เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: 6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้ (อ่าน 2803 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้
เมื่อ:
กันยายน 24, 2021, 12:18:54 AM
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะ (competency-based curriculum) หรือ การเรียนการสอนฐานหลักสูตรฐานสมรรถนะ (competence-based education) กำลังเป็นโมเดลการเรียนการสอนที่มีอิทธิพล และบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในวงการการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 หลากหลายโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างมุ่งมั่น และคาดหวังที่จะปฏิรูป และพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนบุคลากรของตัวเองให้ดำเนินการสอนอยู่บนฐานของสมรรถนะผู้เรียนการมากขึ้น การเข้าใจแก่นหรือหัวใจหลักของหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างถ่องแท้และครอบคลุมจึงเป็นก้าวที่สำคัญของคุณครูผู้สอนแห่งศตวรรษที่ 21 ทุกคน โดยจะมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะใดบ้างที่คุณครูควรรู้และระแวดระวัง วันนี้ Starfish Labz สรุปมาให้แล้ว
ความเข้าใจผิดที่ 1: ?ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้เรียนเรียนรู้และกำหนดเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-paced)
ด้วยลักษณะหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และจัดการเรียนการสอนตามความถนัด หรือตามความชอบของผู้เรียน (Personalized Learning) หลักสูตรฐานสมรรถนะจึงมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ ว่าเป็นรูปแบบการเรียนในลักษณะตามอัธยาศัย ผู้เรียนกำหนดลักษณะการเรียน และเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะจะมอบอิสระและความยืดหยุ่นในผู้เรียนมากกว่า แต่ก็มิได้ปล่อยปละละเลย หรือให้ผู้เรียนกำหนดทุกอย่าง หรือแม้กระทั่งเวลาเอง หากแต่จะคอยกำหนดกรอบระยะเวลาการเรียนรู้ที่ชัดเจนให้แก่ผู้เรียนอย่างยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับลักษณะ และระดับความถนัดที่เขากำลังศึกษา
ความเข้าใจผิดที่ 2: ?ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ เนื้อหา (Content) ไม่สำคัญ?
ถึงแม้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะ จะมักถูกนิยามว่ามุ่งเน้นพัฒนาความถนัดหรือทักษะประยุกต์ใช้ (Skills) มากกว่าการท่องจำเนื้อหาการเรียนในแบบเดิม ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ เนื้อหา (Content) จะไม่สำคัญ กลับกัน เนื้อหาในการเรียนการสอนฐานสมรรถนะยังคงสำคัญ หากแต่เพียงเป็นเนื้อหาในขอบเขต และแขนงที่ลึกและชัดเจนมากกว่าเดิม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นคว้าและศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างลึกซึ้ง มิใช่การพยายามจดจำและเก็บเอา ?ทุก? เนื้อหาอย่างในรูปแบบหลักสูตรอย่างเดิม ๆ
ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ สิ่งที่สำคัญน้อยกว่าทักษะจึงมิใช่เนื้อหาเสียทีเดียว หากแต่เป็นลักษณะการเรียนที่บังคับให้เด็กต้องเรียนทุกเนื้อหาโดยที่ไม่จำเป็น หรือโดยที่ไม่ได้สอดคล้องกับความถนัด หรือความชอบของเขาอย่างแท้จริง
ความเข้าใจผิดที่ 3: ?ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ การเรียนการสอนเข้มข้นน้อยกว่ารูปแบบดั้งเดิม
ด้วยลักษณะการเรียนการสอนที่ละจากการพยายามจดจำเนื้อหา ในขอบเขตที่กว้างและมากของหลักสูตรฐานสมรรถนะ หลายคนจึงมักคิดว่าการเรียนการสอนฐาน สมรรถนะเป็นการเรียนการสอนที่เข้มข้นน้อยกว่าแบบดั้งเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะมีความเข้มข้นในแง่ของระดับการทำความเข้าใจและเรียนรู้มากกว่าในรูปแบบดั้งเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะถือเป็นการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกเป็นหลัก เพียงแค่มิใช่การเข้าใจ ?ทุก? เนื้อหาหรือความถนัด หากแต่เป็นเพียงเฉพาะความถนัดที่สอดคล้องกับความชื่นชอบของผู้เรียน
ความเข้าใจผิดที่ 4: ?หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีลักษณะจำกัดและขอบเขตแคบ?
สำหรับใครหลายคน หลักสูตรฐานสมรรถนะอาจดูเป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะจำกัดและขอบเขตแคบ ผู้เรียนศึกษาและสนใจเพียงแค่แขนงใดแขนงเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้องอย่าลืมว่าแก่น หรือหัวใจหลักของผลลัพธ์ของหลักสูตรฐานสมรรถนะมิใช่การเก็บเกี่ยวเพียงแต่ ?ความรู้? (knowledge) หากแต่เป็นการบ่มเพาะ และพัฒนา ?ทักษะในการประยุกต์? ใช้ความถนัดดังกล่าวทั้งในชีวิตประจำวัน, การศึกษาต่อและการทำงานในอนาคต ซึ่งสามารถแตะถึงแขนงอื่น ๆ อย่างครอบคลุมในสถานการณ์จริง และในการเรียนการสอน หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำกิจกรรมและโปรเจคได้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นอิสระกว่าในรูปแบบเดิมอย่างมาก
ความเข้าใจผิดที่ 5: ?หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะ?
หลักสูตรฐานสมรรถนะเน้นการพัฒนา ?ทักษะ? แต่อย่างที่กล่าวในข้อที่ 5 ว่า หัวใจหลักของหลักสูตรมิใช่แค่เพียงทักษะ หากแต่คือ การประยุกต์ใช้ทักษะดังกล่าวในสถานการณ์จริงหรือชีวิตประจำวัน เป้าหมายของครูผู้สอนมิใช่แค่การยัดทักษะใส่มือของผู้เรียน หากแต่เป็นการสอนให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะดังกล่าวมาต่อยอด พัฒนาต่อ หรือดัดแปลงให้กลายเป็นสิ่งใหม่อย่างที่เขาเห็นว่าสมควร
ความเข้าใจผิดที่ 6: ?การเรียนการสอนแบบสมรรถนะยากเกินกว่าที่จะนำมาใช้กับผู้เรียนในวัยเด็ก เช่น ประถมศึกษาหรือแม้กระทั่งมัธยมต้น
ถึงแม้ว่ามาตรฐานสมรรถนะจะมีลักษณะการเรียนการสอนเชิงลึก มุ่งเน้นพัฒนาชุดความรู้ และทักษะในแขนงใดแขนงหนึ่งอย่างเข้มข้น อันเป็นผลพวงมาจากรากฐานของระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสถาบัน หรือครูผู้สอนจะไม่สามารถนำมาปรับใช้กับเด็กเล็ก หรือในระดับที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาได้ หัวใจสำคัญของการปฏิวัติอยู่ที่การออกแบบหลักสูตรที่มอบเวลาการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างเหมาะสม อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากเมื่อเปลี่ยนระดับชั้น นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ยังรวมถึงการที่ครูผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตัวเด็ก เชื่อว่าเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้หากหัวใจของเขาปรารถนา ชื่นชอบ และมีความพยายามมากพอ
เกี่ยวกับ Starfish Labz
Starfish Labz คือ แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์แห่งแรกของประเทศไทย คอร์สออนไลน์สำหรับนักการศึกษาและผู้ปกครอง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สามารถเข้ามาเสาะหาความรู้และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ จากคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ และวีดิโอที่ถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์จากทั่วประเทศ รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการศึกษาแนวใหม่ รวมถึงการพัฒนาการเด็กจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครอง และสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ เปิดให้เข้าถึงฟรีโดยปราศจากค่าใช้จ่าย ทุกที่ทุกเวลา และบนทุกแพล็ตฟอร์ม
ที่มา
https://medium.com/@ejhudson/four-myths-about-competency-based-learning-c6f51ac5a8f5
https://encoura.org/myths-misconceptions-competency-based-education/
ที่มาบทความ
https://www.starfishlabz.com/blog
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?