เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งไว้ให้ยกเลิก ?การโกนผมไว้ทุกข์?
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งไว้ให้ยกเลิก ?การโกนผมไว้ทุกข์? (อ่าน 4236 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งไว้ให้ยกเลิก ?การโกนผมไว้ทุกข์?
เมื่อ:
ตุลาคม 16, 2016, 11:34:21 PM
ภาพข้าราชบริพารกำลังเตรียมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในภาพจะเห็นการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีที่โกนผมนุ่งขาวห่มขาวทั้งพระนคร
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
การโกนผม เป็นการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณีเพื่อแสดงความเคารพอาลัย ในอดีตผู้ที่จะโกนผมจะต้องอยู่ในสังกัดมูลนายที่เสียชีวิต ยกเว้นแต่เพียงการสวรรคตของพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ทุกคนต้องโกนผม นอกจากนี้แล้วต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการเป็นพิเศษจึงมีการโกนผมทั้งแผ่นดิน เช่นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการให้ราษฎรทุกคนโกนผมไว้ทุกข์ในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่ไว้ผมมวย ผมเปีย ผมจุก และองค์พระมหากษัตริย์
ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธรรมเนียมเดิมในงานพระบรมศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยให้โกนผมเฉพาะ พระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ไปจนถึงข้ารับใช้ทั้งชายหญิงในสังกัดกรมพระราชวังบวร ส่วนราษฎรทั่วไปให้งดเว้น จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ออกประกาศ 2 ฉบับ ให้ราษฎรทั่วไปไม่ต้องโกนผมในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้ทราบอีกว่าการโกนผมไว้ทุกข์ยังเป็นธรรมเนียมของราษฎรทั่วไปที่บิดามารดาและสามีเสียชีวิตด้วย
?มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าในการสวรรคตในพระบวรราชวังครั้งนี้ ข้าราชการแลราษฎรไพร่หลวงสังกัดพรรค์ทาส เชลยบรรดาที่มิใช่สังกัดขึ้นข้าวังหน้าทั้งชายหญิง เว้นแต่ข้าเจ้าที่สิ้นพระชนม์ แลบ่าวนายตาย แลที่บิดามารดาตาย แลหญิงผัวตาย แลแขกที่เคยโกนอยู่โดยปกติ นอกนั้นอย่าให้โกนผมเลยเป็นอันขาดทีเดียว อันผู้ใดมิทันรู้พลอยโกนผมเกินไปแล้ว ให้ผู้นั้นมาลุแก่โทษต่อจมื่นราชามาตย์โดยเร็ว ถ้าไม่มาลุแก่โทษนิ่งนอนใจเสีย มีผู้ส่อนำตัวจับมาได้จะให้ปรับไหมมีโทษแก่ผู้นั้นเป็นการล่วงพระราชอาญา ถ้ามาลุแก่โทษแล้วรับตั๋วประทับตราไปเป็นสำคัญ?
การโกนผมไว้ทุกข์ได้ถูกยกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระราชดำริของพระชนกนาถ(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ไม่ทรงมีพระราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากธรรมเนียมนี้ในเวลาที่ราษฎรต้องโศกเศร้าเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต จากความบางตอนตามประกาศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453)
?ความเศร้าโศกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวังครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเป็นความเศร้าโศกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทำนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่ง ตามโบราณราชประเพณีในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า การไว้ทุกข์เช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเป็นเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมาก ให้ยกเลิกเสียทีเดียว?
(คัดมาจากหนังสือ ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย เขียนโดย นนทพร อยู่มั่งมี. สำนักพิมพ์ มติชน. 2551)
ที่มา :
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_3392
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งไว้ให้ยกเลิก ?การโกนผมไว้ทุกข์?
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?