เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจด้านภาษาและวรรณกรรม
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: พระราชกรณียกิจด้านภาษาและวรรณกรรม (อ่าน 4195 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
พระราชกรณียกิจด้านภาษาและวรรณกรรม
เมื่อ:
ตุลาคม 22, 2016, 10:32:45 AM
? ...ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่นในทางวรรณคดีเป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหนประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่แข็งแรง เขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้... ?
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าพระองค์จะทรงเจริญพระชันษาในต่างประเทศ ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศ แต่พระองค์ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยได้อย่างยอดเยี่ยม และยังทรงห่วงใยต่อภาษาไทยอีกด้วย พระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระองค์แสดงชัดในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านภาษา
พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในวโรกาสต่างๆ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักธุรกิจและนักหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์กเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2510 ดังนี้
?? การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวังหรือแม้แต่คำพูดต่าง ๆ เพียงนิดเดียวก็สามารถจะทำลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้ด้วยความยากลำบากเป็นเวลาแรมปี... เหมือนฟองอากาศนิดเดียว ถ้าเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ทั้งคน และน้ำตาลหวาน ๆ ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงในถังน้ำมันรถ ก็จะทำให้เครื่องจักรดี ๆ ของรถเสียได้โดยสิ้นเชิง... ?
จากพระราชดำรัสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปมา คำพูดเล็ก ๆ ?น้อย ๆ? เปรียบเทียบกับ ?ฟองน้ำ? และ ?น้ำตาล ? ว่าสามารถทำลายสิ่งที่สร้างมาด้วยความยากลำบากได้ เช่นเดียวกันกับฟองอากาศและน้ำตาลแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าฟองอากาศเข้าไปอยู่ในเส้นเลือด และน้ำตาลเข้าไปอยู่ในเครื่องยนต์แล้วทั้งเครื่องยนต์และเส้นเลือดก็จะถูกทำลายลงได้
นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาละติน ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องศัพท์ ที่มาของศัพท์ และรากศัพท์ อีกทั้งยังสนพระทัยและค้นคว้าเกี่ยวกับศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะทรงเข้าพระทัยว่าหากเข้าใจศัพท์และที่มาของศัพท์แล้วจะช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมะได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ภาษาในด้านการพระราชนิพนธ์ร้อยกรองคำอวยพรปีใหม่ มอบแด่พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศซึ่ง ส.ค.ส. ฉบับแรกปี พ.ศ. 2529 เพื่อเป็น ส.ค.ส. พระราชทานปี พ.ศ. 2530 โดยพระราชทานให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงพริ้นต์จากคอมพิวเตอร์และส่งแฟกซ์พระราชทานไปยังหน่วยงานโดยทั่วถึงกัน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปี จะประมวลจากเหตุการณ์บ้านเมืองในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ด้วยถ้อยคำที่สั้น ๆ แต่มากด้วยคุณค่าทรงเน้นในการเตือนและให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่ง ส.ค.ส. ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสีขาว ? ดำ ทั้งสิ้น
ด้านวรรณกรรม
ผลงานด้านวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีทั้งพระราชนิพนธ์ทรงแปลและพระราชนิพนธ์ทรงแต่งหลายเรื่องด้วยกันพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ? พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8 ? ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องนี้อยู่ในเรื่อง ? พระราชานุกิจ ? และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วัน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน 2489
วรรณกรรมทรงพระราชนิพนธ์
พระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวกิจวัตรของรัชกาลที่ 8ทั้งกิจวัตรส่วนพระองค์ พระราชกิจ และพระราชานุกิจขณะเสด็จประพาสสถานที่ต่าง ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วันพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2489 ซึ่งภาษาที่ทรงใช้จะเป็นภาษาที่สั้น กระชับ และได้ใจความชัดเจน
พระราชนิพนธ์เรื่อง ?เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์? ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษแก่หนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 เป็นพระราชนิพนธ์รูปแบบบันทึกประจำวัน ตั้งแต่เสด็จฯ จากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงก่อนเดินทางจากเมืองไทยไปยังตำหนักวิลลาวัฒนา คือ ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งพระราชนิพนธ์นี้ ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ขณะจากเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความผูกพัน และความห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์
พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แห่งวัดราชผาติการาม เมื่อปี พ.ศ. 2520 เรื่องพระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นคว้าเรื่องพระมหาชนเพิ่มเติมในพระตรีปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2539 และแปลเป็นภาษาสันสกฤตอีกภาษาหนึ่ง ก่อนจะแปลเป็นฉบับการ์ตูน ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถพิจารณาหาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลได้
พระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ได้แฝงข้อคิดคติธรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณของทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2541
งานแปล
ติโต ผลงานแปลชิ้นแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงแปลจากหนังสือ Tito ของ Phyllis Auty ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก ติโต เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศยูโกสลาเวียที่ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชนเผ่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นยามที่ประเทศชาติต้องพบกับภาวะวิกฤติ เพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญของประเทศไว้ หนังสือติโตนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม และวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537
เศรษฐศาสตร์ตามนัยของพระพุทธศาสนา บทที่ 4 เล็กดีรสโต แปลจาก Small is Beautiful โดย E.F.Schumacher หน้า 53-63 นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นงานแปลชิ้นที่สองของพระองค์ท่าน โดยทรงแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson ทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2520 และแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2523 โดยใช้เวลาในการแปลรวมทั้งสิ้น 2 ปี 9 เดือน 3 วัน แต่ได้นำมาจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายก่อนหนังสือติโต ซึ่งทรงแปลเป็นเล่มแรก คือจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2536
บทความที่ทรงพระราชนิพนธ์แปลและเรียบเรียง
?ข่าวจากวิทยุเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้า? จาก ?Radio Peace and Progress? ในนิตยสาร Intelligence Digest 1 เมษายน พ.ศ. 2518
"การคืบหน้าของมาร์กซิสต์" จาก "The Marxist Advance" Special Brief
"รายงานตามนโยบายของคอมมูนิสต์" จาก "Following the Communist Line"
"ฝันร้ายไม่จำเป็นจะต้องเป็นจริง" จาก "No Need for Apocalypse" ในนิตยสาร The Economist ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2518
"รายงานจากลอนดอน" จาก " London Report" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 18มิถุนายน พุทธศักราช 2518
"ประเทศจีนอยู่ยง" จาก "Eternal China" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2518
"ทัศนะน่าอัศจรรย์จากชิลีหลังสมัยอาล์เลนเด" จาก "Surprising Views from a Post Allende Chile" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518
"เขาว่าอย่างนั้น เราก็ว่าอย่างนั้น" จาก " Sauce for the Gander..." ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518
"จีนแดง ตั้วเฮียค้ายาเสพติดแห่งโลก" จาก "Red China Drug Pushers to the World " ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2518
"วีรบุรุษตามสมัยนิยม" จาก "Fashion in Heroes" โดย George F. Will ในนิตยสาร Newsweek ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พุทธศักราช 2522
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถในหลายภาษา ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยในการที่จะพระราชนิพนธ์หรือแปลได้อย่างผู้ที่เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนต้นฉบับ สำหรับพระราชนิพนธ์แปล จะทรงแปลตามความมากกว่าแปลตามคำ ด้วยเหตุที่ทรงเลือกสรรถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ผู้อ่านจะสื่อเรื่องราวได้ ทำให้พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ มีอรรถรสแบบไทยแทรกพระอารมณ์ขันไว้ได้อย่างเหมาะสม
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะด้านวรรณศิลป์ของพระองค์อย่างสมบูรณ์ คือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน และจะทรงเลือกใช้ภาษาโบราณ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อคงความขลังของเนื้อหาในบางตอน ซึ่งในเรื่องพระมหาชนกนี้ พระองค์ได้ทรงแสดงพระอัจฉริยภาพด้านทัศนศิลป์ไว้ด้วย นั่นคือภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของพระองค์ โดยทรงใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพแสดงเส้นทางเดินเรือของพระมหาชนก รวม 4 ภาพ คือภาพวันที่ควรออกเดินทาง ภาพวันเดินทาง ภาพวันที่เรือล่ม และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำ และนอกจากนี้ พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ จะทรงเลือกสรรคำ โดยเฉพาะพระองค์ทรงโปรดที่จะใช้คำแปลก ๆ เพื่อให้พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีสีสัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์โรงเรียนพระแก้ววิทยา สพม. 33
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจด้านภาษาและวรรณกรรม
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?