ผู้เขียน หัวข้อ: ซูสีไทเฮา จักรพรรดินีผู้มีอิทธิพลต่อชนชาวจีน  (อ่าน 4919 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
         หลายครั้ง ของหน้าประวัติศาสตร์ที่สตรีเข้ามามีอำนาจ และสร้างตำนานให้โลกได้จารึกจดจำได้อย่างเสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเลอโฉมของเฮเลนที่ทำให้เมืองทรอยพินาศแตกแหลกลาญมาแล้ว หรือ ความวุ่นวายในช่วงที่ท้าวศรีสุดาจันทร์แห่งอาณาจักรอยุธยามีอำนาจอยู่ในพระ หัตถ์ก็ทำให้บ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆด้านเช่นเดียวกัน

          สตรีอีกนางหนึ่งที่มีชื่อโด่งดังและถูกจดจำไม่แพ้สตรีนางใดในประวัติศาสตร์ โลกอย่างซูสีไทเฮา ก็มีเรื่องราวให้เล่าขานสืบต่อกันมาไม่น้อยหน้ากว่าอิสตรีในชนชั้นปกครองนาง ใดเลย
 
          พระนางซูสีไทเฮานั้นมีชาติกำเนิดเดิมเป็นเพียงสามัญชน มีชื่อเดิมว่า เยโฮนาลา พระนางถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378  มีบิดาเป็นขุนนางผู้ต่ำศักดิ์  แต่หาได้เป็นอุสรรคขัดขวางให้พระนางก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ไม่  เนื่องจากความทะเยอทะยานของพระนาง รวมทั้งโชคชะตาฟ้าลิขิตที่เนรมิตให้พระนางกลายเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลมากที่ สุดคนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง นำพาชาวจีนนับล้านคน และสามารถนั่งอยู่บนอำนาจนั้นได้ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษเลยทีเดียว



ภาพวาดซูสีไทเฮา
ภาพจาก www.zone-it.com

          บิดาของพระนางซูฉีไทเฮามีชื่อว่า หุ้ยเจิง เป็นข้าราชการชาวแมนจูทำหน้าที่เป็นทหารประจำกองธงสีฟ้า อันเป็นกองธงทหารหนึ่งในแปดหมู่ ในรัชสมัยของ สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง  ต่อมาหุ้ยเจิง ได้เลื่อนตำแหน่งให้ไปเป็นผู้ว่าราชการมณฑลฮันฮุย ชีวิตความเป็นอยู่ของดรุณีสาวอย่าง  เยโฮนาลา ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับเมือ อายุได้ 16  ปีเริ่มเป็นสาวแรกรุ่นก็ถูกส่งตัว เข้าถวายแด่องค์พระจักรพรรดิเสียนเฟิง พร้อมด้วยธิดาของแว่นแคว้นต่างๆรวมทั้งสิ้น 60 นาง เยโฮนาลา เป็นเพียงไม่กี่คนในหกสิบคนที่ถูกคัดเลือกให้ได้เป็นสนมขององค์จักรพรรดิ และถูกแต่งตั้งให้เป็น นางสนมลำดับที่ 5 ได้รับตำแหน่ง "ซิ่วหฺนวี่" และต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระมเหสีชั้น 5

          ต่อมาเกิดกบฏไทเปขึ้นใน มณฑลฮันฮุย หุ้ยเจิงบิดาของซูสีไทเฮาเจ้าเมืองกลับเพิกเฉยไม่นำพาต่อการปราบปรามกบฏ อย่างเต็มทีนัก จึงถูกปลดออกจากการเป็นผู้ว่าราชการมณฑลฮันฮุยแม้หน้าที่การงานของบิดาจะ เสื่อมถอย ไร้ยศไร้ศักดิ์ ลงเพียงเท่านั้นก็ไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตของพระนางซูสีไทเฮาตกต่ำลงไปด้วย แต่กลับมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ เมื่อพระนางได้ให้กำเนิดพระราชโอรสแก่องค์จักรพรรดิ และเป็นโอรสเพียงหนึ่งเดียวทำให้ นางกลายเป็นว่าที่มารดาขององค์รัชทายาทไปโดยปริยาย พระราชโอรสถูกเรียกขานพระนามว่า เจ้าฟ้าไจ้ฉุน และความดีความชอบที่พระนางได้ให้กำเนิดองค์รัชทายาทนี้เอง ที่ทำให้พระนางได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  ซูสีไทเฮา  พระมเหสีชั้น 2 เป็นรองแค่เพียง พระมเหสีชั้น 1 อย่างสมเด็จพระอัครมเหสีเจิน หรือซูอันไทเฮา ซึ่งเป็นพระมเหสีที่ฮ่องเต้ทรงโปรดปรานเมตตาและมีอยู่มาก่อนซูสีไทเฮาจะเข้ารับการถวายตัว แก่องค์จักรพรรดิ์

         แต่แล้วจักรพรรดิ์เสียนเฟิง ก็หามิได้อาจจะอยู่ดูความเติบใหญ่ขององค์รัชทายาทต่อไปได้ไม่นานนัก เพราะในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวตะวันตก เดินทางมาล่าอาณานิคมในประเทศในซีกโลกตะวันออก และดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลอย่างจีนย่อมหอมหวานและไม่อาจจะรอดพ้นจากการ รุกรานของชาติตะวันตกไปได้  อิทธิพลของชนชาติตะวันตก ได้รุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ สร้างความระส่ำระส่ายให้แก่แผ่นดินของจักรพรรดิ์เสียนเฟิงเป็นอันมาก ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2402 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามฝิ่นขึ้นนั้นเอง  กองทหารผสมของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ได้เข้าโจมตีกรุงปักกิ่งจนต้องทำให้องค์จักรพรรดิ์เสียนเฟิงได้เสด็จลี้ภัย พร้อมด้วยข้าราชบริพารผู้ภักดีออกจากรุงปักประทับยังพระราชวังที่เมือง เฉิงเต๋อมณฑลเหอเป่ย์ เมื่อได้ทราบข่าวความพินาศย่อยยับของกรุงปักกิ่งเป็นเหตุทำให้พระองค์ไม่มี กระจิตกระใจจะบริหารกิจการบ้านเมืองวันๆจึงเอาแต่เสวยน้ำจันทร์ และ สูบฝิ่น จนตรอมใจสิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 สิงหาคม ปีถัดมานั้นเอง

          แต่ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์พระองค์ก็ยังมีสติดีพอที่จะเล็งเห็นว่าบ้านเมืองยัง คงต้องเดินหน้าต่อไปจึงมีพระราชดำรัสตรัสสั่งให้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอเจ้าฟ้าไจ้ฉุน พระรัชทายาทซึ่งในขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 5 ชันษาเท่านั้น ขึ้นครองราชย์สืบต่อไป แต่ด้วยความที่จักรพรรดิ์เสียนเฟิงทรงเห็นว่าเจ้าฟ้าไจ้ฉุนยังทรงพระเยาว์ นักจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทน อันประกอบด้วยข้าราชการบริพารผู้ที่มีความจงรักภักดีจำนวนแปดคนช่วยกันดูแล และสนับสนุนให้พระเจ้าไจ้ฉุนขึ้นครองราชย์ได้ตามประสงค์ของพระองค์ ในการนี้ยังทรงทั้งนี้โปรดให้สมเด็จพระอัครมเหสีเจินและซูสีไทเฮา ควบคุมดูแลการทำงานของคณะผู้สำเร็จราชการอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้การอภิบาลเจ้าชายน้อยจนกว่าจะถึงเวลาว่าราชการได้ด้วยพระองค์เอง  ซึ่งเป็นการค้านอำนาจของคณะผู้สำเร็จราชการอีกชั้นหนึ่ง



พระนางซูสีไทเฮา
ภาพจาก www.midnightuniv.org


         ภายหลังที่สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตแล้วความยุ่งยากก็เริ่มปรากฏ ขึ้นเมื่อการบริหารงานของคณะผู้สำเร็จราชการมักจะไม่ลงรอยกับพระนางซูสี ไทเฮาและพระนางซูอันไทเฮา อยู่เนืองๆ  และด้วยความหอมหวลแห่งอำนาจนั้นเองที่ทำให้พระนางซูสีไทเฮาได้ชักชวนให้ซู อันไทเฮา วางแผนรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากคณะผู้สำเร็จราชการ โดยได้รับความร่วมมือจาก เจ้าชายกง และ เจ้าชายฉุน  เจ้า ชายทั้งสองนี้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง เฉกเช่นเดียวกับองค์จักพรรดิ์องค์ก่อน หรือกล่าวง่ายๆว่าทั้ง เจ้าชายกง และ เจ้าชายฉุน  ทรงเป็นพระอนุชา ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เสียนเฟิงนั้นเอง โดยคณะผู้ทำการยึดอำนาจได้ทำการจับกุม ผู้สำเร็จราชการฯ ทั้ง 8 คน และตั้งข้อหาร้ายแรงเพื่อกำจัดให้พ้นทาง

          เมื่อทำการกำหลาบคณะผู้สำเร็จราชการได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ซูสีไทเฮาและ และซูอันไทเฮาจึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชทานแทนโดยได้ออกว่าราชการอยู่หลังม่าน ไม้ไผ่ที่จักรพรรดิถงจื้อ(เจ้าชายไจ้ฉุน)องค์น้อยนั่งอยู่เบื้องหน้าอีกชั้น หนึ่ง

          แม้ว่าองค์จักรรพรรดิ์จะเจริญพระชันษาจนสามารถออกว่าราชการการได้โดยพระองค์ เองแล้วก็ตามแต่การขับเคลื่อนและทิศทางของการนำพาประเทศก็ยังคงตกอยู่ภายใต้ อำนาจของพระนางซูสีไทเฮาสร้างความไม่พอพระทัยให้แก่ องค์พระจักรพรรดิถงจื้อเป็นอันมาก แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการน้อมรับและเห็นคล้อยตามการบริหารงานของ สองพระนางไทเฮา พระจักรพรรดิถงจื้อ จึงเอาแต่เมามายและออกเที่ยวเตร่ไปในนครแห่งโสเภณีละภายหลังทรงติดเชื้อ ซิฟิลิสจากหญิงบริการและเสด็จสวรรคตเพราะโรคสำหรับบุรุษนั้นเอง

          เมื่อแผ่นดินขาดผู้นำอีกครั้ง ทั้งองค์จักรพรรดิ์ก็จากไปโดยมิได้ตั้งรัชทายาทไว้ในการครองแผ่นดินสืบไป พระนางซูสีไทเอาจึงทรงแต่งตั้ง เจ้าชายไจ้เทียน พระโอรสของเจ้าชายฉุนกับพระกนิษฐาภคินีของซูสีไทเฮา ขึ้นครองราชย์ แทนโดยที่ตนเองและพระนางซูอันไทเฮา  ยังคงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนดั่งเดิม  โดยจักรพรรดิพระองค์ใหม่ถูกขานพระนามว่า พระเจ้ากวางสู

          ทั้งสองไทเฮาได้ออกว่าราชการอยู่หลังม่านไม้ไผ่ดังเช่นเดิมเรื่อยมาจน กระทั่งใน วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2423 ระหว่างทรงออกขุนนางว่าราชการอยู่นั้นอันไทเฮาทรงรู้สึกไม่สบายพระองค์และ สวรรคตในบ่ายวันนั้น การสิ้นพระชนม์ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำของพระนางถูกตั้งข้อสังเกตว่าถูกวางยา แต่อย่างไรก็แล้วแต่การเสด็จสวรรคตของพระนางซูอันไทเฮา  ทำให้ซุสีไทเฮากลายเป็นผู้สำเร็จราชการการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว



ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน
ภาพจาก http://th.wikipedia.org

          ในสมัยของพระเจ้ากวางสูนั้น ซูสีไทเฮาก็ยังคงเรืองอำนาจและจัดการบริหารบ้านเมืองมาได้ตลอดรัชสมัยจน กระทั่ง วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 สมเด็จพระจักรพรรดิกวางสูสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วน พระนางซูสีไทเฮาจึงทรงสถาปนาปูยี  ขึ้นครองราชย์ต่อไป ก่อนที่พระนางเองจะเสด็จสวรรคตในวันรุ่งขึ้น การด่วนจากไปของจักรพรรดิกวางสูถูกซุบซิบไปกันต่างๆนานบ้างว่า องค์พระนางซูสีไทเฮาวางยาเพราะรู้พระองค์เองดีว่าพลานามัยไม่สู้จะแข็งแรง สมบูรณ์นักเกรงว่า หากทรงสิ้นพระชนม์ลงไปก่อนพระเจ้ากวางสูจะสร้างความยุ่งยากและเดือดร้อนแก่ บริวารและขุนน้ำขุนนางฝ่ายตนจึงตัดสินใจลอบวางยา และตนเองก็มาสิ้นพระชนม์ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

         ข้อครหาเหล่านี้ล้วนดังซุบซิบอยู่ในหมู่ราษฎรชาวจีนและพร้อมกับเงื่อนงำ ปริศนาต่อการจากไปของพระเจ้ากวางสู จนกระทั่งในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปริศนาแห่กวางสูก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้งเมื่อสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่าการชันสูตรพระบรมศพของพระองค์โดยรัฐบาลจีนพบว่า ปริมาณของสารหนูที่ตรวจพบมีมากถึงสองพันเท่าจากปริมาณที่อาจพบได้ในร่างกาย มนุษย์โดยทั่วไป

          เมื่อพระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน การรุกรานของชาติตะวันตกก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับจนกระทั่งถึงกาล อวสานของราชวงศ์จีน ภายหลังจากพระนางสิ้นพระชนม์ลงเพียงสามปี ปิดตำนานสตรีผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ สตรีผู้เรืองนามและมีอำนาจเหนือ ประชาชนชาวจีนมาอย่างนานนานกว่าครึ่งศตวรรษทั้งยังมีอำนาจนการบริหารราชการ แผ่นดินอยู่ถึงสามรัชกาลทำให้นามของพระนางยังคงถูกกล่าวขวัญถึงอยู่ทุกเมื่อ เชื่อวัน และนี้เป็นตำนานของอิสตรีอีกผู้หนึ่งที่เข้ากุมอำนาจและชะตาของประชาชนนับ ล้าน  


ที่มา  :  วิชาการดอคอม