ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของนามสกุลในประเทศไทย  (อ่าน 7542 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 08:30:31 AM
ที่มาของนามสกุลในประเทศไทย

เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

การตั้งนามสกุล
เมื่อมีพระราชบัญญัติขนามนามสกุลฯ ขึ้น ราษฎรไทยจึงต้องตั้งนามสกุลสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน โดยมีความนิยมหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

-ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย)
-ข้าราชการที่มีราชทินนาม มักจะนำราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลของตน เช่น หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) ใช้นามสกุล "พิบูลสงคราม"
-ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย
-ชาวไทยเชื้อสายจีนอาจแปลความหมายจาก "แซ่" ของตน หรือ ชื่อแซ่นำหน้านามสกุล

ข้อกำหนดตามกฎหมายในการจดนามสกุลใหม่หรือเปลี่ยนนามสกุล
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
-ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
-ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
-มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
-ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
-ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

ที่มา : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,447.0.html