ผู้เขียน หัวข้อ: "ความสุข" ที่เกิดจาก "ความเสียสละ"  (อ่าน 3631 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3926
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 09:49:16 PM

เรื่องเล่าเรื่องหนึ่งของ "หนุ่มเมืองจันท์" ในหนังสือ "ดีที่สุดในสิ่งที่เป็น" ได้เล่าไว้ในตอน "ทางเลือก" ตัดมาเขียนไว้


"หนุ่มเืมืองจันท์" เล่าไว้ตอนท้าย ๆ ของบทว่า ...

 
...........................................................



เคยมีคนเล่านิทานจีนเรื่องหนึ่งให้ฟัง

เป็นเรื่องของชาวนาคนหนึ่งเจอ "ถุงเงิน" หล่นอยู่กลางถนน

ในถุงเงินมีเงินอยู่ ๓ ตำลึง

ชาวนาคนนี้แม้จะจน แต่ก็เป็นคนที่ซื่อสัตย์

เขานำถุงเงินนี้ไปแจ้งตำรวจให้สืบหาเจ้าของ

ในที่สุดตำรวจก็สืบหาเจ้าของจนพบ

เป็นเศรษฐีใจดี

เศรษฐีเห็นความซื่อสัตย์ของชาวนาจึงยกเิงินจำนวนนี้ให้

แต่ชาวนาปฏิเสธ

เขาถือว่าเงิน ๓ ตำลึงนี้เป็นของเศรษฐี ไม่ใช่ของเขา

แม้เศรษฐีดึงดันที่จะให้

ชาวนาก็ไม่เอา

เจรจากันเท่าไรก็ไม่มีใครยอมกัน

สุดท้าย ตำรวจจึงพาทั้ง ๒ คนไปหาผู้พิพากษาเพื่อให้ช่วยตัดสินปัญหานี้

 

แม้จะผ่านคดีมามากมาย แต่ไม่เคยมีคดีใดเหมือนกับเรื่องนี้

คดีที่เคยเจอมักเป็นเรื่อง "ความอยาก" แต่คดีนี้กลับเป็นเรื่อง "ความไม่อยาก"

ผู้พิพากษารู้สึืกชื่นชมในความดีของ "เศรษฐี" และ "ชาวนา"

เขาให้ทุกคนและตนเองกลับบ้่านอย่างมี "ความสุข"

 

หลังจากนั่งตรึกตรองอยู่พักหนึ่ง

ถ้าตัดสินคดีตามหลักกฎหมาย เงิน ๓ ตำลึงต้องคืนให้เศรษฐีไป ถ้าเศรษฐีจะให้ชาวนาก็เป็นส่วนตัว

ชาวนามีสิทธิ์ที่จะไม่รับได้

แต่โลกนี้มีหลายคำตอบ

จะตอบแบบหลักกฎหมาย

หรือจะตอบด้วยหลักแ่ห่งความสุข

เศรษฐีคงไม่มีความสุข เพราะไม่ได้ตอบแทนคนดี

ชาวนาก็คงไม่มีความสุข เพราะเศรษฐีไม่ได้เต็มใจรับเงินคืน

ส่วนผู้พิพากษาก็คงไ่ม่มีความสุข เพราะทำให้ "คนดี" ๒ คนไม่มีความสุข

 

ในที่สุดผู้พิพากษาก็ตัดสินว่า เมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายต่างไม่ยอมรับเงินทั้งหมด ดังนั้น ให้แบ่งเงินก้อนนี้คนละครึ่ง

แต่ในถุงมีเงินอยู่ ๓ ตำลึง

แบ่งครึ่งไม่ได้

ผู้พิพากษาจึงควักเงินออกมา ๑ ตำลึง แล้วหย่อนเพิ่มไปในกองกลาง

รวมเป็น ๔ ตำลึง

แบ่งให้ชาวนา ๒ ตำลึง เศรษฐี ๒ ตำลึง

 

แล้วอธิบายเหตุผลของคำตัดสินนี้ว่า ถ้าเขาตัดสินตามความต้องการของเศรษฐี

ชาวนาก็จะได้เงิน ๓ ตำลึง

แต่ถ้าเขาตัดสินตามความต้องการของชาวนา

เศรษฐีก็จะได้เงิน ๓ ตำลึง

ดังนั้น การที่เขาใส่เงินเข้าไปเพิ่มอีก ๑ ตำลึง และแบ่งให้แต่ละคนคนละครึ่ง จึงเป็นคำตัดสินที่ไม่มีใคร "ได้"

ทุกคนต่าง "เสีย" อย่างเท่าเทียมกัน

 

ชาวนาที่ควรจะได้ ๓ ตำลึง ก็ได้แค่ ๒ ตำลึง

เสียไป ๑ ตำลึง

เช่นเดียวกับเศรษฐีที่ควรจะได้ ๓ ตำลึง ก็ได้แค่ ๒ ตำลึง

เสียไป ๑ ตำลึง

ผู้พิพากษาก็เช่นกัน

เสียไป ๑ ตำลึง


แต่ทุกคนกลับไปบ้านอย่างมีความสุข

 
และนี่คือ "เป้าหมาย" ของคำตัดสินนี้

...


เรื่องเล่าเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ...

๑. หากเรามีอำนาจทางกฎหมาย เราจะเลือกใช้หลักกฎหมาย หรือ หลักแห่งความสุขมาตัดสิน

๒. ผู้พิพากษาท่านได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างแท้จริง ด้วยการยอม "เสีย" เพื่อความสุข

๓. บางทีการยอม "เสียสละ้" บ้างก็อาจจะทำให้คนรอบข้างและตัวเราเอง รู้จักคำว่า "ความสุข"

๔. ชีวิตไม่ได้มี "ทางเลือก" เพียงทางเดียว หน้าที่ของเราคือ ค้นหามันให้เจอ





ที่มา  :  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485273