เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องจับตา
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องจับตา (อ่าน 2127 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องจับตา
เมื่อ:
มกราคม 21, 2023, 06:15:39 PM
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร? 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่สถาบันต้องจับตาในปี 2023
โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับเราทุกคนในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงาน หรือการใช้ชีวิต และแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลงหรือหมดไป แต่ผลกระทบจาก
สถานการณ์ดังกล่าวนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นที่เราจะต้องตามให้ทันอยู่เสมอ และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมัน เพื่อรับมือและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
แน่นอน เทคโนโลยีการศึกษา ก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่เป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อโควิด-19 กระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ก็ทำให้เด็กบางคนไม่สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีการศึกษา ได้ นอกจากนี้ ผลพวงของโรคโควิด-19 ไม่ได้มีเพียงแค่ Learning Loss ในแง่ของการเรียนรู้ แต่ยังรวมถึงผลกระทบต่อสภาวะจิตใจและการเข้าสังคมของเด็กหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ โดยวันนี้เราจะพาทุกคนมาดู 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา ที่สถาบันต้องจับตาในปี 2023 กันค่ะ
1.การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องด้วยการเปลี่ยนไปใช้การเรียนรู้ทางไกล ทำให้นักเรียนต้องเรียนและทำงานส่ง อยู่ในพื้นที่จำกัดของตนเอง โดยเป็นการเรียนที่ผู้สอนและผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมชั้นเรียนในเวลาเดียวกันเสมอไป เนื่องจากมี เทคโนโลยีการศึกษา ที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและเป็นที่นิยมมาก สำหรับการเรียนอยู่ที่บ้าน โดยช่วยให้นักเรียนมีอิสระ และความยืดหยุ่นที่จะเรียนรู้มากขึ้นด้วย
ผลกระทบที่สำคัญที่สุดของ เทคโนโลยีการศึกษา คือการสร้างแนวทางการเรียนรู้ ด้วยตัวเอง นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อครูผู้สอนมากขึ้น ซึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา สามารถใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อติดตามปัญหาและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งการมีข้อมูลจำนวน มาก ๆ จะสามารถช่วยให้นักเรียนพัฒนาแบบองค์รวมได้ทั่วโลกมีความต้องการเครื่องมือ ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ด้วยวิธีที่ยืดหยุ่นและทำงานร่วมกัน บริษัท EdTech ทั้งหลายจะต้องนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจแก่นักเรียน ที่แสดงผลการเรียนรู้ไปในทิศทางที่ดี เมื่อนักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากขึ้น พวกเขาจะมีส่วนร่วมมากขึ้น และจะเกิดความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของพวกเขามากขึ้นเอง
2.ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการเข้าถึง
แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล จะต้องมีเครื่องมือและเนื้อหาที่จะช่วยให้นักเรียน ทุกชั้นเรียนในทุกชนชั้นทางสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ นักเรียนที่มีฐานะที่ยากจนก็ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเรียนทางไกลได้ หากปัญหาทางความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี้ไม่ได้ถูกแก้ ก็จะยิ่งทำให้ความไม่เท่าเทียมนี้ มีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ
ยิ่งไปกว่านั้น การปิดโรงเรียนทั่วประเทศซ้ำแล้วซ้ำเล่า และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดสำหรับนักเรียน ครอบครัว และคุณครู ชะลอความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้านการศึกษาเป็นเวลาหลายปี แพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบออฟไลน์จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ ในแง่ทางสังคม คนรุ่นใหม่ก็ได้มีการลงทุนในประเด็นเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค การเข้าถึง และการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แพลตฟอร์ม EdTech จึงควรให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
3.การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์
นอกเหนือจาก Learning loss ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว อีกสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การดูแลสภาพจิตใจของนักเรียน นักเรียนบางคนต้องสูญเสียคนในครอบครัวหรือบุคคลอันเป็นที่รักได้ ดังนั้น การสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ของนักเรียนก็เหมือนเป็นการสนับสนุนความแข็งแรงทางจิตใจของนักเรียน ให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตและเรียนรู้ต่อไปได้ในสถานการณ์ที่อาจไม่เหมือนเดิม ขณะที่มีความเครียดเพิ่มขึ้น ในด้านอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก นอกเนื้อหาที่มีหลายภาษาสามารถทำให้นักเรียนที่มาจากวัฒนธรรมและอารมณ์ที่แตกต่างกันรู้สึกมีค่าขึ้นได้ เพราะมันสามารถสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของความหลากหลาย ทักษะด้านอารมณ์ เช่น การสื่อสาร การฟัง การแก้ปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ดังนั้น การประเมินและหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ จึงจำเป็นสำหรับโรงเรียน สถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ และครูผู้สอน
4.การใช้ AI เพิ่มขึ้นในการเรียนรู้
ต่อมาเป็นแนวโน้มในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเรียนรู้แบบปัจเจกและการเรียนรู้แบบโต้ตอบมากขึ้น ความก้าวหน้าของ AI จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกแพลตฟอร์ม เช่น การนำ AI มาใช้วิเคราะห์การเรียนรู้และให้คำแนะนำผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ให้สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม สำหรับนักเรียนแต่ละคน หรือโปรแกรมพูดคุยอัตโนมัติ (Chatbot) ที่ช่วยตอบข้อสงสัยในการเรียนการสอน เมื่อนักเรียนมีคำถาม เป็นต้น จะเห็นได้ว่า AI มีประโยชน์ในการช่วยจัดการการเรียนการสอนของนักเรียน และคุณครูให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.เน้นหลักการสอนที่ดี
แนวโน้มสุดท้ายจะกล่าวถึงหัวใจสำคัญในการเรียนการสอน แม้เทคโนโลยีจะเข้ามาเสริมการเรียนรู้นอกเหนือจากเนื้อหาแล้ว การใช้เทคโนโลยีเองก็ต้องเน้นเรื่องการปรับปรุงหลัก ในการการสอนที่ดี เพราะผู้สอนก็ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเสมอ ที่จะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนอย่างแท้จริง นอกเหนือจากแกนหลักนั้นแล้ว สื่อการเรียนการสอนคุณภาพสูง และเครื่องมือเทคโนโลยี เช่น วิดีโอ ไฟล์เสียง eBook นักแปล และการประเมินผลก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผลการเรียนรู้ในเชิงบวก โดยบริษัท EdTech เองก็ต้องมีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่องมือในการสอนให้ใช้งานง่าย เพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้และครอบคลุม
ทั้งหมดนี้ก็เป็น แนวโน้ม การศึกษาไทยในยุคดิจิทัล ทั้ง 5 แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในยุคหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ที่สถาบันทางการศึกษาควรจับตามอง เพื่อปรับตัวให้เท่าทัน และนำประโยชน์จากแนวโน้มทั้งหลายนี้ไปประยุกต์ใช้ในวิธีการสอน เพื่อประโยชน์ทางความก้าวหน้าของระบบการศึกษา และตัวเด็ก ๆ เองที่จะเป็นอนาคตของพวกเราต่อไป
อ้างอิง
Future Trend แนวโน้มการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
EdTech Trends to Look Out for in 2023
ที่มา
https://www.starfishlabz.com
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องจับตา
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?