ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุการณ์ที่เมืองแครงในปี พ.ศ. 2127 อาจจะไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ  (อ่าน 10094 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ประวัติศาสตร์น่าคิด
เหตุการณ์ที่เมืองแครงในปี พ.ศ. 2127 อาจจะไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ แต่เป็นการประกาศแยกดินแดน
เลิศชาย ปานมุข

*****************************************

วันนี้ช่วงเย็นหยิบหนังสือมาอ่านเรื่อง?พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช?
จากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ท่านทรงนิพนธ์ไว้ตอนท่านลี้ภัยในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งกรมศิลปากร จัดพิมพ์แจกในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งเล่มที่ผมได้อ่านเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ.2549 ได้นั่งอ่านไปจนจบเล่ม เรื่องราวสำคัญส่วนใหญ่ก็ได้ทำเป็นภาพยนตร์ ?ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค 1 ? 5 ? ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมยุคล วันนี้ผมมาเปิดดูหนังอีกครั้งตอนประกาศอิสรภาพ หรือ ภาค 2 ซึ่งตรงกับหนังสือของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปี พ.ศ.2127

แต่มีข้อที่ชวนให้คิดจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ เมื่อได้อ่านบทความหลายบทความผ่านตา มีหลายบทความจากหลายเว็บจากนักวิชาการระดับ ดร. หลายท่านที่ทำให้ครุ่นคิดว่า /////เหตุการณ์ที่เมืองแครงในปี พ.ศ. 2127 อาจไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ แต่เป็นการประกาศแยกดินแดน///// สรุปคร่าวๆครับ

จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ชำระขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1 ศตวรรษ หรือ 100 ปี หลังจากเหตุการณ์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์และผู้ทรงความรู้ทางประวัติศาสตร์หลายท่านบอกว่าน่าเชื่อถือที่สุด มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองแครงว่าเมื่อเสด็จไปถึงเมืองแครงแล้วเหตุใดจึงยกทัพกลับ ดังข้อความ

?สมเด็จพระนรายเป็นเจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิศณุโลก
รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงษากับพระเจ้าอางวะผิดกัน
ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการศึกพระเจ้าหงษา...
แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง
แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนคร?

แต่ที่เรารับรู้กันตามหนังสือเรียนประวัติศาสตร์มาจากหนังสือบอกเล่า คำให้การของขุนหลวงหาวัด พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม พระราชพงศาดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และพงศาวดารไทยรบพม่า กล่าวว่า พระนเรศวร ได้ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง เพราะ กษัตริย์หงสาวดี คือ พระเจ้านันทบุเรง คิดทุรยศ สมเด็จพระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพ ดังที่เราเห็นในหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวร

พงศาวดารฉบับหอแก้ว ของพม่า มิได้ระบุถึงเหตุการณ์นี้ เพียงแต่ให้ข้อมูลว่า ทัพอยุธยาซึ่งไปช่วยราชการศึกนั้น มิได้ตามเสด็จพระเจ้านันทบุเรงไปช่วยราชการศึกทางกรุงอังวะ แต่ตรงมาทางกรุงหงสาวดี เข้าล้อมกรุง หมายจะตีหักเอากรุงหงสาวดี

หลักฐานของไทยกับพม่าบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ต่างกัน ไทยกล่าวว่าพระนเรศวรทรงล่วงรู้ถึงอุบายของพระเจ้านันทบุเรง จึงทรงประกาศ ?ฉินทพากย์อุไภยนัครา? (แยกแผ่นดิน) ที่เมืองแครง ขณะที่ฝ่ายพม่าบันทึกว่าพระนเรศวรทรงตั้งใจยกไปตีหงสาวดีอยู่แล้ว

มาดูความหมายของคำว่า อิสระ กับ อิสรภาพ กัน

คำว่า ?อิสระ? มาจากภาษาบาลีว่า ?อิสสร? และภาษาสันสกฤตว่า ?อีศฺวร? ซึ่งมีความหมายว่า ?เป็นใหญ่? กล่าวคือ หมายถึง ?ความเป็นราชาผู้ยิ่งใหญ่เหนือราชาแว่นแคว้นอื่น? ปรากฏอยู่ในตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งพระเจ้านันทบุเรงทรงวางแผนให้พระยาเกียรติ พระยาราม กำจัดสมเด็จพระนเรศวร ความว่า

?...จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตเสียให้จงได้
เมืองหงสาวดีจึงจะเป็นอิสสระภาพไพศาลกว่าพระนครทั้งปวง...?

การเสียเอกราชของรัฐโบราณไม่ใช่การเสียอธิปไตย ตามแนวคิดของรัฐสมัยใหม่ แต่เป็นการเสียพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์อยุธยาที่ทรงความเป็น ?เจ้าเอกราช? หรือ ?เอกราชา คือ ราชาผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่หนึ่ง ไม่ย่อมอ่อนน้อมต่อราชาแว่นแคว้นอื่น แต่ในปี พ.ศ. 2106 กรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองด้วย การยอมยกช้างเผือกและพระราเมศวรซึ่งเป็นพระมหาอุปราชให้เป็นองค์ประกัน เป็นการยอมรับสถานะอัน ?เหนือกว่า? ของบุเรงนองว่าเป็นเอกราชา ?ตัวจริง? และพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาจำยอมเปลี่ยนสถานะจาก ?เจ้าเอกราช? (ราชาผู้เป็นหนึ่ง) เป็น ?เจ้าประเทศราช? (ราชาผู้ยอมรับอำนาจอันเหนือกว่า) ของประเทศอื่น

ดังนั้น เหตุการณ์ที่เมืองแครงในปี พ.ศ. 2127 จึงไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ แต่เป็นการประกาศ ?แยกแผ่นดิน? และ ?เปลี่ยนสถานะ? จากประเทศราชที่ยอมรับอำนาจอันเหนือกว่าของหงสาวดี มาเป็นแว่นแคว้นที่ไม่ยอมรับความเป็น ?เอกราชา? ของพระเจ้านันทบุเรง พร้อมจะเป็นศัตรูและเผชิญหน้ากับกรุงหงสาวดีอย่างเป็นทางการนั่งเอง

นี่อีกหนึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เป็นข้อมูลอีกด้านให้ศึกษาและสืบค้นและค้นหาความจริงกันต่อไปครับ นี่คือเสน่ห์ของการศึกษาประวัติศาสตร์ครับ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากบทความของ

- ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
- รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2016, 02:07:23 PM โดย เลิศชาย ปานมุข »