เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ที่มาของประเทศสยาม หรือ เสียม จากบันทึกแห่งพระเจ้ากรุงจีน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ที่มาของประเทศสยาม หรือ เสียม จากบันทึกแห่งพระเจ้ากรุงจีน (อ่าน 7012 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ที่มาของประเทศสยาม หรือ เสียม จากบันทึกแห่งพระเจ้ากรุงจีน
เมื่อ:
กรกฎาคม 20, 2015, 07:56:49 PM
คำว่า เสียม หรือ สยาม มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ พระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสิน ซึ่งมีเชื้อสายชาวจีน ทรงกอบกู้บ้านเมืองมีชัยชนะต่อพม่าแล้ว พระองค์ทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นแด่พระจักรพรรดิ เฉินหลง พระองค์รับส่งให้เจ้ากรมพิธีการทูต ตรวจสอบเรื่องราวของประเทศสยาม เจ้ากรมพิธีการทูตรายงานว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ตรวจดูเรื่อง เสียม หลัว กั่ว หรือเสียมหลอก๊กแล้ว เห็นมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง สมัยโน้นเรียกว่า ประเทศ ซื่อ-ถู-กั่ว (หรือ เซี้ยะโทว้ หรือ เฉตู) ด้วยครั้งพระเจ้าสุยทางเต้ พระเจ้าสุยเอียงเต้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปีอิดทิ้ว ขุนนางสุนถังจู้ ชื่อเสียงจุ่น ได้จดความไว้ว่า ซื่อ-ถั่ว-กั่ว-อ๋อง นับถือศาสนาพุทธ คาดคะเนว่า พระเจ้าแผ่นดินแซ่เดียวกับพระพุทธเจ้า ชาวเสียม-หลั่ว-กั่ว เป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ (อาณาจักรฟูนัน) ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้
ราชวงศ์สุย หรือซุย มีอายุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๒๔-๑๑๖๑ และราชวงศ์ถังมีอายุระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๑-๕๐
บ้านเมืองทางแหลมมลายู หรือปลายแหลมทองในสมัยเดียวกันนั้น มีอยู่หลายเมือง เช่น เซี๊ยะโท้ว พานพาน ลังกาสุกะ กันโทลิ ประเทศตันซุน หรือเตียนสุน กิมหลิน (อู่ทอง) เป็นประเทศอยู่ในยุคสมัยเดียวกันกับอาณาจักรฟูนัน ดังนั้น เมื่อพระเจ้ามเหนทรวรมัน หรือจิตรเสน กวาดล้างราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่อาณาจักรฟูนัน แตกสลาย ราชวงศ์ไศเลนทร์หนีลงใต้ ราชวงศ์ไศเลนทร์สายหนึ่งไปตั้งดินแดนที่ริมทะเลสาบเขมร ต่อมาจีนเรียกว่าเจนละน้ำ อีกสายหนึ่งได้อพยพลงไปหาถิ่นเดิมที่ดินแดนรอบอ่าวบ้านดอน ดินแดนของพระเจ้าโกณฑัญญะ พำนักอยู่ก่อนได้รับการอัญเชิญให้ไปครองอาณาจักรฟูนัน ประเทศเซี๊ยะโท้ว เป็นประเทศอิสระ มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการปกครอง การเศรษฐกิจ ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ราชอำนาจของพระเจ้ามเหนทรวรมัน จนกระทั่งพระเจ้าสุยเอียงเต้ต้องส่งราชทูต นำพระราชสาส์นของพระจักรพรรดิมาเจริญสัมพันธไมตรีด้วย
นครเซี้ยะโท้ว เรียกว่า นครดินแดง เพราะบันทึกจีนมีว่าเมืองนี้มีดินเป็นสีแดง จึงเรียกว่า นครดินแดง ภาษาสันสกฤตเรียกว่า แคว้นรักตมฤตติกา มีจารึกแผ่นอิฐพบที่นครไทรบุรี หรือรัฐเคดะห์ ประเทศมาเลเซีย มีข้อความว่า
มหานาวิกะนามพุทธคุปต์ ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภูมิรักตมฤตติกา ขอให้การเดินทางประสบความสำเร็จ
นคร เซี๊ยะโท้ว หรือแคว้นตมฤติกา อยู่ที่ไหน จากเส้นทางการเดินทางของราชทูตเสียงจุ่น บันทึกไว้ว่า ?เรืออกจากท่าน่ำไฮ้ (ในกวางตุ้ง) เดือนที่ ๑๐ ของปี พ.ศ. ๑๑๕๐ เดินทางระหว่างลมดีมา ๒๐ วัน ๒๐ คืน ถึงภูเขาเจียวเจี๊ยะ ผ่านเลยไปทางตะวันออกเฉียงใต้ หยุดทอดสมอที่เกาะเล่งเจียปัวะป๊อกโตจิว (เกาะลิงคบรรพต) ซึ่งทางซีกตะวันตกอยู่ทางแคว้นจามปา จากนั้นผ่านไปตามเกาะอีก ๒-๓ วันต่อมา แลเห็นทิวเขาของแคว้นหลั่งยะสิ่ว อยู่ทางทิศตะวันตก (ทิวเขาสามร้อยยอด) จากนั้นแล่นลงไปทางใต้ ผ่านเกาะเลยลั่งเต้า (เกาะรังไก่ รังนก อยู่หน้าตำบลปะทิว จังหวัดชุมพร) แล้วก็ถึงอาณาเขตแคว้นเซี๊ยะโท้ว เรือของคณะทูต ต้องถูกลากโยงไปอีกกว่า ๑ เดือน จึงไปถึงนครหลวง
จดหมายเหตุราชวงศ์เช็ง บันทึกไว้อีกว่า
?เสียมหลอก๊ก มีภูเขาใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกฉียงหัวนอนหรือเฉียงใต้ แม่น้ำในเสียมหลอก๊กออกจากภูเขา ฝายทิศหัวนอนหรือทิศใต้ไหลลงทะเล?
ข้อความนี้เป็นหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ภูเขาและแม่น้ำเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ยากที่มนุษย์จะโยกย้าย เปลี่ยนแปลงทิศทางที่อยู่ของมันได้ ยังคงดำรงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง การที่เรือของราชทูตเสียงจุ่นต้องถูกลากโยงผ่านเข้าไปในกระแสน้ำอันเชี่ยว กรากของแม่น้ำหลวง หรือแม่น้ำตาปีซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากพอดี เพราะราชทูตเสียงจุ่นมาในเดือน ๑๒ น้ำไหลนองตลิ่ง แม่น้ำหลวงไหลออกจากภูเขาหลวงฝ่ายทิศใต้ ไหลย้อนไปออกทะเลทางทิศเหนือ ตามบันทึกของราชทูตเสียงจุ่น ดังนั้นเรือราชทูตเสียงจุ่นต้องถูกลากโยงผ่านทวนกระแสน้ำอันเชี่ยวกราก เข้าทางปากพานคูหา อันเป็นช่องทางผ่านเข้าไปสู่เมืองพานพาน หรือเมืองเวียงสระเก่า อันตั้งอยู่เหนือแม่น้ำหลวงขึ้นไป ผ่านเขาศรีวิชัยซึ่งมีพระนารายณ์ศิลาสวมหมวกแขกประทับอยู่ ผ่านเนินเขาท่าข้ามที่มีปราสาทประดิษฐานด้วยพระพุทธรูป แล้วแยกไปสู่เมืองพานพาน ซึ่งมีทั้งพระนารายณ์ เวียงสระ พระอิศวรอยู่ในพระวิหาร จากนั้นราชทูตเสียงจุ่นได้เดินทางไปสู่นครเซี้ยะโท้ว และนครหลวงของเซี้ยะโท้ว ต่อไป
นครเซี้ยะโท้ว นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ยอมรับกันว่า คือ เมืองตมะลี ต่อมาเรียกว่า ตามพรลิงค์ บันทึกจีนเรียกว่า ตานเหมยหลิว ภิกษุอี้จิงเรียกว่าโพลิง ต่อมาเรียกว่าโฮลิง จนกระทั่งถึงนครศรีธรรมราช
นครเซี้ยะโท้ว นับว่าเป็นประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ ที่ภิกษุอี้จิงบันทึกไว้ ประเทศเหล่านี้เป็นอิสระต่อกัน แต่จะเลือกกษัตริย์จากประเทสใดประเทศหนึ่งให้เป็นประมุขและสถาปนาเป็นนคร หลวง ต่อมานครหลวงประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ ย้ายจากนครเซี้ยะโท้ว มาตั้งอยู่ที่นครไชยา เมื่อ พ.ศ. ๑๒๑๓ โดยพระเจ้าโหมิโต แห่งเช ลิ โฟชิ ทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการแด่จักรพรรดิจีน ให้ยอมรับว่า นครเช ลิ โฟชิ เป็นนครหลวงของศรีวิชัยแล้ว
พ.ศ. ๑๓๑๘ พระเจ้าวิษณุ ประมุขของราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครองนครหลวงศรีวิชัย ทรงสร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อประดิษฐานพระผู้ผจญมาร ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีและประดิษฐานพระโพธิสัตว์วัชรปาณี นั่นก็คือ เจดีย์วัดเวียง วัดหลง และเจดีย์วัดแก้ว ที่นครไชยา
พ.ศ. ๑๓๒๓ พระเจ้าวิษณุ ประมุขของราชวงศ์ไศเลนทร์ เสด็จชวากลางเพื่อไปสร้างแบบแปลนและฐานรากของเจดีย์บรมพุทโธ ที่ชวากลาง เจดีย์นี้เริ่มสร้างตั้งแต่พระเจ้าวิษณุ มาแล้วเสร็จบริบูรณ์รัชกาลพระเจ้าสมรตุงคะ พ.ศ. ๑๓๖๐ เป็นปราสาทหินศิลปะชั้นเยี่ยมของราชวงศ์ไศเลนทร์ที่ฝากไว้ให้เป็นมรดกโลกทาง ศิลปะ
พ.ศ. ๑๔๔๖ พระเจ้าชีวกะแห่งกรุงศิริธรรมมหานคร (พระเจ้าแห่งกรุงตามพรลิงค์) ยกกองทัพไปโจมตีละโว้ มีชัยชนะในสงคราม เข้าครอบครองละโว้
พ.ศ. ๑๔๔๗ ประกาศย้ายราชธานีศรีวิชัย มาอยู่ที่ กรุงศรีธรรมราชมหานคร จีนเรียกชื่อใหม่ว่า นครซัน โฟชิ
พ.ศ. ๑๕๐๓ กษัตริย์ซัน โฟชิ องค์หนึ่งมีพระนามตามสำเนียงจีนว่ ชิลิหุตะลิเชียลิตัน แต่งราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน
พ.ศ. ๑๕๐๔ มี กษัตริย์องค์ใหม่พระนามเช ลิ วูเย ส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการจักรพรรดิจีน เพื่อรับรองความเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ราชทูตรายงานว่า แคว้นซัน โฟชิของพวกเขา มีชื่อเรียกกันว่าประเทศเสียนหลิว
ประเทศเสีย นหลิว ก็คือเสียมหลอ หรือเสี้ยนหลอ เป็นชื่อที่จดหมายเหตุจีนใช้เรียกประเทศสยามหรือประเทศไทย ในปัจจุบันนี้แสดงให้เห็นว่า ชนชาติสยามได้มาตั้งบ้าน ชุมชนเมือง บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทยหรือปลายแหลมทอง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ สร้างศิลปวัฒนธรรม นับถือพุทธศาสนา สร้างศิลปะแบบทวารวดีและศรีวิชัยไว้ในคาบสมุทรภาคใต้ ต่อมาได้แผ่ขยายอำนาจมาเสริมสร้างศิลปวัฒนธรรมมาถึงหลอฮก หรือละโว้ จดหมายเหตุจีนจึงเรียกว่าประเทศเสียมโลฮกก๊ก เรียกให้สั้นเข้าเป็นเสียมโลก๊ก
เรื่องพรรณนาว่าด้วยกรุง สยามซึ่งขุนนางจีน ๖๖ นายเป็นเจ้าพนักงานเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์เช็ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ จีนอักษรได้แปลขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕) อธิบายว่า
เสียม หลอก๊กอยู่ฝ่ายทิศตะวันออกเมืองก้วงหลำเฉียงหัวนอน (เฉียงใต้) ของเมืองกั้งพู้จ้าย (กัมพูชา) ครั้งโบราณมี ๒ ก๊ก เสี้ยม (สยาม หรือสุโขทัย) ก๊กหนึ่ง หลอฮก (ละโว้) ก๊กหนึ่ง...
ความสำคัญที่จะสังเกตตรงนี้คือเสี้ยมหลอก๊กอยู่เฉียงหัวนอน (เฉียงใต้) ของเมืองกัมพูชา ถือตามตัวหนังสือจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือตะวันตกเฉียงใต้ ข้อความไม่ชัด ถ้าถือตามภูมิศาสตร์ ควรเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะถ้าเป็นทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นประเทศเวียดนามใต้ ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่าเสียมเรียบ เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกัมพูชา
ถ้าถือตามการแปลของพระเจนอักษร เสียม หมายถึงสุโขทัย หลอฮกซึ่งอยู่ใต้สุโขทัยลงมา คือละโว้ หรือหลอฮก
ข้อ สำคัญของเนื้อความตรงนี้ คือเมื่อรวมเขตสุโขทัยกับละโว้เป็นอาณาจักรเดียวกัน เรียกว่าเสียมหลอก๊ก คือตามทิศทางก็อยู่ฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ไม่ใช่อยู่ทางเฉียงใต้ของกัมพูชา อย่างข้อมูลในจดหมายเหตุจีน การแปลของพระเจนอักษรจึงเป็นการแปลที่สอดคล้องกับทฤษฎีของฝรั่งที่ว่า พวกสยามเพิ่งมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑ ต่อมาโจวต้ากวน ซึ่งเดินทางไปนครธมเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ แปลโดยเฉลิม ยงบุญเกิด มีข้อความสอดคล้องกับจดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์เช็งว่า ?ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใช้เวลาเดินทางครึ่งเดือนถึงเสียมหลอ?
เสียม หลอ ในจดหมายเหตุจีนและบันทึกของโจ ต้ากวน จึงหมายถึง เสียม-ศรีวิชัย หรือเสียม-ชวกะ ที่อยู่ในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย
ในตำราประวัติศาสตร์ไทยที่เล่าเรียนกันอยู่ทุกวันนี้ ให้ความรู้ว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีพระยารามราช (รามคำแหง) เป็นมหากษัตริย์ เคยติดต่อเป็นไมตรีกับกษัตริย์ราชวงศ์หงวน ถึงกับกล่าวใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ขณะ กรุงสุโขทัยทำการรบพุ่งกับชาวมาลี้อี้เอ้อก๊กนั้น มีการแปลจดหมายเหตุจีนว่า เสียนสุโขทัยกำลังทำสงครามรบพุ่งกับชาวมลายู กษัตริย์จีนราชวงศ์หงวนทรงต่งทูตมาห้ามปรามให้ประนีประนอมปรองดองกันเสีย แต่ไฉน? ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ นั้นเอง โจวต้ากวนกลับบันทึกว่า เสี้ยมหลอก๊ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชา ซึ่งเมื่อจับทิศทางแล้ว จะเป็นแผ่นดินปลายแหลมทอง คือแคว้นชวกะ หรือศรีวิชัย ในขณะนั้นนครหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราช กำลังทำการรบพุ่งกับพวกชาวมลายู หรือพวกโมโลยู้ ในบันทึกของภิกษุอี้จิงตามประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยสุโขทัย นครศรีธรรมราชยังเป็นนครอิสระอยู่ เพิ่งมาอยู่เป็นรัฐรวมศูนย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่มา :
http://learning.eduzones.com
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ที่มาของประเทศสยาม หรือ เสียม จากบันทึกแห่งพระเจ้ากรุงจีน
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?