ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชกรณียกิจด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  (อ่าน 4384 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมของโลก เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดสภาวะแวดล้อมเป็นพิษขึ้น ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และถ้าหากชาวโลกไม่ร่วมมือช่วยกันแก้ไข  แล้ววันหนึ่งสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษก็จะทำให้มนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้ป็นอย่างดี ทรงเห็นว่ามนุษย์ทุกคนต่างมีส่วนในการสร้างมลภาวะให้แก่โลก จึงควรรับผิดชอบในอันที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้กลับไปมีสภาพดีเช่นเดิม ดังนั้น พระองค์จึงทรงพยายาม ดำเนินโครงการในหลายๆ ด้าน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทรงกระทำได้
 
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริริเริ่ม ?โครงการหลวง? ในการพัฒนาและวิจัย พร้อมทั้งพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พร้อมกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับแรมกลางป่าในคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทางภาคเหนือ ได้เสด็จเยี่ยมชาวเขาในหมู่บ้านต่างๆ ของภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่อันยากลำบากของชาวเขา รวมทั้งสภาพป่าที่ถูกทำลาย อันจะส่งผลต่อไปยังสภาพต้นน้ำลำธารของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงสนับสนุนให้มีการวิจัยไม้เมืองหนาว เพื่อช่วยให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น หันมาปลูกพืชที่ทำการวิจัยแทน ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชที่ต้องถางป่าทำลายหน้าดิน ให้เป็นวิธีการปลูกที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีผู้เชียวชาญทางด้านเกษตรกรรมให้คำแนะนำแก่ชาวเขาอย่างใกล้ชิด

ปัจจุบัน เวลาที่ผ่านมากว่า ๓๐ ปี ของโครงการหลวงฯ ได้สร้างชีวิตใหม่และทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งมีอาชีพและมีชีวิตความเป็นอยู่ดี กว่าเดิม อย่างเห็นได้ชัด มีป่าไม้ และต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งชีวิตต่อไปอีกนานเท่านาน
 
มลพิษทางอากาศ

ในปัจจุบัน มีปัจจัยหลายประการ ที่ทำให้ปริมาณก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนออกไซด์ ในบรรยากาศมากเกินไป จนเกิดความไม่สมดุลของอากาศขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้นักวิชาการป่าไม้ช่วยกันวิจัยเสาะแสวงหาพันธุ์พืชที่สามารถคายก๊าซออกซิเจนจากขบวนการสังเคราะห์แสงออกมาในอัตราสูง  ซึ่งหากเมื่อพบแล้วจะได้ใช้ไม้ดังกล่าวในกิจการปลูก  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมดุลของปริมาณก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศต่อไป

นอกจากนี้ ยังทรงพยายาม ให้ทุกคนหลีกเลี่ยง การเผาทำลายป่า หรือการจราจรที่ติดขัด ทำให้เกิดการเผาไหม้ ของน้ำมันมากเกินความจำเป็น ทรงพระราชทาน คำแนะนำ ให้เร่งปลูกต้นไม้ ที่สามารถ ยึดคลุมดิน เพื่อให้ดินสามารถดูดซับน้ำ และเกิดความชุ่มชื้นขึ้น จนโอกาสที่จะเกิดไฟป่าลดน้อยลง หรือการพระราชทานพระราชดำริ พร้อมพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ ไปในการแก้ไขวิกฤติจราจร เพื่อให้สภาพการจราจร ที่ติดขัดในเมืองหลวง บรรเทาลง เป็นต้น
 
ทรัพยากรน้ำ

น้ำ เป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง ปัจจุบันมักเกิดอุทกภัยในฤดูฝน และเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนทั้งใน 2 กรณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่า การที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือเมื่อมีฝนตกมาแล้วไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ จนเกิดภาวะน้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรนั้น มีสาเหตุมาจาก การบุกรุกทำลายป่า เพื่อเอาพื้นที่ไปใช้ทำการเกษตรโดยขาดความรู้ในการอนุรักษ์น้ำและดิน หรือเกิดจากการที่ ชาวบ้านตัดไม้ไปขายให้กับนายทุน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเป็นผลให้ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไข โดยนำโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เข้าไปดำเนินการ เพื่อหยุดยั้ง การบุกรุกทำลายป่า อาทิ โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา โครงการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่าทดแทน และโครงการอาชีพเสริม เป็นต้น ปรากฏว่า หลังจากที่ได้ทรงดำเนินโครงการเหล่านี้ไปแล้ว ราษฎรที่เป็นชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นราบได้ลดการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ปัญหาเกี่ยวกับการทำลายป่าจะหมดไปในที่สุด
 
ปัญหาน้ำเสีย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสนพระทัยในปัญหาน้ำเน่าเสีย ทรงพยายามหาทางที่จะบรรเทาสภาพน้ำเสีย โดยได้ทรงคิดค้นแบบเครื่องกล ที่จะนำมาใช้บำบัดน้ำเสียขึ้น แล้วพระราชทานแบบให้ กรมชลประทานนำไปทดลองประดิษฐ์ขึ้น เรียกว่า ?เครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา? หลังจากที่ได้นำเครื่องดังกล่าว ไปทดสอบ ปรากฏผลดีเป็นที่น่าพอใจ และได้รับการจดลิขสิทธิ์ และการรับรอง จากทั่วโลกว่าเป็น เครื่องกลที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม จนได้รับการถวายรางวัลเครื่องประดิษฐ์ดีเด่น จากคณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติประจำปี 2536
 
ทรัพยากรสัตว์ป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่าได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อม และเพราะการถูกล่า จากน้ำมือมนุษย์จนเกือบจะสูญพันธุ์ไป เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามแก้ไข โดยทรงทำควบคู่ไปกับการส่งเสริมการปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทั้งป่าและสัตว์ป่า ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ ?โครงการสวนสัตว์ธรรมชาติภูเขียวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ? เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในจำนวนหลายๆ โครงการ ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายาม ของพระองค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เหตุที่ทรงเลือกพื้นที่แห่งนี้ในการดำเนินโครงการ เพราะทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า

?บนพื้นที่ภูเขียวเป็นที่ราบสูงกว้างขวาง มีสภาพป่า สมบูรณ์และยังมีสัตว์ป่า อยู่มากมายหลายชนิด เป็นจำนวนมาก เหมาะที่จะอนุรักษ์ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพัฒนาให้เป็น สวนสัตว์เปิด (Natural Zoo) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อไปในอนคต  และการที่จะดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จนั้น จะต้องยับยั้งไม่ให้ราษฎรบุกรุกป่าและทำลายสัตว์ป่า โดยการพัฒนาหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียงภูเขียวทั้งหมด ให้มีความเจริญ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ มีความเป็นอยู่ดี?
 
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การแก้ปัญหาให้คนอยู่กับทุกสิ่งอย่างที่เป็นธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนโดย เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน เป็นที่มาของการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิต


ที่มา : http://www.chaoprayanews.com/2009/02/06
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2016, 10:25:01 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »