู้ตนเอง รู้ว่าต้องพึงมีความรับผิดชอบให้มากเข้าไว้เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถสร้างพลังความรับผิดชอบแก่ตนเองให้มากขึ้นยิ่งประสบความสำเร็จไปในทางที่ดียิ่งเป็นพลังเชิงบวกก็ว่าได้ หากเรามองข้ามความรับผิดชอบเล็กๆ ไปแล้วนั้น ก็คงไม่สามารถที่จะไปสร้างหรือมีความรับผิดชอบใหญ่ๆให้กับสังคมได้

          ความสำคัญของความรับผิดชอบที่กล่าวถึงนี้อยากให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในเรื่องของตนเอง เพราะถ้าเรามีความรับผิดชอบมาก ๆในเรื่องหน้าที่ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การงาน การสิ่งใดก็ตามที่ทำแล้วมีประโยชน์ล้วนแล้วแต่เป็นความรับผิดชอบที่พึงกระทำหาก เราละเลยปล่อยเวลาผ่านไปแม้แต่วินาที นาที ชั่วโมง และกลายเป็นวัน เดือน ปีที่ไร้วี่แววการก่อเกิดชิ้นงานสิ่งใหม่ ๆ อันเนื่องมาจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หน้าที่ที่ต้องทำในแต่ละวันหรือแม้กระทั่งความรับผิดชอบต่อครอบครัวที่ใกล้ตัวที่สุด

          ตัวอย่างที่มีอยู่ในสังคมสามารถอธิบายให้เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูผู้หญิงคนหนึ่ง เมื่ออยู่โรงเรียนเธอต้องเป็นครูที่รับผิดชอบในการสอนให้ดีที่สุด หมดเวลางานสอนในโรงเรียนเธออาจมีบทบาทหน้าที่นอกเหนือไปกว่านั้นคืvหน้าที่ของความเป็นแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก ๆ และอบรมสั่งสอน ตามด้วยหน้าที่ของความเป็นภรรยาที่ต้องรับผิดชอบเอาใจใส่ดูแลสามี หรือแม้กระทั่งหน้าที่ของความเป็นลูกที่เธอต้องกตัญญู ดูแลบิดามารดา สิ่งเหล่านี้เกิดจากความรับผิดชอบส่วนตนที่พึงมีต่อตนเองคืองานในหน้าที่ ต่อครอบครัวคือการดูแล เอาใจใส่ ต่อสังคมคือการสั่งสอบ อบรมนักเรียนให้ดีเก่ง มีความสุข และต่อบุพการีคือการเป็นแบบอย่างทางการประพฤติปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ทำให้รู้ความเธอมีความรับผิดชอบในทุกหน้าที่ที่ได้กล่าวมา  ทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบส่วนตน และความรับผิดชอบส่วนรวม แต่ในมุมของสังคมยังมีอีกมากมายที่เราพึงกระทำร่วมกันได้โดถ้ายึดตนเองเป็นหลักในการเลือกปฏิบัติสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่กระทำตามเหตุและผลนั้นๆ       ถ้าเราทุกคนประพฤติปฏิบัติได้ก็จะเกิดประโยชน์กับสังคมเพราะทุกคนจะคำนึงถึงสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมาก่อนสิ่งอื่นใด ต้องรับผิดชอบด้วยความใส่ใจ มิใช่เป็นเพียงเพราะบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หากรับผิดชอบจากการเห็นคุณค่าของความรับผิดชอบที่จะส่งผลดีต่อไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้งและเห็นแนวทางในการส่งเสริมให้บุคคลใกล้ตัวมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเองก่อนเริ่มจากการรับผิดชอบเรื่องง่าย ๆแล้วค่อยๆเริ่มรับผิดชอบเรื่องที่ท้าทายเข้ามาให้ได้ประลองฝีมือดูว่า เราเองก็มีความสามารถในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีได้เช่นกัน ความรับผิดชอบต่อสังคมคงเป็นเรื่องต่อมาที่เกิดขึ้นเมื่อเรานั้นสามารถรับผิดชอบตนเองได้แล้ว โดยมิได้คำนึงถึงว่าเป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง เช่น การตักเตือนนักเรียนที่แต่งกายผิดระเบียบ ครูสามารถตักเตือนได้เลย โดยมิต้องปล่อยไว้ให้เป็นหน้าที่ของครูฝ่ายปกครอง เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็จะเกิดการโยงใยความรับผิดชอบเบื้องต้น เพราะครูท่านนั้นให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูที่ต้องตักเตือนนักเรียน ครูท่านนั้นให้ความรับผิดชอบต่อสังคมหากไม่ตักเตือนนักเรียนคนนั้นก็กลายเป็นภาระของสังคมที่ไม่สามารถจะไปเตือนได้เมื่อนักเรียนนั้นจบไปแล้วกลายเป็นความรับผิดชอบที่เราไม่สามารถจับต้องได้อีก และก็คงไม่มีใครจะมาเรียกร้องว่า ?ใครกันจะรับผิดชอบ?หรือความรับผิดชอบนี้ควรจะอยู่ที่ใครโยนกันไปมา ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเกิดจากความรับผิดชอบต่อตนเองก่อนทั้งสิ้น ถ้านักเรียนแต่งกายถูกระเบียบก็ไม่โดนตักเตือน  ครูก็สามารถรับผิดชอบในการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องเสียเวลากับสิ่งที่เป็นภาระอันไม่เกี่ยวข้องจนมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ หากเราอยากเห็นระบบการพัฒนาของประเทศชาติบ้านเมืองของเราที่มากขึ้นแล้ว ตัวเราเองเท่านั้นที่ต้องหันมายอกรับกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองที่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่พอ ๆ กับสิ่งอื่นใดที่เรามักให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ....สุดท้ายนี้ขอฝากแด่ครูทุกคน

        ?ทุกวินาทีมีค่า อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไป รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เพื่อที่จะสามารถรับผิดชอบสังคมได้?

ที่มา : http://apps.qlf.or.th/member/blog/detail.aspx?id=186