ผู้เขียน หัวข้อ: ทฤษฎีการคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six thinking hats)  (อ่าน 4172 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:09:38 AM
จากแนวคิดของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน (Dr. Edward de Bono) เจ้าของความคิดแบบคู่ขนาน (parallel thinking) โดยยึดหลักที่ว่า อย่าเอาความเห็นที่ขัดแย้งมาปะทะกัน ให้วางเรียงขนานกันไว้แล้วประเมินผลได้เสียอย่างเป็นระบบ

สาระสำคัญของการคิดแบบคู่ขนานคือ อาจจะมีบางเวลาที่ทุกๆคนกำลังมองไปในทิศทางเดียวกัน แต่เราก็เปลี่ยนทิศทางนั้นได้ คนๆหนึ่งอาจจะถูกมองไปในทางเหนือ หรือมองไปทางทิศตะวันออก นั่นเป็นชื่อของทิศทางตามมาตรฐานเท่านั้น เราจำเป็นต้องมีชื่อทิศทางในการคิด ในหลายๆวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นมากระหว่างการคิด และ ?หมวกคิด? คุณค่าของหมวกในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในการคิดนี้ก็คือ มันกำหนดบทบาทของผู้สวม ซึ่งหมวกทั้ง 6 ใบ 6 ส ีจะเกี่ยวเนื่องกับการคิดได้แก่ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียว และสีฟ้า

หนึ่งครั้งหนึ่งเรื่อง

ความสับสนเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของการคิดที่ดี เราพยายามทำหลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไปในเวลาเดียวกัน เรามองหาข้อมูล เราได้รับผลกระทบจากความรู้สึกของเรา เราแสวงหาความคิดใหม่ๆและทางเลือกใหม่ แล้วเรายังต้องระมัดระวัง เราอาจเห็นประโยชน์ที่อาจมีอยู่ นั่นคือหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องทำระหว่างการคิด การโยนรับสับเปลี่ยนหกลูกในเวลาเดียวกันเป็นเรื่องยาก ลูกเดียวต่อครั้งง่ายกว่ามากด้วยวิธีการคิดแบบหมวกนี้ เราพยายามทำเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นในแต่ละครั้ง ครั้งหนึ่งเราอาจจะมองหาอันตรายที่อาจมีอยู่(หมวกดำ)อีกครั้งหนึ่งเราแสวงหาความคิดใหม่ๆ(หมวกเขียว) และอีกบางครั้งที่เราสนใจข้อมูล(หมวกขาว)เราจะไม่พยายามทำทุกย่างในเวลาเดียวกัน เวลาเราทำงานพิมพ์สี สีแต่ละสีจะพิมพ์แยกกันทีละครั้ง ทีละสีและสุดท้ายเราก็ได้รับงานผลรวมเป็นงานพิมพ์สีที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับความคิดแบบหมวกทั้งหก เราทำแต่ละเรื่องในแต่ละครั้ง และสุดท้ายภาพที่เต็มสมบูรณ์ก็จะปรากฏภายใต้เรื่องราวทั้งหมดนี้คือความจำเป็นทางจิตวิทยาที่ต้องแยกความคิดแต่ละแบบออกจากกัน

หมวกหกใบหกสี
แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วย

สีขาว สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า หมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ



หมวกขาว
หมวกขาวเกี่ยวข้องกับข้อมูล เมื่อหมวกขาวถูกนำมาใช้ทุกคนมุ่งสนใจที่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว

อะไรคือข้อมูลที่เรามี?
อะไรคือข้อมูลที่จำเป็น?
อะไรคือข้อมูลที่ขาดหายไป?
อะไรคือปัญหาที่เราต้องยกขึ้นมาถาม?
เราจะหาข้อมูลที่ต้องการใช้ มาได้อย่างไร?

เรามักใช้หมวกขาวในตอนเริ่มต้นของกระบวนการประชุม เพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น หมวกขาวคือสภาวะที่เป็นกลางหมวกขาวรายงานถึงสิ่งต่างๆในโลก ถึงแม้จะยอมให้ใช้เพื่อรายงานถึงความคิดที่ถูกนำมาใช้ หรือได้รับคำแนะนำมาก็ตามส่วนที่สำคัญของหมวกขาวคือการระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นที่ขาดหายไป หมวกขาวจะบอกถึงปัญหาที่ควรจะยกขึ้นมาถาม หมวกจะแสดงวิธีการ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นพลังงานหมวกขาวมุ่งไปสู่การเสาะหาและตีแผ่ข้อมูลอย่างเป็นกลาง และไม่มีอคติ ไม่ต้องตีความ ขอแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น อะไรคือข้อเท็จจริงต่างๆของเรื่องนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกข้อมูลทับตายบุคคลที่ใช้ความคิดโดยหมวกขาวจะสามารถระบุความต้องการให้แคบลง เพื่อจะดึงแต่ข้อมูลที่จำเป็นออกมาหมวกขาวจะให้แนวทางในการจัดการกับข้อมูล เราสามารถจะสวมบทบาทของหมวกขาวเท่าที่ต้องการ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แท้จริง เห็นได้ชัดว่าการสวมบทบาทของหมวกขาวต้องอาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญ ซึ่งบางทีอาจมากกว่าหมวกใบอื่นๆเสียด้วยซ้ำจุดมุ่งหมายของการคิดแบบหมวกขาวคือเพื่อให้ใช้ได้ในทางปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเราต้องสามารถนำข้อมูลทุกรูปแบบมาตีแผ่ได้ ประเด็นสำคัญคือต้องตีกรอบขอบเขตอย่างเหมาะสม

หมวกแดง
การใช้หมวกแดงจะทำให้ทุกคนมีโอกาสเปิดเผยความรู้สึก อารมณ์ สัญชาติญาณหยั่งรู้ออกมาโดยไม่ต้องมีคำอธิบาย หรือหาเหตุผลใดๆ เมือใส่หมวกแดง ความรู้สึกจะถูกเปิดเผยออกมาในหลายระดับ การแสดงอารมณ์มีแบบอย่างที่หลากหลายตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเราไม่จำเป็นต้องอธิบายหรือหาเหตุผลให้ความรู้สึกต่างๆของเรา เราเพียงแค่แสดงความรู้สึกที่มีอยู่ในขณะนั้นออกมาเท่านั้นเอง หมวกแดงจะมีประโยชน์ถ้าเราใส่หมวกแดงกันตั้งแต่เริ่มต้นประชุมเพื่อประเมินความรู้สึกของทุกคน แล้ใส่หมวกสีแดงอีกครั้งหนึ่ง ตอบจะปิดประชุมเพื่อจะดูว่าความรู้สึกของคุณได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ เวลาใส่หมวกแดงกับเรื่องอะไรเราจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนั้นๆให้ชัดเจนด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดความสับสนได้ ถ้าจำเป็นประธานในที่ประชุมอาจนำเสนอความคิดหนึ่งกระจายออกไปในหลายแง่มุม หมวกสีแดงยังหมายรวมถึงความรู้สึกเชิงปัญญา (intellectual feeling) ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เลย หมวกแดงทำหน้างานบนพื้นฐานของปัจเจกบุคคลเสมอ ทุกคนที่อยู่ในที่ประชุมจะถูกขอให้แสดงความคิดหมวกแดงในประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยที่แต่ละคนไม่มีสิทธิ์บอกผ่าน เวลาถูกขอให้แสดงความรู้สึกของตน แต่อาจใช้คำพูดในทำนองว่า เป็นกลาง ยังตัดสินไม่ได้ ยังสับสนอยู่ ยังสงสัยอยู่ เจตนารมณ์ของหมวกสีแดงคือการแสดงความรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ออกมา ไม่ใช่การบีบให้ตัดสินใจการคิดแบบหมวกแดงเป็นการคิดแบบใช้อารมณ์และความรู้สึกไม่ต้องมีเหตุผลเข้ามาเกี่ยวโยง หมวกสีแดงจะเปิดช่องทางที่เป็นทางการและชัดเจน เพื่อตีแผ่สิ่งเหล่านี้ออกมาอย่างเต็มที่ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกต้องของแผนที่ทางความคิดทั้งหมดถ้าเราไม่ป้อนข้อมูลส่วนที่เป็นอารมณ์ และความรู้สึกเข้าไปในกระบวนการทางความคิด มันจะถูกซ่อนอยู่ข้างใน และจะส่งผลต่อความคิดทั้งหลายโดยไม่รู้ตัว อารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์ และสัญชาติญาณ มีความแรงกล้าในตัวของมันเอง และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงหมวกสีแดงจะกระตุ้นให้มีการค้นหา คือ : เรื่องนี้มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง?ความจำเป็นอย่างมากที่ต้องใส่หมวกสีแดง ก็เพราะมันจะช่วยลดการทะเลาะวิวาท เพราะหมวกสีแดงจะเปิดโอกาสที่ชัดเจนสำหรับแสดงอารมณ์ควมรู้สึกจึงไม่มีความจำเป็นที่เราเข้ามาขัดจังหวะในทุกๆประเด็น และใครรู้สึกว่าจำเป็นต้องแสดงอารมณ์เขาก็จะมีโอกาสแสดงอารมณ์ของเขา และไม่จำเป็นต้องคาดเดาความรู้สึกของคนอื่นอีกต่อไป เพราะมีวิธีที่จะถามเขาตรงๆได้ อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดและเรื่องที่ต้องคิด ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะหวังให้อารมณ์หายไป เพื่อเหลือไว้แต่ความคิดล้วนๆ

หมวกดำ
หมวกดำ เป็นรากฐานของการคิด พินิจพิเคราะห์ และระบบการคิดที่มีเหตุผล รากฐานการคิดโต้แย้งด้วยเหตุผล คือการที่เราสามารถชี้ออกมาได้ว่าสิ่งใดผิดปกติหรือไม่แน่นอนคงที่ ผิดไปจากที่เป็นเคยเป็นหมวกดำจะช่วยเราในการแยกแยะได้ว่าสิ่งใดไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับทรัพยากร นโยบาย กลยุทธ จริยธรรม ค่านิยม รวมทั้งเรื่องอื่นๆของเราหมวกดำทำงานโดยอิงอยู่กับกลไกทางจิตอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ นั่นคือ กลไกการจับคู่ กล่าวคือ สมองของเราเรียนรู้ที่จะสร้างแบบแผนการคิดและคาดหวังต่างๆขึ้นตามประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เรารับรู้ว่าโลกเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เมื่อเราพบว่าบางสิ่งบางอย่างไม่สอดคล้องหรือเข้าคู่กับแบบแผนความคิดที่มีอยู่เดิม เราจึงคิดว่าสิ่งนั้นผิดปกติ ทำให้เราไม่สบายใจและระวังตัว กลไกธรรมชาตินี้เป็นไปเพื่อปกป้องมิให้เราทำผิดพลาด ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคนที่มีความระแวดระวังจนเป็นนิสัย ก็สามารถใช้วิธีการของหมวกคิดทั้ง 6 ใบเป็นอย่างดี วิธีการคิดแบบหมวกสีดำทำให้พวกเขาพัฒนาการใช้ความคิดอย่างรอบคอบ ระมัดระวังจนเต็มศักยภาพ แต่เมื่อเหตุการณ์มาถึง พวกก็สามารถหันเหจากความคิดแบบปกป้องตัวเอง ไปสู่การคิดแบบหมวกอื่นๆได้อย่างไม่มีปัญหา หมวกสีดำเป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำชี้ให้เราเห็นความผิดปกติ สิ่งใดไม่สอดคล้อง สิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราไม่ให้เสียเงินและพลังงาน ป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา และผิดกฎหมายหมวกดำเป็นหมวกคิดที่มีเหตุผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์ วิจารณ์ พินิจพิเคราะห์สิ่งใด จะต้องเป็นการคิดที่มีเหตุมีผลรองรับ การคิดแบบหมวกดำเป็นการชี้ข้อบกพร่องของกระบวนการคิด พยานหลักฐานมีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ สรุปได้หรือไม่ ข้อสรุปนี้เป็นเพียงข้อสรุปเดียวหรือเปล่า หมวกสีดำจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของกระบวนการคิดได้การใช้หมวกดำเราต้องระวังไม่ให้มันนำเรากลับไปสู่ข้อโต้แย้งแบบเดิมๆ แม้ว่าบางครั้งมันจะเชิญชวนให้เราหลงประเด็นกลับไปเป็นเช่นนั้นได้ง่ายๆ เราอาจใช้มันช่วยชี้ข้อผิดพลาดในกระบวนการคิด หรือช่วยตีแผ่แจกแจงความคิดและมุมมองต่างๆ แบบการคิดคู่ขนานได้ แต่ในที่สุดแล้ว เราก็ต้องวาดแผนที่ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ปัญหา อุปสรรค ความยุ่งยาก และอันตรายที่เป็นไปได้คืออะไร อยู่ตรงไหน เหล่านี้ล้วนแจกแจง อธิบาย และทำให้กระจ่างได้

หมวกสีเหลือง
การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการคิดในเชิงบวก การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ประโยชน์ การคิดก่อที่ให้เกิดผล หรือทำในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ การคิดแบบหมวกเหลืองเกี่ยวข้องกับการประเมินค่าทางบวก ขณะที่หมวกดำเป็นการประเมินค่าทางลบ การคิดแบบหมวกเหลืองจะเป็นความคิดด้านดี แต่การคิดแบบนี้ต้องอาศัยระเบียบ วินัย เหมือนหมวกสีขาวหรือสีดำเช่นกัน มันไม่ใช่เป็นการประเมินบางสิ่งบางอย่างในทางบวกเท่านั้น แต่เป็นการค้นหาด้านที่เป็นบวกอย่างตั้งใจ บางทีการค้นหานี้ก็ล้มเหลวนักคิดหมวกเหลืองควรพยายามหาสิ่งสนับสนุนการมองในแง่ดีที่เสนอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ความพยายามนี้ควรใช้เหตุผลผิดชอบและละเอียดถี่ถ้วน แต่การคิดแบบหมวกเหลืองไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่เพียงการที่ข้อคิดเห็นเหล่านั้นสามารถอ้างเหตุผลสนับสนุนได้เต็มที่การคิดแบบหมวกเหลืองเน้นไปที่การสำรวจและการคาดการณ์ในทางบวก เราตั้งใจหาประโยชน์ที่เป็นไปได้ แต่เราก็หาเหตุผลมาสนับสนุน การหาเหตุผลนี้เป็นความพยายามที่จะทำให้ข้อเสนอแนะมีน้ำหนักขึ้น หากการสนับสนุนด้วยเหตุผลนี้ไม่มีอยู่ในการคิดแบบหมวกสีเหลือง มันก็จะไม่มีอยู่ในหมวกคิดสีอื่นๆการคิดแบบหมวกเหลือง เกี่ยวกับการคิดในเชิงโต้ตอบ (Reactive Thinking) เป็นการประเมินในด้านบวก ซึ่งเป็นเหมือนกับการประเมินในด้านลบของหมวกดำ นักคิดหมวกสีเหลืองเลือกแง่บวกของข้อคิดเห็น เหมือนกับนักคิดหมวกสีดำหยิบยกแง่ลบ การคิดแบบหมวกเหลืองจะเกี่ยวข้องกับการผลิตข้อเสนอนั้นๆการคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการพิจารณาและการเสนอแนะ มันเป็นท่าทีของการเดินหน้าแก้ปัญหาด้วยความหวัง การคิดแบบหมวกสีเหลืองพยายามจะมองหาและคว้าประโยชน์หรือคุณค่าที่มองเห็นได้ ทันทีที่มีการมองแบบนี้ การสำรวจก็จะเริ่มต้นไปในทิศทางนั้นๆการคาดการณ์ของการคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการคิดแบบหาโอกาสของความเป็นไปได้ล้วนๆ มันเป็นมากกว่าการแก้ปัญหาและการปรับปรุง คนถูกบังคบให้แก้ปัญหา แต่ไม่มีใครเคยถูกบังคับให้มองหาโอกาสอย่างไรก็ตามทุกคนที่มีอิสระที่มองหาโอกาสถ้าพวกเขาต้องการ การคิดแบบคาดการณ์ต้องเริ่มต้นที่การวาดภาพสถานการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ด้วยวิธีนี้เราสามารถประเมินผลประโยชน์สูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้จากความคิดนั้น ถ้าสถานการณ์ที่ดีที่สุด กลับให้ประโยชน์ต่ำความคิดนั้นก็ไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินต่อ ในมุมมองเชิงคาดการณ์ การคิดแบบหมวกสีเหลืองจะช่วยให้นึกภาพของสถานการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และผลประโยชน์ที่สูงสุดหลังจากนั้นก็ปรับลงตาม ?ความน่าจะเป็น? ในที่สุดการคิดแบบหมวกดำก็จะชี้จุดที่ยังน่าสงสัยอยู่การคิดแบหมวกเหลืองเกี่ยวข้องอย่างมากกับการทำให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้น หมวกเหลืองอาจเกี่ยวกับการนำความคิดหนึ่งที่เคยถูกใช้มาแล้ว กลับมาใช้งานใหม่ การคิดแบบเหลืองอาจเกี่ยวกับการผลิตทางเลือกในการแก้ไขปัญหา การคิดแบบหมวกเหลืองอาจทำได้แม้กระทั่งสร้างโอกาส แต่การคิดแบบหมวกเหลืองนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนความคิดและมุมมอง นั่นเป็นเรื่องของการคิดแบบหมวกเขียว การออกมองหาบางสิ่งบางอย่างในด้านบวก ในตัวของมันเองอาจจะสร้างมุมมองใหม่ขึ้นมาและนั่นอาจเกิดขึ้นได้กับการคิดแบบหมวกเหลือง
ขณะที่การคิดแบบหมวกสีดำสามารถชี้จุดบกพร่องและปล่อยให้หมวกเขียวแก้ใขในจุดที่บกพร่องนั้น การคิดแบบหมวกเหลืองก็จะหาโอกาสและปล่อยให้การคิดแบบหมวกเขียวหาทางออกใหม่ๆในการใช้ประโยชน์ในโอกาสนั้น

หมวกเขียว
เมื่อเราสวมหมวกสีเขียวเราคิดถึงทางเลือกใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ที่ทดแทนของเก่าได้ ซึ่งนั่นรวมถึงทางเลือกที่ชัดเจนและใหม่สดจริงๆ เมื่อเราสวมหมวกสีเขียว เราหาวิธีที่จะปรับเปลี่ยนและปรับปรุงความคิดใหม่ที่เสนอมาข้อดีของหมวกเขียว คือ ทุกคนมีช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดให้พยายามทุ่มสมองใช้ความคิดริเริ่ม ความคิดริเริ่มไม่ได้เป็นเรื่องของ?นักออกความคิด? อย่างเดียวอีกต่อไป หมวกสีเขียวหมายถึงความคิดสร้างสรรค์ทั้งแบบ?ไม่มีกรอบ? และ ?ในกรอบ?หมวกเขียวจะเกี่ยวข้องกับความคิดใหม่ๆและวิธีการใหม่ๆในการมองสิ่งต่างๆดั้งนั้นหมวกสีเขียวจึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การคิดแบบหมวกเขียวเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแทนที่จะตัดสินใจความคิดเชิงยั่วยุและความเคลื่อนไหวทางความคิดนั้นจะไปด้วยกัน ถ้าไม่มีวิธีคิดแบบเคลื่อนไหว เราก็ไม่สามารถจะใช้ความคิดเชิงยั่วยุได้ และถ้าเราใช้ความคิดเชิงยั่วยุมากระตุ้นไม่ได้ เราก็ยังคงติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆการคิดแบบหมวกเขียว ความจำเป็นของการยั่วยุ แรงกระตุ้นหรือความยั่วยุ เกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ เราไม่สามารถพบความจริงเชิงยั่วยุได้ก็เพราะมันไม่อยู่ในระบบความคิดปัจจุบันเลย บทบาทของมันก็เพื่อกระตุ้นความคิด ให้หลุดออกจากกรอบความคิดที่เป็นอยู่ความคิดเรื่องทางเลือกแสดงให้เห็นว่ามีมากกว่าหนึ่งวิธี ที่จะทำอะไร หรือมองอะไรการรับรู้ว่าอาจจะมีทางเลือกอื่น และการแสวงหาทางเลือกนั้นเป็นพื้นฐานของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการใช้แนวคิดนอกกรอบนั้น ก็เพื่อมุ่งหาทางออกใหม่ๆนั่นเองความตั้งใจจะหาทางเลือกใหม่ (ทั้งการรับรู้ใหม่ คำอธิบายใหม่ การกระทำใหม่ ) เป็นกุญแจสำคัญของหมวกความคิดสีเขียวการค้นหาทางเลือกใหม่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่สร้างสรรค์ นั่นคือการยอมรับว่ามีหนทางที่แตกต่างออกไป การค้นหาทางเลือกในความเป็นจริงนั้นอาจไม่ต้องการความคิดสร้างสรรค์พิเศษอะไร จนกว่าทางเลือกที่ชัดเจนปรากฏขึ้นมา อาจทำง่ายๆแค่มุ่งความสนใจไปที่เรื่องที่เราจะคิด และนึกถึงวิธีต่างๆที่เราจัดการมันในทางปฏิบัตินั้นจะสะดวกกว่าถ้าใช้หมวกคิดสีเขียวในกระบวนการการค้นหาทางเลือกในการฝึกอบรมทางธุรกิจ เขามักจะเน้นเรื่องการตัดสินใจ แต่คุณภาพของการตัดสินใจขึ้นอยู่กับทางเลือกที่เปิดให้กับผู้ตัดสินใจเป็นอย่างมากกระบวนการสวมหมวกคิดสีเขียวส่งเสริมให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้รับการยอมรับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการคิดเหมือนด้านอื่นๆ

หมวกฟ้า
ภายใต้หมวกสีฟ้าในตอนเริ่ม เราจะเริ่มกำหนดประเด็นในการคิดและกำหนดลำดับการใช้หมวกแต่ละใบขึ้นมา หมวกสีฟ้าเป็นตัวกำหนด ?กลยุทธ? ในการคิด ในระหว่างขั้นตอนการคิด หมวกสีฟ้าจะรักษากฎ ระเบียบ และทำให้แน่ใจได้ว่าผู้เข้าประชุมยังสวมหมวกใบที่ตรงกับวาระการคิดนั้นๆ และหมวกสีฟ้ายังประกาศด้วยว่าได้เวลาเปลี่ยนหมวกต่างๆแล้วผู้ที่สวมหมวกสีฟ้าคือผู้ดำเนินการประชุมประธานการประชุม ในช่วงสุดท้ายของการคิด หมวกสีฟ้าจะร้องขอผลลัพธ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการสรุปย่อ ลงมติ การตัดสินใจ แนวทางแก้ไข และอื่นๆ ภายใต้หมวกคิดสีฟ้า เรากำหนดก้าวต่อไปได้ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนของการลงมือทำ หรือการนำเอาไปคิดต่อในบางประเด็น หมวกสีฟ้าจะเป็นสัญลักษณ์ของการควบคุมสถานการณ์โดยรวมบ่อยครั้งที่การคิดมักดำเนินไปอย่างล่องลอย เรื่อยเปื่อย เป็นเพียงการตอบโต้ต่อความคิดที่เสนอขึ้นมา จากช่วงหนึ่งไปสู่อีกช่วงหนึ่งถึงแม้ว่าทุกคนจะมีเป้าหมายในใจ แต่ก็ไม่มีการชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเป็นเป้าหมายหลัก หรือเป้าหมายรอง ข้อเสนอแนะ คำตัดสิน ข้อวิจารณ์ การโต้แย้ง ข้อมูล อารมณ์ ต่างก็ผสมเข้าด้วยกันเหมือนกับอยู่ในหม้อตุ๋นความคิด เป็นความปนเป ยุ่งเหยิงไปเรื่อยๆจนกว่านักคิดคนหนึ่ง จะสะดุดเข้ากับแนวทางที่เคยลองแล้วว่า น่าจะได้ผลตามต้องการ มันเป็นการสำรวจแบบส่งเดชไร้จุดหมาย ที่มาจากการวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบเป็นหลัก ข้อสันนิษฐานที่เป็นที่เป็นไปได้คือ เรามักเชื่อกันว่า ผู้คนที่ฉลาดมีเหตุผลที่ได้รับข้อมูลแวดล้อมอย่างเพียงพอ เมื่อได้ร่วมหารือกัน พวกเขาก็จะบอกได้ว่า ทางเลือกต่างๆมีอะไรบ้าง จากนั้นก็เลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดข้อสันนิษฐานอีกอย่างก็คือว่า การคิดจะถูกหล่อหลอมขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและเงื่อนไขในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คำตอบ ?ค่อยๆเผยตัว?ขึ้นมาและนอกจากการกลั่นกรองอย่างหมดจดโดยการวิพากษ์วิจารณ์เทียบได้กับทฤษฏีวิวัฒนาการตามหลักของดาร์วิน ที่พูดถึงการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งที่สุด ในการคิดก็เช่นกัน ความคิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ ส่วนความกดดันอันโหดร้ายของสภาพแวดล้อมในทฤษฎีของดาร์วิน ก็เปรียบเหมือนแรงกดดันจากคำวิจารณ์ในด้านลบนั่นเองเราจะคิดแบบหมวกฟ้า เพื่อออกแบบโปรแกรมที่เราต้องการนำไปใช้ โปรแกรมการคิดจะมีความแตกต่างหลากหลายกันไป แล้วแต่สถานการณ์ หมวกสีฟ้าจะสร้างโปรแกรมที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์ โดยโปรแกรมการคิดนี้จะกำหนดไว้ตายตัวล่วงหน้า ซึ่งจริงๆแล้วการคิดส่วนใหญ่จะมีการผสมผสากันของหมวกดำและสีขาว โดยมีอารมณ์ความรู้สึกของหมวกแดงแฝงตัวอยู่เบื้องหลัง โปรแกรมหมวกสีฟ้าสามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนได้ โดยใครก็ได้ที่นำวาระการคิดในที่ประชุม หรือทุกคนที่ร่วมประชุมจะร่วมกันออกแบบได้ ภาระกิจของหมวกฟ้า จะต้องหาผลสรุปสุดท้าย การคิดแบบหมวกสีฟ้า จะเกี่ยวกับการควบคุม และติดตามสถานการณ์ บทบาทของหมวกฟ้าคือสรุปความคิดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่โต้แย้งเพื่อเข้าทางเลือกแบบใดแบบหนึ่ง

หมวก 6 ใบคิด 6 แบบ
แต่งโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
แปลโดย สุดตระการ ธนโกเศศ
พลอย จริยะเวช
ดวงพร มาจำเนียร
พินทุสร ติวุตานนท์
สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์