เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
พระเจ้าตาก (สิน) และเจ้าพระยาจักรีมุสลิมสองพ่อลูก
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: พระเจ้าตาก (สิน) และเจ้าพระยาจักรีมุสลิมสองพ่อลูก (อ่าน 4360 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
พระเจ้าตาก (สิน) และเจ้าพระยาจักรีมุสลิมสองพ่อลูก
เมื่อ:
พฤษภาคม 16, 2017, 09:19:11 AM
ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศนั้น ได้มีจีนผู้หนึ่งชื่อ นายไหฮอง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย ตำแหน่งเป็นที่ขุนพัฒน์ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตบ้านของท่านเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายก แล้วได้แต่งงานกับกุลสตรีผู้หนึ่งชื่อ นกเอี้ยง ซึ่งปรากฏว่าเมื่อตอนนางตั้งครรภ์นั้นก็เกิดนิมิตฝันว่าได้ดวงแก้วมณีสุกใสจากชีปะขาวในคืนวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ ซึ่งถือกันว่าถ้าฝันในคืนนี้จะเป็นนิมิตดี
ในที่สุดนางนกเอี้ยงก็คลอดบุตรชาย ในวันอาทิตย์เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๙๖ ปีขาล ฉอศก ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗
ขณะเกิดก็มีเหตุอัศจรรย์บันดาลอสุนีบาตฟาดเปรี้ยงลงมาตรงเสาตั้งตรงห้องที่นางนกเอี้ยงใช้เป็นที่คลอดทำให้ท่านขุนพัฒน์ผู้พ่อใจคอไม่ปกติ
ครั้นปรากฏงูเหลือมขนาดใหญ่ขดทักษิณาวัตรอยู่รอบตัวทารกผู้บุตรนั้น ท่านขุนพัฒน์ก็รู้สึกหวาดกลัวว่าเป็นลางร้าย และตัดสินใจจะไม่เลี้ยงบุตรชาย เพราะเป็นคนถือโชคถือลาง
เมื่อเจ้าพระยาจักรีทราบ ก็ถือว่าสิ่งอัศจรรย์นั้นเป็นศิริมงคลแก่ตัวทารกเอง ทั้งท่านก็เมตตาเด็กเป็นนิสัยอยู่แล้ว จึงออกปากขอเป็นผู้อุปการะทารก ซึ่งทั้งขุนพัฒน์และนางนกเอี้ยงยินดียกให้ทันที ท่านเจ้าคุณได้นำทารกมาเลี้ยงในฐานะบุตรบุญธรรม ให้ชื่อเป็นมงคลว่า ?สิน? ซึ่งต่อมาก็คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั่นเอง
เจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้นี้รักใคร่เมตตานายสินมาก และนับว่าได้มีอิทธิพลต่อชีวิตของนายสินไม่น้อย ให้การเลี้ยงดู และการศึกษาอย่างดี เมื่อนายสินอายุได้ ๙ ขวบ ก็นำตัวไปฝากพระอาจารย์ทองดีวัดโกษาวาสสั่งสอนอบรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีให้ทำบุญตัดจุกแล้วนำตัวไปถวายเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
ในระหว่างนี้นายสินได้ร่ำเรียนภาษาต่างประเทศหลายภาษาจนพูดได้ทั้งภาษาจีน ญวน และแขก
ครั้นนายสินอายุครบ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรีจึงให้บวชอยู่ที่วัดโกษาวาส
ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ได้ให้ความเห็นในตอนนี้ว่า ท่านเจ้าพระยาจักรีผู้นี้อยู่ในตำแหน่งยืดยาวมาก ตั้งแต่นายสินได้เลื่อนจากยกกระบัตรเมืองตากขึ้นเป็นเจ้าเมืองในราว ๓๐ ปี และเป็นที่สมุหนายกเป็นขุนนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่เหตุใดจึงไม่มีวัดของตระกูลท่าน กลับเอานายสินไปฝากให้ร่ำเรียนที่วัดของตระกูลอื่น
สำหรับปัญหาในข้อนี้ ขอคลี่คลายปัญหาดังกล่าว หลังจากวิจัยแล้วว่า
๑. ท่านเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้นี้ เป็น ?มุสลิม? โดยมีข้อสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ว่า ตำแหน่งนี้ถือเป็นประเพณีนิยมตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ว่า เป็นของมุสลิมผู้เชี่ยวชาญในด้านการค้า และการติดต่อกับต่างประเทศ (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน ?ความเป็นมาของมุสลิมในประเทศไทย?, อัร-รอบิเฎาฮฺ)
๒. การที่ ?นายสิน? พูดได้ทั้งภาษาจีน ญวน ไม่น่าสะดุดใจอะไรนักแต่เมื่อสามารถพูด ?แขก? ได้อีกด้วยทำให้เข้าใจได้ว่า ท่านเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้นี้จะต้องเป็น ?แขก? หรือ มุสลิม แน่นอน เพราะเลี้ยงดูกันมาตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่
๓. ตามประวัติบอกว่า นายสินได้เข้าเป็นมหาดเล็กรับใช้อยู่เวรหลวงนายศักดิ์ ซึ่งเป็นบุตรคนโตของท่านเจ้าพระยาศรีสมุหนายก ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศนั้น ปรากฏว่าหลวงนายศักดิ์ผู้นี้เอง ได้เข้ารับราชการในสมัยที่นายสินได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หลวงนายศักดิ์ได้เป็นที่โปรดปรานและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาจักรี (แขก) และได้รับพระบรมราชโองการเป็นแม่ทัพยกไปตรีชุมนุมเจ้านครอีกด้วย สำหรับหลวงนายศักดิ์ผู้นี้ เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ว่าเป็นเชื้อแขก ตอนพม่าตีกรุงศรีอยุธยาก็ยังได้เป้ฯพระยายมราช (แขก) ทำการรบมากับพระยาตากด้วย
สำหรับเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้เป็นบิดาบุญธรรมของ ?นายสิน? นั้น ปรากฏว่ามีบทบาทอยู่มากในการเลี้ยงดู ให้การอบรมและการศึกษาตลอดจนเป้นผู้นำ ?นายสิน? เข้าไปรับราชการเป็นมหาดเล็ก ควบคู่กับหลวงนายศักดิ์ บุตรชายคนโตของท่าน ตามประวัติของการอบรม ?นายสิน? ก่อนพาเข้าถวายตัวนั้นน่าสนใจมาก ท่านได้ให้โอวาทให้รู้จักการมีความรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ห้าไม่ให้เกี่ยวข้องกับนางในอันจะทำให้เกิดโทษทัณฑ์ เป็นการบั่นทอนอนาคตความก้าวหน้าของชีวิต และได้ยกสุภาษิตราชาสติในวิทูรชาดกที่เรียกว่า ราชวัตร ๑๐ ประการ
มาวันที่เด็กชายสิน จะต้องจากเคหสถานรโหฐาน เพื่อถวายตัวต่อสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็มาถึง วันนั้นเป็นวันดีเป็นศิริมงคล ท่านได้พาตัวเด็กชายสินเข้าไปเป็นมหาดเล็กรับใช้ อยู่เวรหลวงนายศักดิ์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของท่าน เป็นความพอใจเขาอย่างยิ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นหน้าเขาเป็นครั้งแรกก็รู้สึกพอใจในเด็กคนนี้
ไม่ปรากฏว่า ?นายสิน? มีความประพฤติเป็นที่ครหาประการใด แม้ในหมู่เพื่อนๆ นั้น ?นายสิน? ก็เป็นคนดี ทำตัวเป็นที่ไว้วางใจและเคารพนับถือของเพื่อนๆ ตลอดมา
ตลอดเวลาที่ ?นายสิน? กู้ชาตินั้น ก็ได้เพื่อนน้ำมิตรที่ซื่อสัตย์เพราะนิยม ยกย่อง เลื่อมใสในคุณธรรมของ ?นายสิน? จนช่วยกันกู้ชาติได้ในที่สุด เช่นนายบุญมาก (กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑) รับราชการอยู่ด้วยความจงรักภักดี ถึงกับไปชักชวนพี่ชาย คือ นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) มาอ่อนน้อมต่อพระยาตากหรือ ?นายสิน? ช่วยกันกู้เมืองต่อไปจนสำเร็จ
เมื่อพระยาตากได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ทั้งสองก็ยังคงถวายตัวรับราชการ ออกศึกสงครามป้องกันบ้านเมืองแบบมอบกายถวายชีวิต ดังนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้เป็นมุสลิมผู้นี้ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง โดยปลุกปั้นวีรบุรุษของชาติไทยขึ้นมามีบทบาทที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยผู้หนึ่ง
เจ้าพระยาจักรี (แขก)
ตำแหน่งเดิมก็คือ หลวงนายศักดิ์ เป็นเชื้อแขกและเป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาจักรีศรีสมุหนายกผู้เป็นบิดาบุญธรรมของ ?นายสิน? เข้ารับราชการแต่ครั้งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในตำแหน่งมหาดเล็ก คงจะเป็นรุ่นพี่และเป็นพี่เลี้ยงให้ ?นายสิน? น้องบุญธรรมของตนจึงปรากฏว่าเมื่อครั้ง ?นายสิน? กู้ชาตินั้น ก็ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นที่ใกล้ชิดสนิทสนมและไว้วางใจของ ?นายสิน? ที่สุดผู้หนึ่ง
ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หลวงนายศักดิ์ผู้นี้ได้ออกไปราชการ ณ เมืองจันทบูร (จันทบุรี) ก่อนที่พม่าจะมาล้อมกรุง และยังคงค้างอยู่ที่นั่น จนเมื่อพระยาตากคุมพลตีฝ่าทัพพม่าไปตั้งตัวที่จันทรบูรนั้น หลวงนายศักดิ์ก็ฝักใฝ่ทำงานกู้ชาติอยู่ด้วย พระยาตากได้มอบความไว้วางใจเพราะเห็นเป็นเพื่อนเก่า และรับราชการมาด้วยกันช้านาน ทั้งหลวงนายศักดิ์ผู้นี้ก็รู้ขนบธรรมเนียมกิจการงานทั้งปวงเป็นอย่างดี พอที่จะเป็นที่ปรึกษาหารือได้ เมื่อพระยาตากได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้วนั้น ก็ทรงพระกรุณาให้สถาปนาเป็นหลวงนายศักดิ์ (หมุดหรือแขก) ผู้นี้ให้เป็นเจ้าพระยาจักรี
ราชการงานที่สำคัญของหลวงนายศักดิ์ ในตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็คือ ได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพยกออกไปเจรจากับอาณาจักรนครศรีธรรมราช ทั้งนี้อาจมีพระราชดำริว่าท่านเจ้าพระยาจักรีผู้นี้เป็นเชื้อแขก พูดภาษาแขกได้ และเป็นมุสลิมก็คงจะรู้ขนบประเพณีอุปนิสัยใจคอของชาวมุสลิมในอาณาจักรนครศรีธรรมราชได้ดี
เจ้าพระยาจักรี ในตำแหน่งแม่ทัพ จึงคุมทัพบกกำลังทหารห้าพันคนยกลงไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อไปถึงเมืองชุมพร ไชยา พวกกรมการก็เข้ามาอ่อนน้อมโดยมิได้เสียเลือดเนื้อ แต่เมื่อยกทัพไปถึงนครศรีธรรมราช นายทัพนายกองเกิดแตกความสามัคคีกัน ไม่สามารถตีให้แตกได้ทั้งต้องทียับเยิน จนต้องถอยทัพมาอยู่ที่เมืองไชยา (พระยายมราชกล่าวโทษเจ้าพระยาจักรีเข้ามาในกรุงว่าเป็นกบฏ ไม่ใส่ใจในการทำราชการสงคราม) รออยู่จนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปสมทบแล้วแยกกันเข้าตีนครศรีธรรมราช
กองทัพเจ้าพระยาจักรีนั้นยกไปทางบกทางค่ายหัวช้างของนครศรีธรรมราช แต่เมื่อค่ายหัวช้างทราบข่าวเมืองแตก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเข้าประทับในนครศรีธรรมราชได้แล้วก็พากันขวัญเสีย เจ้าพระยาจักรีก็รีบนำทัพเข้าไปในเมืองเพื่อจะสมทบกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ได้ทัน แต่ก็ช้าไปแปดวัน จึงเข้ากราบทูลขอรับความผิดและขอรับพระราชทานอาชญาอย่างชายชาติทหาร
แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงภาคทัณฑ์ไว้โดยให้ไปตามจับเจ้านครมาเป็นการแก้ตัว
เจ้าพระยาจักรีแม่ทัพเรือ และพระยาพิชัยราชาแม่ทัพบกก็ยกติดตามเข้านครไปจนถึงเมืองปัตตานี เจ้าเมืองปัตตานีเกรงกลัวก็ส่งตัวเจ้านครและพระยาพัทลุง หลวงสงขวา เจ้าพัด เจ้ากลาง กับบุตรภรรยาให้แก่เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีก็นำคนทั้งหลายนั้นมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เมื่อครั้งอะแซหวุ่นกี้ปราบมอญได้ ก็ยกทัพมาที่เมาะตะมะ ครั้นรู้ว่ามอญหนีมาพึ่งไทยก็ให้งุยอคงหวุ่นคุมพลห้าพันยกติดตามมาต้อนไปทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ เจ้าพระยาจักรี (แขก) ก็ได้ตั้งสกัดไว้ จนพม่าต้องถอยทัพแล้วเจ้าพระยาจักรีก็ยังคงตั้งรับต่อสู้พม่าที่ติดตามมอญอยู่ต่อไป
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตีหัวเมืองเหนือได้แล้วนั้น แต่งตั้งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) เป็นพระยายมราช ครั้นเมื่อเจ้าพระยาจักรี (แขก) ผู้ได้ชื่อว่าอ่อนแอในการสงครามถึงแก่กรรม ก็โปรดตั้งให้พระยายมราชเป็นเจ้าพระยาจักรีแทนแล้วโปรดตั้งพระยาราชวังสันผู้บุตรของเจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นเป็นพระยายมราช
ปรับปรุงจากรายงานผลการวิจัยเรื่อง บทบาทมุสลิมในปลายอยุธยา-ธนบุรี พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๓๒๕ ของ: เพ็ญศรี กาญจโนมัย, นันทนา กบิลกาญจน์, เอกสารประกอบการสัมมนาประวัติศาสตร์อยุธยา ณ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา)
ที่มา
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_7774
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
พระเจ้าตาก (สิน) และเจ้าพระยาจักรีมุสลิมสองพ่อลูก
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?