เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
คสช.ล้มเหลวหรือสำเร็จ 3 ปีปฏิรูปการศึกษา
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: คสช.ล้มเหลวหรือสำเร็จ 3 ปีปฏิรูปการศึกษา (อ่าน 3692 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
คสช.ล้มเหลวหรือสำเร็จ 3 ปีปฏิรูปการศึกษา
เมื่อ:
ธันวาคม 11, 2017, 11:22:10 AM
3 ปีในการปฏิรูปการศึกษาตาม ?ตำรา? คสช.ล้มเหลวหรือสำเร็จ..โดย นายกิตติ ทวยภา อุปนายกสมาคมศึกษานิเทศก์ภาคอีสาน
22พฤษภาคม2557คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ได้ยึดอำนาจการปกครอง และได้เดินหน้าในการปฏิรูปประเทศ ตามRoad mapที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ งานที่ คสช.มุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การรักษาความสงบเรียบร้อยด้านการเมือง มีผลให้บ้านเมืองเกิดความสงบในห้วงระยะเลาที่ผ่านมาและได้มีการตรวจสอบการทุจริตของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนส่งผลให้ มีการลงโทษผู้ที่กระทำผิดมากมาย ผลงานด้านการเมืองเป็นที่พึงพอใจเห็นได้ว่าผลงานด้านนี้รัฐบาล?คสช.?สอบผ่าน
ขณะเดียวกันที่รัฐบาล ปฏิรูปการเมืองก็ได้ปฏิรูปด้านเศรษฐกิจไปพร้อมๆกันสำหรับเรื่องเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีอ้างว่า มีผลการประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ0.8ในปี57เป็นร้อยละ3.2ในปี59สัดส่วนมูลค่าSMEsต่อGDPมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ39.6ในปี57เป็นร้อยละ42.3ในปี59ถ้าเป็นไปตามคำที่กล่าวอ้าง ถือว่ารัฐ ?สอบผ่าน? ด้านสังคมว่ากันว่าความเห็นแย้งจากนักการเมืองเก่าบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย พยายามปลุกเร้าประชาชนในสังคมให้ออกมาต่อต้านรัฐบาล ซึ่งมีทั้งในประเทศและกลุ่มออกไปเคลื่อนไหวต่างประเทศ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ มีอีแอบหลบซ่อนตัวภายใต้ชายคารัฐ คสช.รอวันกลับมาปะทุความขัดแย้งและแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งในสังคมอีก ดังนั้นการปฏิรูปด้านสังคมรัฐ ยังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงขณะนี้ถือว่า ?ติดI?
ด้านการศึกษา มีคำสั่งที่สำคัญเพื่อปฎิรูปการศึกษา อาทิ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่10/2559เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค,คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่11/2559เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค,คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่1/2560เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ,คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่16/2560เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่17/2560เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่7/2558 .คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่19/2560เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
หลังจากมีคำสั่งดังกล่าวออกมา ทำให้เกิดความโกลาหลทางด้านการศึกษาและเกิดความสับสน แตกแยกทางความคิดและแนวทางการปฏิบัติเป็นวงกว้าง ในช่วงระยะแรกที่เริ่มดำเนินการ เช่น การบริหารงานบุคคลข้าราชการครูสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กศจ.,อกศจ.ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ การเข้าไปมีส่วนร่วมของข้าราชการครูไม่มี เช่นตัวแทนข้าราชการครูผู้สอน.ตัวแทนบุคลากรทางด้านการศึกษา ตาม พรบ.ครูฯ มาตรา38ค.(1)(2)ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวแทนจากหน่วยงานอื่นๆ ทำให้การขับเคลื่อนงานบุคคลล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
บุคลากรขาดขวัญกำลังใจ ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่สำคัญหลายประการ อาทิ
(1)การรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปัญหาที่พบหลังการปฏิรูปการศึกษาคือ มีจำนวนผู้สอบผ่านน้อย ไม่พอกับจำนวนตามที่ต้องการ เพราะข้อสอบที่ออกยากเกินไป ไม่ตรงกับวิชาเอก เนื้อหาสาระไม่ตรงประเด็น อาจเป็นเพราะ การออกข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน นักศึกษาที่จบจากระดับอุดมศึกษาไม่มีคุณภาพ(ส่วนมากจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ)
(2)การแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ล่าช้า เพราะประธาน กศจ.ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ติดภารกิจทำให้ประชุมล่าช้า
(3)การย้ายข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งผู้บริหารและครูผู้สอนมีความสับสน เพราะคำสั่งที่19เขียนระเบียบไว้คลุมเครือ เพราะในมาตรา53ของพ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ว่า ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารงานบุคคล
แต่คำสั่งที่19/2560ของ คสช.ได้กำหนด ไว้ในข้อ13การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครตามมาตรา53 (3)และ(4)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่2)พ.ศ. 2551๑ ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจ.เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ทำให้การปฏิบัติเกิดความทับซ้อน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเจ้านายหลายคน หลายสังกัด ทั้ง สพฐ.และสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาเป็นวงกว้าง
(4)เฉพาะการย้ายครูผู้สอนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเกณฑ์การย้ายต่างคนต่างทำ แต่ละ กศจ.เกณฑ์ในการพิจารณาย้ายแตกต่างกัน(5)เกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเกณฑ์ในการพิจารณาย้ายแตกต่างกัน โดยไม่ยึดหลักและวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือ ศธ0206.4/24ลงวันที่31กรกฎาคม2560เพราะมี กศจ.บางจังหวัดไปกำหนดเกณฑ์การย้ายเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะเอื้อบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็เป็นได้(มีการร้องศาลที่จังหวัดอุบลราชธานีและมีผลให้มีการชะลอการย้ายผู้บริหารทั่วประเทศในขณะนี้)
จากประเด็นปัญหาพอสังเขปที่กล่าวอ้าง ทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ก้าวหน้า แต่ถอยหลังเข้าคลอง ส่งผลให้คุณภาพผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา ไม่สำเร็จตามความคาดหวัง ดังนั้นจึงขอเสนอในการแก้ปัญหาดังนี้
1.ในประเด็นปัญหาที่(1)การรับสมัครสอบเพื่อบรรจุแต่งตั้ง ควรให้เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา เพราะข้อมูลทั้งหมดสำนักงานเขตจะดำเนินการอยู่แล้ว ศธจ.ทำหน้าที่เพียงรอรับข้อมูลเท่านั้น
2.ในประเด็นปัญหาที่(2)เรื่องแต่งตั้งครูผู้ช่วย ล่าช้าเพราะต้อง รอ กศจ.อนุมัติ ควรให้ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาที่มีอำนาจตามมาตรา53ดำเนินการ แล้วเสนอ ศธจ.เพื่อโปรดทราบ และให้ผู้ที่ปฏิบัติจริงในสนามรบมาเป็นผู้ออกข้อสอบ ไม่ใช่อาจารย์มหาวิทยาลัย จะได้ครูตรงตามความต้องการของโรงเรียน สอบเก่งอย่างเดียวเป็นครูที่ดีไม่ได้
3.ในประเด็นปัญหาที่(3)การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ควรเป็นหน้าที่ของ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพราะจะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว ให้ยุบ อกศจ./กศจ.กลับไปใช้ พรบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษาปี2547และแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเป็นการให้เกียรติครูและให้ข้าราชการครูเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร อย่ามองเพียงว่า ผู้แทนครูทุจริต ซึ่งปัจจุบันก็ไม่แตกต่าง
4.ในประเด็นปัญหาที่(4)การย้ายครูผู้สอน กระทรวงศึกษาธิการควรใช้เกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศ เพื่อเกิดความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสีย หลักเกณฑ์บางข้อ ยังเป็นไปในการทุจริตเชิงนโยบาย เช่น ให้โรงเรียนกำหนดวิชาเอกที่ต้องการ อาจจะกำหนดเพื่อ กลุ่มของตัวเองและเครือญาติ ต้องให้ ศธจ.จัดทำข้อมูลสารสนเทศแล้ว จัดทำข้อมูล วิชาเอกที่โรงเรียนต้องการ เป็นข้อมูลกลางและนำไปใช้ทั้งจังหวัดและเชื่อมโยงกับข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมระดับประเทศ
5.ในประเด็นปัญหาที่(5)เกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดให้เป็นเกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศ เพราะบาง กศจ.กำหนดเกณฑ์กีดกันผู้ที่มีความรู้ ความสามารถไม่ให้มีความก้าวหน้า และย้ายไปโรงเรียนที่มีศักยภาพได้ และ เกณฑ์ตามหนังสือ ก.ค.ศ.ที่ ศธ.0206.4/ว24ลงวันที่31กรกฎาคม2560ต้องปรับปรุง เนื้อหาสาระ? เพราะเป็นเกณฑ์กีดกัน ไม่ใช่เกณฑ์พัฒนา?
6.ในห้วงระยะเวลาปีเศษ ในการทำงานจะเห็นได้ว่าเกิดปัญหามากมาย การทำงานแต่ละหน่วยงานซ้ำซ้อนกัน ระหว่าง สพฐ.กับข้าราชการสังกัด ศธจ.เช่นศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันคล้ายๆกับถูกลอยแพ และงานบริหารบุคคลซ้ำซ้อน ดังนั้นเมื่อมีปัญหา ขอ เสนอระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
6.1ยุบ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและศึกษาธิการภาค คงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไว้ทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หรือ
6.2ยุบรวมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภายในจังหวัดรวมเป็นเขตเดียวทั้งประถมและมัธยมศึกษา หรือ
6.3ยุบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมดคง ศธจ.ไว้ เพื่อความเป็นเอกภาพ
เพราะฉะนั้น กระทรวงศึกษาธิการต้อง ทบทวนและตรวจสอบการปฏิรูปการศึกษา ที่ผ่านมาว่า ตอบโจทย์ในการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ และผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุด คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อ การศึกษาไทยก้าวไปสู่ไทยแลนด์4.0ตามที่สังคมคาดหวัง
ที่มา kruthai
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
คสช.ล้มเหลวหรือสำเร็จ 3 ปีปฏิรูปการศึกษา
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?