เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ภาคสรุปแบบเข้าใจง่าย
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ภาคสรุปแบบเข้าใจง่าย (อ่าน 3922 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ภาคสรุปแบบเข้าใจง่าย
เมื่อ:
เมษายน 16, 2019, 10:07:07 AM
น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ภาคสรุปแบบเข้าใจง่าย
1. พิธีบรมราชาภิเษกเป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งเรารับมาจากขอม ในแผ่นดินไทยปัจจุบันหากมองย้อนไปพบหลักฐานที่เก่าที่สุดคือ จารึกสด๊กก๊อกธม 2 พ.ศ. 1595 กล่าวถึงพราหมณ์ที่ชื่อว่าพราหมณ์ศิวไกวัลย์ ได้ประกอบพิธีที่เกี่ยวข้องกับการยกฐานะของผู้ปกครองเสมือนเทวดา ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) เรียกว่า "เทวราชา" มาถึงสมัยราชธานีสุโขทัยปรากฏหลักฐานในจากรึกวัดศรีชุม ที่พ่อขุนผาเมืองทำพิธีอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัย แต่เราไม่อาจระบุได้ชัดเจนว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยก่อนหน้านี้มีขั้นตอนการประกอบพระราชพิธีอย่างไรหรือมีการถวายน้ำสรงมูรธาภิเษกหรือไม่ ในสมัยอยุธยา การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีความสำคัญอย่างยิ่งดังปรากฏหลักฐานเอกสารจำนวนมาก สืบเรื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
2. การทำพิธีบรมราชาภิเษกจะต้องใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธี ซึ่งต้นฉบับของอินเดีย จะต้องเป็นน้ำที่มาจาก ?ปัญจมหานที? คือแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 ในอินเดีย (บางตำราก็ว่าตามคติอินเดียจริงต้องแม่น้ำ 7 สาย) ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู และแม่น้ำมหิ ซึ่งเชื่อกันว่าไหลมาจากเขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางจักรกาล ที่เป็นที่พระทับของพระศิวะ หรือจะเรียกเขาพระสุเมรุก็ได้
3. เมื่อสุโขทัยอยู่ไกลจากอินเดียจะไปเอาน้ำมามันก็ลำบาก จึงมีการนำน้ำจากแหล่งที่ใกล้กับอาณาจักรสุโขทัยที่สุดนี้แหละ จำลองเป็นน้ำที่มาจากปัญจมหานที ซึ่งเป็นน้ำที่นำมาจากภูเขาลิงคบรรพต บริเวณดังกล่าวเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละ ก่อนมีการย้ายเมืองหลวง (เจนละเป็นกำเนิดอารยธรรมของนะครับ)
4. ในสมัยอยุธยามีการใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เข้มข้นมากขึ้น พิธีบรมราชาภิเษกจึงถูกนำมาใช้ แต่ในสมัยอยุธยาตลอด 417 ปี น้ำที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกทั้งหมด ถูกนำมาจากสระ 4 แห่งในเมืองสุพรรณบุรี ได้แก่ สระแก้ว สระเกษ สระคา และสระยมนา
5. จนสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์พิธีบรมราชาภิเษกยังคงใช้น้ำ จากสระทั้ง 4 ในเมืองสุพรรณบุรี แต่เนื่องจากต้นฉบับอินเดียต้องเป็นน้ำจาก ปัญจมหานที จึงมีการจำลองแม่น้ำ 5 แห่ง เรียกว่า ?ปัญจสุทธิคงคา? ซึ่งตักมากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ตักจากตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง, แม่น้ำป่าสัก ตักจากตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี, แม่น้ำบางปะกง ตักจากตำบลพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก, แม่น้ำราชบุรี ตักจากตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม และแม่น้ำเพชรบุรี ตักจากตำบลท่าไชย จังหวัดเพชรบุรี แต่เนื่องจากน้ำดังกล่า;เป็นเพียงการจำลอง ไม่ได้นำมาจากปัญจมหานทีจริงๆ จึง ต้องมีการทำพิธีเสกน้ำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ โดยจะทำกัน ในสถานที่ที่เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ เช่นการตัดน้ำที่เพชรบูรีจะไปทำพิธีที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานเก่าแก่ราวสมัยทวารวดี หรือที่จังหวัดสระบุรีจะไปทำพิธีที่วัดพระพุทธบาท เป็นต้น
6. ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงมีการเพิ่มพิธีพุทธเข้าไปคือการเสกน้ำพระพุทธมนต์ โดยจะใช้พระครูไทยสวดพระปริตร จึงเรียกว่าพระครูพระปริตไทย (สมัยนั้นพระครูพระปริตร จะมีฝั่งไทย กับฝั่งมอญครับ ปกติการเสกน้ำพระพุทธมนต์จะใช้พระครูไทยกับมอญฝั่งละ 4 รูป) น้ำที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกจึงมีน้ำพระพุทธมนต์เพิ่มาอีก
7. ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพิธีบรมราชาภิเษกเกิดขึ้น 2 ครับ โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ร.5 ขึ้นครองราชย์ในขณะที่พระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ น้ำที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกจึงเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ผ่าน ๆ มา แต่เมื่อพระองค์ทำพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 เมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะ มีการนำน้ำจาก ปัญจมหานที จริงๆ จากอินเดียมาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ทำให้น้ำที่ใช้ในพิธีประกอบด้วยน้ำจากสระทั้ง 4 ในเมืองสุพรรณบุรี, น้ำจากปัญจสุทธิคงคา, น้ำจากปัญจมหานที, น้ำพระพุทธมนต์
8. ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการใช้น้ำมุรธาภิเษก (หมายถึง การรดนํ้าในพิธีบรมราชาภิเษก) เหมือนครั้งที่รัชกาลที่ 5 ทำพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 และมีการเพิ่มน้ำที่มีที่มาจากดินแดนที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยเพิ่มเข้าไป 7 แห่ง คือ แม่น้ำป่าสักจากอาณาจักรละโว้, น้ำจากสระแก้วสระสองห้องของเมืองพิษณุโลก, น้ำจากตระพังที่เมืองสวรรคโลก, น้ำจากแม่น้ำนครชัยศรีอาณาจักรทวารวดี, น้ำจากบ่อหน้าพระลานอาณาจักรนครศรีธรรมราช, น้ำจากบ่อทิพย์อาณาจักรหริภุญไชย, น้ำจากบ่อวัดพะรธาตุพนมอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งจะตักจากจังหวัดต่างๆ ที่เคยเป็นที่ตั้งของดินแดนโบราณที่กล่าวมาแล้ว และจะทำพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ใน สถานที่สำคัญในจังหวัดนั้นๆ เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก, วัดพระมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย, พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น และมีการตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากอีก 10 มณฑล ได้แก่ มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา มณฑลอีสาน มณฑลจันทรบุรี มลฑลชุมพร มณฑลปัตตานี มณฑลภูเก็ต มณฑลเพชรบูรณ์ และมณฑลราชบุรี
9. การใช้น้ำมุรธาภิเษก ตั้งแต่ ร.6 เป็นต้นมา จึงประกอบด้วย น้ำจากสระทั้ง 4 ในเมืองสุพรรณบุรี, น้ำจากปัญจสุทธิคงคา, น้ำจากปัญจมหานที, น้ำพระพุทธมนต์, น้ำจากเมืองสำคัญและมณฑลต่างๆ 17 แห่ง ต่อมาในสมัยรัชการที่ 7 มีการเพิ่มน้ำศักดิ์สิทธิ์จากเมืองต่างๆ เป็น 18 แห่ง โดยเพิ่มน้ำจากบึงพลาญชัย เมืองร้อยเอ็ด และมีการเปลี่ยนแหล่งน้ำจากมณฑลเพชรบูรณ์ เป็นน้ำจากเมืองแพร่
10. ในสมัยรัชกาลที่ 9 ยังคงมีการใช้นำมุรธาภิเษก เหมือนเช่นสมัยรัชกาลที่ 7 แต่มีการเปลี่ยนสถานที่ คือนำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากเมืองน่าน มาแทนเมืองแพร่ โดยน้ำทั้งหมดเมื่อทำพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองต่างๆแล้ว จะถูกส่งมาเก็บไว้ที่พระอุโบรถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อนเตรียมพร้อมที่จะใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก
11. ในพิธีบรมราชาภิเษกของรัชกาลที่ 10 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนที่มาของน้ำที่จะใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก โดยจำเป็นการนำน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิทั่วประเทศ 76 จังหวัด 126 แห่ง ซึ่งรวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำที่มาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ แล้วนำมารวมกัที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ในวันที่ 18 เมษายน 2562 แล้วจำทำพิธีเสกน้ำรวมกันอีกครั้งเพื่อพร้อมที่จะนำไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 ที่จะถึงนี้
ภาพประกอบ สระแก้ว หนึ่งในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของเมืองสุพรรณ จาก
https://www.matichon.co.th/court-news/news_1319285
ที่มา เพจ บทความไทยศึกษา คติชนวิทยา
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ภาคสรุปแบบเข้าใจง่าย
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?