ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการสอนแบบอภิปราย (Debate)  (อ่าน 11768 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:24:41 AM

วิธีการสอนแบบอภิปราย  (Debate)

1.ความหมายของการสอนแบบอภิปราย

          การอภิปราย หมายถึง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพูดจาซักถามปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหาให้ผู้อื่นฟัง การเรียนการสอนในปัจจุบันได้นำเอาวิธีการสอนแบบอภิปรายมาใช้สอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักแก้ปัญหาแลรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน

          การใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการฝึกอบรมผู้เรียน ฉะนั้นควรจะต้องตระหนักถึงกระบวนการทั้งหมดของกาอภิปราย การเป็นผู้พูดที่ดี ผู้ฟังที่ดี และบทบาทที่แสดงต่อกันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่สังคมยอมรับ

2.ชนิดของการอภิปราย

        การอภิปรายมีหลายรูปแบบ ในการสอนผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการอภิปรายต่าง ๆ กันไป ตามความเหมาะสมกับหัวข้อและเนื้อเรื่อง การอภิปรายนอกจากให้ความรู้ความคิดแล้ว ยังทำให้

1) ผู้เรียนมีความรู้เรื่องรูปแบบของการอภิปราย
2) ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
3) ผู้เรียนสนุกสนานไม่เบื่อหน่าย
4) ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ได้

รูปแบบการอภิปรายมีหลายอย่าง เช่น

        2.1 การอภิปรายแบบแพนแนล (Pamel Discussion)
        การอภิปรายแบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มของผู้อภิปราย ประมาณ 2-6 คน มีผู้นำอภิปราย 1 คน  คนอื่น ๆ เป็นผู้ร่วมอภิปราย การจัดที่อภิปรายจะจัดให้ผู้อภิปรายหันหน้าไปทางผู้ฟัง จะจัดเป็นรูปครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแนวตรงก็ได้ ผู้นำการอภิปรายเป็นผู้กล่าวนำ กล่าวแนะนำผู้ร่วมอภิปราย หัวข้ออภิปราย เชิญผู้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นตามหัวข้อหรือประเด็นที่เสนอไว้เมื่อผู้ร่วมอภิปรายพูดอภิปรายหัวข้อต่างๆ หมดครบถ้วนทุกคนแล้วก็เปิดโอกาสให้ผู้ฟังการอภิปรายซักถามปัญหาต่าง ๆ โดยผู้นำการอภิปรายมอบให้ผู้ร่วมอภิปรายตอบปัญหาตามความเหมาะสม เมื่อเวลาสมควรก็ปิดการอภิปราย

        2.2 การอภิปรายแบบซิมโพเซียม (Symposlum)
        การอภิปรายแบบนี้ ประกอบด้วยผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 2-4 คน มีผู้นำการอภิปราย 1 คน ผู้ร่วมอภิปรายได้รับมอบหมายหัวข้อที่จะต้อพูด และจัดเตรียมมาล่วงหน้า ผู้ร่วมอภิปรายจึงพุดเฉพาะเรื่องที่ตนเตรียมมา ซึ่งมักเป็นหัวข้อที่จนเองมีความชำนาญหรือมีความรู้ดี ตอนท้ายให้ผู้ฟังซึกถามปัญหาเพิ่มเติมตามสมควร

        2.3 การอภิปรายแบบระดมสมอง (Brain storming)
        การอภิปรายแบบนี้จะใช้ได้ผลดีในการให้ผู้เรียนแก้ปัญหาร่วมกันเป็นการอภิปรายในประเด็นหัวข้อต่างๆ ผู้ร่วมกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
        การจัดกลุ่มอภิปรายแบบระดมสมอง แต่ละกลุ่มจึงควรมีผู้ร่วมอภิปรายไม่เกิน 12 คน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมอภิปรายได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และทั่วถึงมากในหัวข้อที่อภิปราย

        2.4 การอภิปรายแบบโต้วาที
        เป็นการอภิปรายที่ต้องใช้ความรู้ปฏิภาณ ไหวพริบในการแสดงความคิดเห็นแต่ความ  รู้ความคิดหลายๆ อย่างของผู้อภิปราย บางครั้งอาจไม่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความเป็นจริงมากนัก

      การอภิปรายแบบโต้วาที แบ่งผู้อภิปรายออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
         (1) ฝ่ายเสนอ      (2) ฝ่ายค้าน
      การจัดโต้วาทีประกอบด้วย
      ญัตติ คือ เรื่องที่อภิปรายโต้แย้งกัน
      ผู้โต้ ซึ่งมีทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน
      ประธาน เป็นผู้กล่าวนำญัตติ แนะนำผู้โต้วาทีทั้ง 2 ฝ่าย แนะนำ
ระเบียบข้อกำหนดต่างๆ กล่าวเชิญผู้โต้วาทแต่ละคนตามลำดับ สลับกันไป ระหว่างฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน และเป็นผู้ประกาศผลการตัดสิน
      กรรมการเป็นผู้พิจารณาผลการโต้วาที เพื่อเสนอประธานประกาศผลผู้เป็นกรรมการจึงต้องมีความรู้ ความคิดกว้างขวางในเรื่องที่อภิปรายโต้วาทีกัน

3. การสอนแบบประชุมศึกษา

        การสอนแบบประชุมศึกษา คือ การสอนแบบแลกเปลี่ยนความรู้แบะประสบการณ์โดยให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นกันเอง และกล้าแสดงความคิดเห็น มีการอภิปรายซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ซึ่งมีขั้นตอนการสอน ดังนี้

1)   แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มหนึ่ง ๆ ควรมีสมาชิกประมาณ 6-12 คนการแบ่งกลุ่มอาจกระทำได้ 2 ทาง คือ
        (1)   ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาแบ่งกลุ่มเองโดยมีจำนวนเท่าๆ กัน
        (2)   ให้ผู้เรียนเลือกเข้ากลุ่มจากปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ แต่จะต้องพยายามให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

2)   การกำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะมอบหมายให้แต่ละกลุ่มอาจกระทำได้ 2    ทางคือ
        (1)   ผู้สอนเป็นผู้กำหนดปัญหาหรือเรื่องขึ้นเอง แล้วมอบหมายให้กลุ่มไปพิจารณา
        (2)   ผู้เรียนร่วมกันเป้นผู้กำหนดปัญหาและผู้สอนร่วมกับผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกปัญหา

3)   กลุ่มแต่ละกลุ่มต้องกำหนดตัวประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม

4)   การพิจารณาปัญหาหรือเรื่อง
        (1)  การพิจารณาประเด็นซึ่งเป็นปัญหา หรือขัดแย้งในที่ประชุมจะต้องพิจารณาเป็นข้อๆ คือ
              ก)   สภาพและขอบเขตของปัญหา (What? When? Where?)
              ข)   สาเหตุแห่งปัญหา (Why?)
              ค)   ทางแก้ปัญหา (How?)
              ง)   ข้อเสนอแนะ
        การพิจารณาตามข้อ ก.ข.ค. และง.จะต้อกระทำอย่างละเอียดและกว้างขวางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ กรณีที่จำเป็นจะต้องค้นคว้าเอกสาร ตำรา หรือ สัมภาษณ์บุคคล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณา ประธานควรจะบอกและมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มดำเนินการ
        (2) การพิจารณาเรื่องหรือหัวข้อที่ไม่เป็นรูปปัญหา ผู้สอนควรจะเป็นผู้เตรียมโครงเรื่อง (Outline) ให้เหมะสมแล้ว แล้วมอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปดำเนินการ

5)ในขณะที่มีการประชุม กลุ่มผู้สอนควรเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือหรือข้อแนะนำแต่ละกลุ่มตลอดเวลา

6)  หลังจากพิจารณาเรื่องหรือปัญหาข้อขัดข้องเรียบร้อยแล้ว เลขานุการแต่ละกลุ่มจะต้องเตรียมเอกสารหรือรายงาน รวมทั้งเทคโนโลยี ที่จะประกอบการรายงานหน้าชั้น

7)  การรายงานให้แต่ละกลุ่มทยอยกันเสนอรายงาน โดยใช้เวลาเสนอรายงานกลุ่ม
ละประมาณ 10 ? 15 นาที แล้วเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้อภิปรายซักถาม

4.  การสอนแบบอภิปรายกลุ่ม

       การอภิปรายแบบกว้างๆ ได้ 2 ประเภท ถือการอภิปรายกลุ่มย่อยกับการอภิปรายกลุ่มใหญ่
       การอภิปรายกลุ่มย่อยจะทำให้ได้ผลดี เมื่อสมาชิกในกลุ่มประมาณ 5-6 คน หรือ
อย่างมาก ไม่ควรเกิน 12 คน ส่วนจะใช้วิธีการอภิปรายแบบไหนนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อเรื่อง และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

ขั้นตอนการสอนด้วยวิธีอภิปราย

1)   เรื่องที่จะอภิปราย
        (1)   ปัญหาที่เกิดจากการซักถามของผู้เรียน
        (2)   ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ เป็นปัญหาหรือประเด็นที่น่าสนใจควรค้นคว้านำมาอภิปรายร่วมกัน
        (3)   ปัญหาที่เกิดจากความบกพร่อง ผิดพลาด ที่ควรพิจารณาแก้ไขร่วมกัน
        (4)   ปัญหาของสังคม ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมและสื่อสารมวลชนทั่วไป
        (5)   ครูเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิด
        (6)   จัดประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนคิด เกิดปัญหาควรแก่การศึกษา
        (7)   กำหนดแบบฝึกหัด หรืองานให้ผู้เรียนทำ

2)   การเตรียมผู้ฟัง
        (1)   ผู้ฟังต้อเข้าใจประเด็น หรือปัญหาเรื่องที่อภิปราย
        (2)   ผู้ฟังต้องเข้าใจมรรยาทในการฟัง
        (3)   ผู้ฟังต้องเข้าใจมรรยาทในการพูด
        (4)   ผู้ฟังต้องรู้วิธีการสรุปประเด็น และจดบันทึก

3)   การเตรียมการอภิปราย
        (1)   จะพิจารณา ใช้กลุ่มอภิปรายแบบไหน เมื่อเป็นเรื่องที่ผู้เรียนทั้งชั้นจะต้องอภิปราย
ร่วมกัน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ทุกคนในใจร่วมกัน และทุกคนได้ค้นคว้ากันมาก็ควรใช้การอภิปรายกลุ่มใหญ่ แต่ถ้าเป็นเรื่องหัวข้อย่อยซึ่งสมาชิกกลุ่มย่อยไปค้นคว้ามาอภิปราย ก็ควรใช้กลุ่มย่อย
        (2)   ให้เวลาแก่ผู้อภิปรายเพียงพอในการพูด และเหลือเวลาให้ผู้ฟังอภิปรายซึกถาม แบ่งประเด็นในการอภิปรายให้เหมาะสมกับเวลาในอันที่จะสรุปทำความเข้าใจ
        (3)   อภิปรายทำความเข้าในหัวข้อที่จะอภิปรายให้ชัดเจน ทั้งแก้ผู้อภิปรายและผู้ฟัง    ทั้งชั้น
        (4)   สำรวจดูสิ่งแวดล้อ และอุปกรณ์ในการดำเนินการอภิปราย การจัดสิ่งแวดล้อมเป้นสิ่งสำคัญในอันที่จะทำให้การอภิปรายได้ผลดีขึ้น จัดที่นั่งให้แน่ใจว่าทุกคนได้ยินการอภิปรายทั่วถึงกัน
        (5)   ศึกษาวิธีการจัดที่นั่งให้เหมาะสมกับแบบของการอภิปรายและผู้ฟัง
        (6)   จัดเตรียมพิจารณาถึงการใช้แสง หรือใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์และการใช้กระดานดำ

4)   บทบาทของผู้นำอภิปรายเป็นผู้ดึงความคิดเห็น ปฏิสัมพันธ์และข้อมูลต่างๆ จากผู้ร่วมอภิปรายและผู้ฟัง กระตุ้นให้สมาชิกพูดตรงประเด็นให้ทุกคนมีโอกาสพูดโดยทั่วถึงกัน
สิ่งที่ผู้นำ อภิปรายทำ
        (1)   ให้สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
        (2)   กระตุ้นให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น
        (3)   เป็นกลางและเป็นผู้กำหนดให็ผู้อื่นพูด
        (4)   ให้สมาชิกมีโอกาสพูดโดยทั่วถึงกัน มิให้คนใดคนหนึ่งพูดมากเกินไป
        (5)   นำการอภิปรายให้ตรงประเด็น สัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการ
        (6)   สรุปการอภิปราย

5)   บทบาทของสมาชิก
        (1)   รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
        (2)   ยอมรับในสิทะของผู้อื่นในการพูด
        (3)   ยอมรับว่า การพูดหรือการอภิปรายใดๆ ก็ตาม เป็นการอภิปรายเพื่อหาข้อเท็จจริง มิใช่เพื่อเอาความคิดเห็นของใครไปบังคับคนอื่น

6)บทบาทของผู้สอน
ก.   การอภิปรายกลุ่มย่อย
        (1)   ผู้สอนช่วยเหลือผู้อภิปรายในการกำหนดสิ่งที่จะอภิปราย
        (2)   เตรียมสมาชิกทีเป็นผู้ร่วมอภิปรายให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ วิธีการ และระเบียบต่างๆ
        (3)   ช่วยเหลือแนะนำในกากรหาข้อมูล การจัดกระบวนการอภิปราย
        (4)   ช่วยเหลือแนะนำให้ทุกคนเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี
        (5)   ประเมิ่นปผลการอภิปรายนำผลอภิปรายมาหาวิธีปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง และส่งเสริมสนับสนุนในสิ่งที่ดี
ข.การอภิปรายกลุ่มใหญ่
        (1)   ผู้สอนร่วมอภิปรายหรือเป็นผู้นำอภิปรายเอง เมื่อจำเป็นในอันที่จะได้เกิดผลดีแก่การเรียนรู้
        (2)   ไม่ควรปล่อยให้ผู้เรียนวางแผนการอภิปรายเองตามลำพัง ให้ผู้เรียนวางแผนมาเสนอผู้สอน เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข
        (3)   ผู้สอนคอยดูแลให้ความช่วยเหลือแนะนำตามความจำเป็น ไม่สมควรอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะบังคับให้ผู้เรียนยอมคิดพิจารณาปรับปรุงงานของตนเอง
        (4)   ให้ผู้เรียนทุกคนรู้จักพูดแสดงความคิดเห็นของตน
        (5)   ให้อิสระแก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อเห็นว่าผู้เรียนทำได้ดีขึ้น

7) การประเมินผล ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลด้วย
        (1)   ประเมินผลหัวข้ออภิปราย การจัดลำดับหัวข้อความสัมพันธ์ของหัวข้อต่างๆ ของปัญหาทีอภิปรายเวลาที่ใช้ในการอภิปรายของแต่ละบุคคลและเวลาที่ใช้ทั้งหมด

        (2)   การประเมินผู้พูด
                -   พูดตรงประเด็น รัดกุม ใช้ภาษาเหมาะสมและสุภาพ
                -   ท่าทางในการพูด มรรยาทในการพูด
                -   การให้เหตุผล ใช้ความรู้ และการค้นคว้า
                -   การใช้หลักฐาน และอุปกรณ์ประกอบ
                -   การใช้เวลาเหมาะสม
        (3)   ผู้ฟัง
                -   มรรยาท ความตั้งใจ สนใจในการฟัง
                -   การบันทึก การจับประเด็น
                -   การมีส่วนร่วมในการอภิปราย การซักถาม
                -   ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม
                -   มรรยาทในการซักถาม การพูด

        (4)   สรุปผลที่ได้รับ

        (5)   นำผลที่ได้รับมาอภิปรายร่วมกับผู้เรียน เพื่อพิจารณาแก้ไขข้อบกพร่องที่พบเห็นจากการประเมินผล

5. เทคนิคในการสอนแบบอภิปราย

        - ผู้สอนควรนำการอภิปรายโดยการแนะนำเรื่องที่จะอภิปราย การสาธิตในสิ่งที่จำเป็นจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีผู้สอนควรทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาที่จะอภิปรายโดยชัดเจน ด้วยการใช้ถ้อยคำเฉพาะและตรง
        - ผู้สอนควรกำหนดขอบข่ายของเรื่องและเวลาให้เหมาะสมกับเรื่อง
        - ผู้สอนควรอธิบายคำถามนำให้ชัดเจนในขณะที่ผู้เรียนคนหนึ่งเขียนบนกระดานในขณะที่การอภิปรายดำเนินต่อไป ผู้สอนควรพยายามสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองและมีอิสระเพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยปราศจากความกลัวผู้สอนควรกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย และควรให้ความสนใจนักเรียนที่ขี้อาย และหวาดกลัว
        - เมื่อคำพูดของผู้เรียนไม่แจ่มแจ้ง ผู้สอนอาจพูดเสียใหม่ให้ชัดเจนและต้องให้ผู้เรียนรับหรือไม่ยอมรับคำพูดที่แก้ไขนั้นด้วย
        - ผู้สอนควรพัฒนาความรับรู้การแสดงออกทางใบหน้าของสมาชิกในกลุ่มผู้สอนควรรับรู้ความกระตือรือร้นและทัศนคติของสมาชิกในกลุ่มอย่างฉับพลัน
        - ผู้สอนไม่ควรรีบร้อนเห็นพ้องกับผู้เรียนการเห็นพ้องหรือคล้อยตามมักเป็นอุปสรรคต่อการอภิปราย และการเห็นพ้องหรือคล้อยตามไม่ใช้จุดมุ่งหมายของการเรียนแบบอภิปราย ถ้าจำเป็นผู้สอนควรอภิปรายความหมายคำใหม่ๆ อธิบายปัญหาให้แจ่มแจ้งชัดเจน แก้ข้อผิดพลาด หรือการแปลความหมายผิดๆ และช่วยให้ผู้เรียนรู้จักอธิบายความคิดโดยใช้โดยเหตุผล
        - ผู้สอนควรกระตุ้นให้เกิดความคิดเห็นต่างๆ กัน ในระหว่างการอภิปราย ผู้สอนควรควบคุมการอภิปรายให้อยุ่ในลักษณะที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถรับรู้ความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่มอย่างฉับพลัน
        - การสรุปเป็นครั้งคราวในระหว่างการอภิปรายไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบความก้าวหน้าของเขาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้การโต้ตอบปัญหาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยด้วยผู้สอนควรประเมินความก้าวหน้าของกลุ่มเป็นระยะๆ ถ้าผู้เรียนทำการอภิปรายจนบรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนควรร่วมแสดงความพอใจ หรือชื่นชมในผลงานของผู้เรียนถ้าไม่แสดงความชื่นชมแล้ว ผู้เรียนจะรู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรแก่การสนใจ ไม่ค่อยถูกต้องนัก หรือ ไม่ตรงตามความมุ่งหมาย การแก้ปัญหา ควรทำเป็นขั้นตอนก่อนที่จะดำเนินการอภิปรายขั้นต่อไป บางครั้งผุ้สอนต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเพื่อเร้าการโต้แย้งและกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย
        - ผู้สอนไม่ควรพยายามฝืนใจ หรือบังคับให้ผู้เรียนคล้อยตามความคิดเห็นของตนในเมื่อผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้นำการอภิปราย
        - ถ้าเป็นกลุ่มเล็กๆ กำลังดำเนินการอภิปราย ผู้สอนสามารถเดินรอบๆในระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำในการอภิปราย สมาชิกในกลุ่มจำเป้นต้องเข้าฟังโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อประธานกลุ่มเสนอเรื่องราวที่ได้ค้นคว้ามาและสรุปผลในตอนท้าย
        - ผู้สอนควรสรุปการอภิปรายเป็นครั้งสุดท้าย โดยให้นึกถึงหัวข้อสำคัญในการอภิปรายหัวข้อที่เห็นด้วยหรือไม่ด้วย ควรจะนำมาอธิบายให้ชัดเจน สิ่งที่จะเสนอในคราวต่อไปควรจะให้ต่อเนื่องกับผลการอภิปราย

6.ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบอภิปราย

ข้อดี
1)   เป็นการสอนแบบประชาธิปไตย ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นโดยเสรีและทั่วถึงกัน
2)   เป็นการพัฒนาผู้เรียนในด้านการฝึกให้คิด ให้แสดงความคิดเห็น
3)   เป็นการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอันเป็นการช่วยในการตัดสินใจ
4)   ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน
5)   ผู้เรียนมีปัญหาประสบการณ์และความสนใจในเรื่องเดียวกัน
6)   ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้จริง
7)   การอภิปรายมีวัตถุประสงค์ชัดเจนและสะดวกต่อการประเมินผล

ข้อจำกัด
1)   ถ้าผู้นำการอภิปรายขาดความสามารถในการนำ จะทำให้ผลการอภิปรายไม่ดีเท่าที่ควร
2)   ถ้าผู้เรียนแตกต่างกันมากในด้านความคิด หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอาจทำให้การอภิปรายไม่ได้ผลเท่าที่ควร
3)   วิธีการมอบเรื่องให้ใครคนใดคนหนึ่งนำไปพิจารณา ซึ่งมักจะมีเสนอในการประชุม ซึ่งผิดหลักการระดมความคิดจากทุกๆ คน
4)   บางครั้งประธานในอภิปรายการอาจกล่าวนำหรือแนะนำจนสมาชิกไม่ได้ใช้ความคิด
   

ที่มา  :  www.lamptech.ac.th