เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความ และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและแหล่งเรียนรู้
ทักษะการอ่านที่สำคัญ สมองที่สับสนกับข้อมูลที่ล้นจอ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ทักษะการอ่านที่สำคัญ สมองที่สับสนกับข้อมูลที่ล้นจอ (อ่าน 2850 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ทักษะการอ่านที่สำคัญ สมองที่สับสนกับข้อมูลที่ล้นจอ
เมื่อ:
ตุลาคม 15, 2020, 10:07:40 PM
ที่มาบทความ
https://www.educathai.com/
เรียบเรียงโดย สุรเชษฐ์ ตรรกโชติ Content Developer Cohort 2 Alumni Teach For Thailand
ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ
ทักษะการอ่านยังคงเป็นทักษะที่มีความจำเป็นและ ยังต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้ได้มาซึ่งการอ่านที่เข้าใจและ ไม่ลืม แต่ผลสำรวจบอกว่า ในยุคดิจิทัล มนุษย์เรากลายเป็นคนไม่รู้หนังสืออีกครั้งจริงหรือ มีงานวิจัยที่แสดงข้อมูลออกมาว่า ภายในหนึ่งวัน คุณจะลืมข้อมูลที่อ่านหรือที่ได้ยินประมาณ 70% และประสิทธิภาพทางการอ่านจะลดลง 30% เมื่ออ่านผ่านหน้าจอจากเครื่องมือสื่อสาร
เมื่อเรามองย้อนกลับไป ทักษะการอ่านหรือการรับข้อมูลข่าวสารที่ดี ต้องใช้ความเข้าใจและ การจดจำ ซึ่งปัจจุบันเราต้องซึมซับข้อมูลปริมาณมหาศาลกันทุกวัน หรือเท่ากับการอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 174 ฉบับ เราอ่านช้าเกินกว่าจะประมวลผลทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจำเป็นต้องประมวลผลได้อย่างครบถ้วน แต่เรายังไม่ได้เรียนรู้ทักษะและ วิธีที่จะช่วยเราจัดการข้อมูลปริมาณมากเกินไปในปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เราต้องเปลี่ยนแปลง เพราะเราจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในช่วงชีวิตของเรา โดยหนังสือ ?อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม? เขียนโดย Mark Tigchelaar แปลโดย จิรประภา ประคุณหังสิต โดยเราจะมาเรียนรู้ทักษะจากหนังสือเล่มนี้
ทักษะการอ่านที่ดี
เรื่องที่ 1 ?สมอง? คนเรา ประมวลผลข้อมูลได้ 800-1,400 คำต่อนาที
โดยปกติคนเราจะอ่านที่ความเร็ว 200 คำต่อนาที ขณะที่เราอ่านหนังสืออยู่จะมีพื้นที่สมองว่างๆ ให้คิดฟุ้งซ่านถึงเรื่องอื่นๆ ได้มากมาย
วิธีการคือ: ใช้นิ้วหรือปากกาจิ้มไปที่ตัวหนังสือ อ่านตามไปเรื่อย ๆ ปรับสปีดให้เหมาะสม เน้นที่ความเข้าใจมากกว่าอ่านเพื่อความเร็ว
เรื่องที่ 2 การทำงานหลายอย่างพร้อมกันหรือ Multi-tasking
ปัจจุบัน หลายๆ คนทำงานหรือสนใจหลายๆ สิ่งพร้อมกัน เพราะเราจะคิดว่าการกระทำแบบนี้ส่งผลให้เกิดความรวดเร็ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่และ ยังทำให้สมองทำงานหนักกว่าเดิม การทำแบบนี้ต้องใช้ ?สมาธิแบบรู้ตัว? ในการทำงาน เป็นการที่เราต้องจดจ่อกับตัวงานที่ทำ มันไม่ใช่การทำงานทีละหลายๆ อย่าง แต่เป็นการสลับงานไปมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการใช้สมองทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งกลับทำให้เสียเวลามากขึ้นและจำได้น้อยลง ต่างจากการที่เราเดินไปพูดไป อันนั้นเป็นการใช้ ?สมาธิแบบไม่รู้ตัว? ซึ่งเกิดโดยอัตโนมัติ สมองจะจัดการได้
วิธีการคือ : ทำทีละอย่างและจดบันทึกโดยใช้ คำนามเป็นหลัก
เรื่องที่ 3 สมองคนเราจำ ?ภาพ? ได้ดีกว่า ?ตัวหนังสือ?
ในหนังสือยกตัวอย่างว่า ผู้ชายคนนึงนามสกุล ?Baker? ให้จำว่าเป็น ?ขนมอบ? จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น
วิธีการคือ : การจำตัวเลขก็ให้เปลี่ยนเป็นภาพ หรือ เชื่อมโยงกับตัวเลขที่คุ้นเคย เช่น เห็นเลข 911 หรือของไทยก็ 191 ก็ให้จำว่าเป็นเลขสถานีตำรวจ หรือจะจำแบบนี้ก็ได้ คือ 1 = เทียน 2 = หงส์ 3 = กุญแจมือ 4 = เรือใบ 5 = ตะขอ เป็นต้น
เรื่องที่ 4 มองภาพใหญ่หรือภาพรวมของเนื้อหา
การอ่านโดยปกติอาจจะทำให้เราเห็นภาพโดยรวมของเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน หรือถูกรวบรวมไว้แบบไม่ถูกต้อง สมองของเราจะสร้างความเชื่อมโยงเพื่อที่จะทำความเข้าใจและ จำข้อมูลได้ดีขึ้น คือการมองภาพรวม ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการต่อจิ๊กซอว์ เมื่อเราเห็นภาพรวมของมัน จะทำให้เราสามารถต่อได้ง่ายขึ้น
วิธีการคือ : เปิดอ่านคำนำ อ่านสารบัญ อ่านบทสรุป เพื่อจะได้เข้าใจโครงสร้างของหนังสือเล่มนี้ว่าเริ่มต้นและจบอย่างไร
เรื่องที่ 5 การทำงานเกินเวลาจะทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง
ผลงานวิจัยชี้ว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือโดยไม่พักเลยนานเกิน 60 นาทีระดับความเข้าใจของคุณจะลดลงถึง 37%
วิธีการคือ : แบ่งการทำงานเป็นบล็อกๆ จะทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการแบ่งการเรียนรู้เป็น บล็อกละ 30 นาที 4 บล็อก จากการเรียนแบบรวดเดียว 2 ชั่วโมง
ที่มา:
(1) หนังสือ ?อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม? เขียนโดย Mark Tigchelaar แปลโดย จิรประภา ประคุณหังสิต
(2) สรุปหนังสือ ?อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม? ทำยังไง? 2019, Feb 12 retrieved from
https://www.finnomena.com/stockvitamins/reading-techniques
, 2020, June 18
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความ และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและแหล่งเรียนรู้
ทักษะการอ่านที่สำคัญ สมองที่สับสนกับข้อมูลที่ล้นจอ
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?