ผู้เขียน หัวข้อ: โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก  (อ่าน 5573 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923


เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   

          ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536  เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน เพื่อช่วยให้ราษฎรทางตอนล่างมีน้ำใช้ทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นเป็นประจำทุกปี เพื่อการอุตสาหกรรม และเพื่อการแก้ไขพื้นที่ดินเปรี้ยวอีกด้วย

สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

วัตถุประสงค์

          1.  เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน โดยสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่ชลประทาน ได้ 185,000 ไร่ ด้วยโครงการท่าด่านเดิม 6,000 ไร่ โครงการท่าด่านส่วนขยาย 14,000 ไร่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก  165,000 ไร่
          2.  เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรม 
          3.  เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดนครนายก
          4.  เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในเขตจังหวัดนครนายก

สภาพทั่วไป

          1.  ลักษณะภูมิประเทศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล อยู่ในลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อย  ของลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำนครนายกครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ของจังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ 2,433 ตาราง-กิโลเมตร ต้นน้ำของแม่น้ำนครนยกเกิดจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งติดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเขาสูงประมาณ 1,000 - 1,300 เมตร
   
          2.  สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของลุ่มน้ำนครนายก ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม

          3.  สภาพน้ำฝน  เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำมีเทือกเขาดงพญาเย็น (เขาใหญ่) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นแนวปะทะของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก โดยเฉลี่ยประมาณ2,600 ถึง 2,900 มม./ปี

          4.  สภาพน้ำท่า  ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล  ข้อมูลน้ำท่าเฉลี่ยมากที่สุดเดือนสิงหาคม มีปริมาณ 70.87 ล้าน ลบ.ม. น้ำท่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเดือนมีนาคม มีปริมาณ 0.66 ล้าน ลบ.ม.รวมปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งหมด 292.45 ล้าน ลบ.ม.

ระยะเวลาดำเนินการ  13 ปี  (2540 - 2552)

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1.  ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ รวม  185,000  ไร่             
          2.  ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 16 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี     
          3.  เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5,400 ครัวเรือน
          4.  บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว
          5.  ลดความเสียหายจากอุทกภัย ได้ร้อยละ 35


ที่มา : http://www.rid.go.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 15, 2016, 12:13:38 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »