ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องมือวัดผลทางการศึกษา  (อ่าน 13860 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2017, 12:24:48 PM
แบบทดสอบ แบบวัด หรือเครื่องมือสําหรับในการวัด และประเมินผลทางการศึกษาที่ดี และควรมี...

1. ความเที่ยงตรงสูง นั่นคือ สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่ต้องการวัด
2. มีความเชื่อมั่นดี หมายถึง ผลที่วัดคงที่แน่นอนไม่เปลี่ยนไปมา วัดซ้ํากี่ครั้งกับกลุ่มตัวอย่างเดิมได้ผลเท่าเดิม หรือใกล้เคียงกัน สอดคล้องกัน
3. มีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากหรือง่ายเกินไป
4. มีอํานาจจําแนกได้ สามารถแบ่งแยกผู้สอบออกตามระดับความสามารถเก่งและอ่อนได้ โดยคนเก่งจะตอบข้อสอบได้ถูกมากกว่าคนอ่อน
5. มีประสิทธิภาพ หมายถึงทําให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ลงทุนน้อย
5. มีความยุติธรรม ไม่เปิดโอกาสให้ได้เปรียบเสียบเปรียบ
6. มีความจําเพาะเจาะจง
7. ใช้คําถามที่ลึก
8. มีคําถามยั่วยุ

1.ความเที่ยงตรง(validity) ในการสร้างแบบทดสอบหรือเครื่องมือวิจัยสําหรับเก็บข้อมูล มักจะกล่าวถึงความเที่ยงตรง ซึ่งมักจะมีความหมายและรายละเอียดดังนี้

1.1 ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content  validity) หมายถึง การวัดนั้นสามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัดได้ครบถ้วนตามจุดประสงค์ของการวัด ในทางปฏิบัติมักจะต้องทําตารางจําแนกเนื้อหา จุดประสงค์ ตามที่ต้องการก่อนจะทําการออกข้อสอบหรือแบบวัด

1.2 ความเที่ยงตรงเชิงสัมพันธ์ (criterion-related  validity) แบ่งการออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.3 ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) คือ ค?าคะแนนจากแบบสอบสามารถทํานายถึงผลการเรียนในวิชานั้นๆ ได้อย่างเที่ยงตรง

1.4. ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent  validity) หมายถึง ค่าคะแนนที่ได้จากแบบสอบสะท้อนผลตรงตามสภาพเป็นจริง กล่าวคือ เด็กเก่งจะได้คะแนนสอบสูง ส่วนเด็กอ่อนจะได้คะแนนต่ำจริง

1.5 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) หมายถึง คะแนนจากแบบวัดมีความสอดคล้องกับลักษณะและพฤติรรมจริงของเด็ก เช่น สอดคล้องกับความรู้ ความีเหตุผล ความเป็นผู้นํา เชาว์ปัญญา เป็นต้น

2. ความเชื่อมั่น (reliability) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นได้ว่าผลจากการวัดคงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนไปมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำอีกโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมผู้ถูกทดสอบกลุ่มเดิม จะวัดกี่ครั้งก็ได้ตามผลการวัดควรจะเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงเดิม สอดคล้องกัน

3. ความเป็นปรนัย (objectivity)ความเป็นปรนัยหมายถึง ความชัดเจน ความถูกต้อง ความเข้าใจตรงกัน โดยยึดถือความถูกต้องทางวิชาการเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบทดสอบใดๆ จำเป็นต้องมีความชัดเจนเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกข้อสอบและผู้ทำข้อสอบ

ความเป็นปรนัยพิจารณาได้ 3 ประการ คือ
1 ผู้อ่านข้อสอบทุกคนเข้าใจตรงกัน
2 ผู้ตรวจทุกคนให้คะแนนได้ตรงกัน
3 แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน

4. ความยากง่าย (Difficulty) ความยากง่ายของข้อสอบพิจารณาได้จากผลการสอบของผู้สอบเป็นสำคัญ  ข้อสอบใดที่ผู้สอบส่วนมากตอบถูก  ค่าคะแนนเฉลี่ยของข้อสอบสูงกว่า 50% ของคะแนนเต็มอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบที่ง่ายหรือค่อนข้างง่ายข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ คะแนนเฉลี่ยของข้อสอบควรมีประมาณ 50% ของคะแนนเต็มค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 50% แสดงว่าเป็นข้อสอบค่อนข้างยาก ข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ข้อสอบฉบับหนึ่ง ควรมีผู้ตอบถูกไม่ต่ำกว่า  20 คนและไม่เกิน  80 คนจากผู้สอบ 100 คน นั่นคือค่า P อยู่ระหว่าง.20-.80 จึงถือว่าเป็นข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายพอเหมาะ

5. อำนาจจำแนก (Discrimination) อำนาจจำแนก คือ ลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถแบ่งเด็กออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ทุกระดับตั้งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด  แม้ว่าจะเก่งอ่อนกว่ากันเพียงเล็กน้อยก็สามารถชี้จำแนกให้เห็นได้ข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกสูงนั้น  เด็กเก่งมักตอบถูกมากกว่าเด็กอ่อนเสมอ  ข้อสอบที่ทุกคนทำถูกหมดจะไม่สามารถบอกอะไรเราได้เลย หรือผิดหมดไม่สามารถบอกได้ว่าใครเก่งหรืออ่อน

6. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) เครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง เครื่องมือที่ทำให้ได้ข้อมูลได้ ถูกต้องเชื่อถือได้โดยลงทุนน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในแง่เวลา  แรงงาน และทุนทรัพย์รวมทั้งความสะดวกสบายคล่องตัวในการรวบรวมข้อมูล  ข้อสอบที่มีประสิทธภาพสามารถให้คะแนนได้เที่ยงตรงและเชื่อถือมากที่สุดโดยใช้เวลาแรงงานและเงินน้อยที่สุด แต่ประโยชน์ ที่ได้จากการสอบคุ้มค่า  ข้อสอบที่พิมพ์ผิดตกหล่นมาก  จำนวนหน้าไม่ครบ รูปแบบของแบบทดสอบเรียงไม่เป็นระเบียบทำให้ผู้สอนเกิดความสับสน มีผลต่อคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งสิ้น การจัดรูปแบบของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบเพื่อให้ดูง่ายมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยนิยมพิมพ์แบ่งครึ่งหน้ากระดาษ

7. ความยุติธรรม (Fair) ความยุติธรรม ข้อสอบทีดีต้องไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ข้อสอบบางฉบับครูไปเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งตรงกับเรื่องที่เด็กทำรายงานในบางกลุ่ม  ทำให้กลุ่มนั้นได้เปรียบคนอื่นๆ ข้อสอบบางข้อใช้คำถามหรือข้อความที่แนะคำตอบ ทำให้นักเรียนใช้ไหวพริบเดาได้การใช้ข้อสอบแบบอัตนัยเพียง 5 หรือ 10 ข้อมาทดสอบเด็กนั้น ไม่อาจสร้างความยุติธรรมในการสอนให้แก่เด็กได้  เพราะผู้สอบมีโอกาสเก็งข้อสอบได้ถูกมากกว่าแบบปรนัยที่ถามถึง 100 ข้อ

8. คำถามถามลึก (Searching) ข้อสอบที่ถามลึกไม่ถามแต่เพียงความรู้ความจำเท่านั้น แต่จะถามวัดความเข้าใจการนำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วมาแก้ปัญหา วิเคราะห์ ตลอดจนสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ขึ้นมาจนท้ายที่สุดคือ การประเมินผลคำถามที่ถามลึกนั้นผู้ตอบต้องคิดค้นก่อนจึงจะสามารถหาคำตอบได้  มิใช่เพียงแต่ระลึกถึงประสบการณ์ต่างๆ เพียงตื้น ๆ ก็ตอบปัญหาได้  แต่เป็นแบบทดสอบที่วัดความลึกซึ้งทางวิชาการตามแนวดิ่งมากกว่าจะวัดตามแนวกว้าง

9. คำถามยั่วยุ (Exemplary) คำถามยั่วยุ ได้แก่ คำถามที่มีลักษณะท้าทายให้เด็กอยากคิดอยากทำ มีลีลาการถามที่น่าสนใจ  ไม่ถามวนเวียนซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย  การใช้รูปภาพประกอบก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ข้อสอบน่าสนใจ ข้อสอบที่ยากเกินไปทำให้ผู้สอบหมดกำลังใจที่จะทำ ส่วนข้อสอบที่ง่ายเกินไป ก็ไม่ท้าทายให้อยากทำ  การเรียงคำถามจากข้อง่ายไปหายากเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ข้อสอบมีลักษณะท้าทายน่าทำ

10. จำเพาะเจาะจง (Definite) คำถามที่ดีต้องไม่ถามกว้างเกินไป ไม่ถามคลุมเครือหรือเล่นสำนวนให้เด็กงง เด็กอ่านแล้วต้องเข้าใจชัดเจนว่าครูถามอะไร ส่วนจะตอบได้หรือไม่อยู่ที่ความสามารถของผู้ตอบเป็นสำคัญ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก kruchiangrai.net

ที่มา : https://blog.eduzones.com/lovekru/175712