ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของการขานพระนาม "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ"  (อ่าน 4618 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923

คำว่า "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" นี้จะใช้ตั้งแต่สมัยไม่แน่ชัด แต่พบหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างในพระราชกำหนดที่ออกในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเอง ก็ยังเรียกสมเด็จพระเจ้าท้ายสระซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนว่า ?สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ? และยังคงพบการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

คำว่า ?พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ? เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยที่สวรรคตไปแล้ว

ที่มาของคำๆ นี้มาจากการประดิษฐานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ไว้ในพระบรมโกศตามราชประเพณี เพื่อเป็นการแยกให้แตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เสวยราชสมบัติอยู่ในปัจจุบัน ใกล้เคียงกับคำว่า ?พระพุทธเจ้าหลวง? ซึ่งนิยมใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินที่สวรรคตไปแล้ว

ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ใน 'อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี' ว่า "พระนามที่เรียกว่า ขุนหลวงบรมโกศ นั้นเป็นพระนามที่มักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่พึ่งสวรรคตล่วงไปแล้วทุกพระองค์อย่างเราเรียกกันว่า ในพระโกศ นี้เอง "

ไม่เพียงแต่พระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยโบราณก็พบว่าบุตรหลานของเจ้าขุนมูลนายที่บิดาได้รับพระราชทานโกศสวมศพ ก็เรียกท่านผู้นั้นว่า ?เจ้าคุณในโกศ?

สันนิษฐานว่าในสมัยแรกคงใช้เรียกหลังจากมีการประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมโกศ และเรียกไปจนกระทั่งถวายพระเพลิงเสร็จ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะในสมัยหลังได้กลายเป็นคำที่สามารถใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินที่สวรรคตได้ทันทีโดยยังไม่จำเป็นต้องประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมโกศ

ตัวอย่างของการเรียกขานพระนามนี้แม้ว่าจะถวายพระเพลิงไปแล้วคือกรณีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

พระนามนี้ไม่ใช่พระนามจริง ทั้งนี้สันนิษฐานเพราะพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์สุดท้ายที่ได้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ในพระบรมโกศตามราชประเพณี

เหตุที่พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์ถัดมาไม่ได้รับการเรียกขานว่าพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เพราะพระเจ้าแผ่นดินลำดับถัดมา คือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งครองราชย์เพียงเวลาสั้นก็สละราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากนั้นไม่นานเสียกรุงศรีอยุธยาให้อังวะ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงถูกกวาดต้อนไปประทับที่พม่าพร้อมกับเชลยไทย ส่วนสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ก็สวรรคตระหว่างเสียกรุงโดยไม่ได้จัดงานพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ ไม่ได้ประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมโกศตามราชประเพณี

ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อยู่ร่วมสมัยจึงเรียกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์นั้นว่า ?พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ? สืบต่อกันมาเพราะติดปากจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พบในพระราชกำหนดกฎหมายที่ตราสมัยพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรียกขานพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ว่า สมเดจพระเจ้าพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฎ หรือเรียกเพียงสั้นๆ ว่า พระเจ้าบรมโกศ พระบรมโกศ มาจนสมัยหลัง เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ผู้คนสมัยหลังที่ไม่ทราบความหมายก็เข้าใจกันว่าเป็นพระนามจริงของพระองค์ไป

เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระวินิจฉัยไว้ในหนังสือกรัณยานุสรว่า

?ให้ผู้อ่านพึงเข้าใจว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเปนพระราชบิดาพระเจ้าแผ่นดินในปัจจุบันนั้น เรียกว่าพระบรมโกศดังเช่นว่ามาแล้วในข้างต้น เพราะพระบรมโกศนี้สวรรคตแล้ว พระราชโอรสได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินถึงสองพระองค์ก็จริงอยู่ แต่องค์หนึ่งได้เป็น 10 วัน องค์หนึ่งได้เป็น 9 ปีก็เสียกรุงแก่พม่า บ้านเมืองยับเยินไปแล้ว ข้าราชการเก่าๆจึ่งได้ประชุมกันตั้งบ้านเมืองขึ้น ก็คนทั้งปวงเหล่านั้น ล้วนแต่เปนข้าราชการอยู่ในพระบรมโกศแลพระราชโอรสในพระบรมโกศทั้งนั้น เมื่อเวลาบ้านเมืองยังตั้งอยู่แต่ก่อนเคยเรียกว่าในพระบรมโกศ คำที่เรียกนั้นก็ติดปากเจนใจ จนถึงมามีเจ้าใหม่ ก็ยังเรียกพระบรมโกศตามเดิม ให้ผู้อ่านพึงเข้าใจว่าคำที่เรียกว่าพระบรมโกศนี้ ใช่จะได้เป็นแต่ท่านพระองค์นี้ก็หาไม่ บรรดาเจ้าแผ่นดินคงได้เป็นคราวหนึ่งทุกองค์ เหมือนอย่างลูกเจ้านาย เขาเคยเรียกพ่อเขาว่าในพระโกศก็มี ลูกขุนนางที่มียศได้พระราชทานโกศ เขาก็เรียกปู่เรียกพ่อว่าเจ้าคุณในโกศก็มี นี่ท่านเป็นเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นพระบรมโกษฐเท่านั้นเอง?

กรณีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นกรณีพิเศษที่ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังใช้เรียกขานแทนพระนามไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการยกเลิก ในขณะเดียวกันก็ยังคงเรียกพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์จักรีพระองค์ก่อนหน้าที่สวรรคตไปแล้วตามธรรมเนียมปกติ

คำว่า "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" นี้จะใช้ตั้งแต่สมัยไม่แน่ชัด แต่พบหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างในพระราชกำหนดที่ออกในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเอง ก็ยังเรียกสมเด็จพระเจ้าท้ายสระซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนว่า ?สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ? และยังคงพบการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเกล้าอยู่หัว ได้มีการบัญญัติพระนามของพระองค์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนหนึ่งเพราะไม่โปรดให้เรียกพระองค์หลังสวรรคตไปว่า ?บรมโกศ? หลังสวรรคต แต่ก็ไม่เป็นผล ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า

?ในแผ่นดินปัจจุบัน คือแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้านั้น ให้เรียกว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะจะให้คนเคยปาก อย่าให้ยักย้ายเรียกอะไรๆตามชอบใจไปได้ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริป้องกันถึงชั้นนั้นแล้ว ครั้นเวลาเสด็จสวรรคตลงคราวนี้ คนทั้งปวงก็ยังไม่ฟัง ขืนเรียกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าในพระบรมโกศ ในพระโกศ พระบาทสมเด็จในพระบรมโกศ สมเด็จพระบรมโกศ เพ้อเจ้อไปไม่ใคร่จะรู้แล้ว?

การขานพระนามพระเจ้าแผ่นดินว่าพระบรมโกศยังคงใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน แต่ในสมัยหลังไม่ปรากฏการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ?พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ? ต่อเนื่องทั้งรัชกาลถัดมาอย่างกรณีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุทธยาแล้ว จะเรียกเฉพาะในช่วงถวายพระเพลิง หรือผ่านช่วงถวายพระเพลิงไปเล็กน้อยเท่านั้น จากนั้นถึงกลับมาเรียกขานด้วยพระปรมาภิไธย หรือเรียกตามลำดับรัชกาลโดยปกติ หรืออาจพบพระนามที่เรียกอย่างพิเศษอย่างที่นิยมเรียกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ?พระพุทธเจ้าหลวง? เป็นต้น
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- พระราชกรัณยานุสร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เรื่องนางนพมาศ
- กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองแก้ไขปรับปรุงใหม่
- อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
ขอบคุณภาพภาพประกอบ : topicstock.pantip.com

ที่มา : http://www.isranews.org/isranews-article/item/50950-wipakhistory-65923.html