ผู้เขียน หัวข้อ: 21st-Century Skills: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เมื่อทักษะในโลกเก่า ไม่เก๋าพออีกต่อไป  (อ่าน 2890 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3910
องค์กร WEF วิจัยออกมาว่าทักษะที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในศตวรรษที่ 21 คือทักษะด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Social & Emotional Skill) และความต้องการที่มีต่ออาชีพที่มีทักษะเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในหลายปีที่ผ่านมา
 
WEF กำหนดทักษะในศตวรรษที่ 21 ไว้ทั้งหมด 16 ทักษะ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของ ทักษะการใช้ชีวิตให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ

การใช้ Gamification & Game-Based Learning, Simulation Game, และ Coach & Facilitator เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยขับให้เกิดการสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้าน Social & Emotional Skill ได้

การศึกษายุคใหม่นั้น เด็กจำเป็นต้องรู้วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมี Growth Mindset ให้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้มากขึ้น ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก Lecturer เป็น Facilitator ในขณะที่โรงเรียนและหลักสูตรต้องมีการปรับตัวและเปิดโอกาสให้มีการสร้างหลักสูตรใหม่ๆอย่างรวดเร็ว

?ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21? หรือ ?21st-Century Skill? เป็นคำที่ยิ่งนาน คนยิ่งพูดถึงบ่อยขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ แต่เป็นเพราะ สิ่งที่ห้องเรียนให้กับเราในศตวรรษที่ผ่านมาไม่เพียงพออีกต่อไป

พวกเราหลายๆคนคงไม่ต่างจากผมที่โตมาพร้อมกับห้องเรียนยุคเก่า ห้องเรียนที่มีครูอยู่หน้าห้องพร้อมสไลด์หรือแผ่นใส นักเรียนนั่งอยู่บนเก้าอี้ บรรยากาศเงียบกริบ ครูพูด นักเรียนมีหน้าที่คือฟัง ใครพูดแทรกถือว่าไม่เคารพ หลายๆคนน่าจะคุ้นชินกับภาพแบบนี้ ภาพของ ?ห้องเรียนแม่พิมพ์? ที่ผลิตนักเรียนพิมพ์เดียวกันออกมาเป็นพันๆหมื่นๆคน ให้มีความรู้เหมือนๆกันตามที่โลกต้องการ โลกแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

เราเคยเชื่อว่าการนั่งฟังในห้องเรียนเฉยๆจะเพียงพอ และทำให้เราพร้อมจะออกไปเผชิญโลก เราเคยเชื่อว่าแค่นั้นก็เพียงพอแล้ว แต่ในตอนนี้.. ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ โลกในซีรีย์ sci-fi มันมาเร็วกว่าที่คิด

?ห้องเรียนแม่พิมพ์ไม่ได้ผิด แต่มันตกยุคไปแล้ว?
 
โลกปัจจุบันไม่ได้ต้องการเด็กที่ถูกปั๊มออกมาเหมือนๆกันทุกคนจากแม่พิมพ์เดียวกันอีกต่อไป เรากำลังผลัดเปลี่ยนจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดิม เข้าสู่ ?โลกยุคดิจิตอล? อย่างเต็มรูปแบบ และโลกไม่ได้ค่อยๆกำลังเปลี่ยนเเต่มันจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจนสะบัดคนที่ตามไม่ทันหลุดออกไปหมดเลยทีเดียวหละ! ลองนึกภาพโลกที่แรงงานถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และเครื่องจักร และปัญญาประดิษฐ์ที่ล้ำหน้าขึ้นเรื่อยๆจนคิดแทนคนได้ เมื่อวันนั้นมาถึงจริง แล้วจะเหลือที่ยืนตรงไหนให้กับสมรรถภาพของมนุษย์ ในเมื่อหุ่นยนต์ก็ทำได้เหมือนกัน ได้มาตรฐานเดียวกันหมด แถมถูกกว่าด้วย

ไม่ใช่แค่นั้น.. จากการวิจัยของ World Economic Forum (WEF) พบว่าจริงๆแล้วทักษะที่จำเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 21 ที่เพิ่มเติมออกมาอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับโลกยุคเก่าก็คือ ?ทักษะการเข้าสังคมและอารมณ์ (Social & Emotional Skills)?นั่นเอง โดยข้อมูลนี้เกิดจากผลการวิเคราะห์ trend ของอาชีพต่างๆในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมา และพบว่า อาชีพที่ต้องใช้ social skill มีจำนวนขึ้นเช่นเดียวกับความต้องการมากขึ้น ในขณะที่อาชีพที่ไม่ใช้ social skill หรือใช้น้อยนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก

ผลการวิจัยยังบอกอีกว่า 65% ของเด็กที่เรียนอยู่ในตอนนี้จะต้องทำงานในอาชีพที่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้น พูดง่ายๆก็คือโลกหมุนเร็วมากจนทำให้..

?สิ่งที่เด็กเรียนอยู่ในตอนนี้ อาจจะไม่เหลืออาชีพนั้นให้ทำในอนาคตแล้ว?
 
เด็กยุคใหม่จะต้องถูกเปลี่ยนบทบาทจากพิมพ์เดิมๆที่ถูกสร้างขึ้นมาเติมตลาดแรงงานเดิมๆที่ทำสิ่งซ้ำๆในกรอบเดิมๆ ให้กลายเป็นบทบาทของผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และผู้สร้างนวัตกรรมที่หุ่นยนต์แทนที่ไม่ได้ให้ได้ เพราะอาชีพที่จะหายไปก่อนคืออาชีพที่ไม่ใช้ความซับซ้อนในการวิเคราะห์และตัดสินใจ และเป็นการทำซ้ำ ความซับซ้อนของโลกยุคใหม่จะหมุนความท้าทายต่างๆที่ไม่ซ้ำแบบ มาให้กับเด็กรุ่นใหม่ได้ตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา จากปัญหาเดิมๆจะกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและ sensitive มากขึ้น ความสามารถที่เด็กยุคใหม่ต้องมีจึงไม่ใช่การทำงานเดิมหรือคิดเรื่องเดิมๆซ้ำๆ (routine work) อีกต่อไป

21st-Century Skill คืออะไร? และมีอะไรบ้าง?
ถ้าจะแปลกันให้ตรงตัว 21st-Century Skill ก็คือ ?ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21? ซึ่งมันก็คือ ทักษะต่างๆที่เด็กหนึ่งคนควรจะต้องมีเพื่อใช้ชีวิตอยู่ ?ให้รอด? เมื่อเกิดและเติบโตมาในโลกยุคนี้นั่นเอง

องค์กร World Economic Forum (WEF) ทำการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งแนวโน้มของเทคโนโลยีในองค์กรใหญ่ๆทั่วโลก ผลการศึกษาได้สรุปทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st-Century Skill) ออกมาเป็น 16 ทักษะ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่

1.Foundational Literacies? ?กลุ่มทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ใน ?การปฏิสัมพันธ์กับบริบทที่แตกต่างกัน? ซึ่งแปลง่ายๆก็คือ ?อยู่ที่ไหนแล้วต้องใช้อะไรบ้าง? นั่นเอง เพราะเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆได้ก่อให้เกิดบริบทการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทักษะเหล่านี้ได้แก่ การใช้ภาษา (Literacy) การคำนวณ (Numeracy) การใช้เทคโนโลยี (ICT Literacy) การใช้วิทยาศาสตร์กับสิ่งรอบตัว (Scientific Literacy) การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม (Cultural & Civic Literacy) หรือแม้กระทั่ง การจัดการด้านการเงิน (Financial Literacy) ที่รวมไปถึง วิธีการเป็นผู้ประกอบการ หรือ entrepreneurship ก็นับเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตเช่นกัน?ยกตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งจะต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีรอบตัวให้เป็นประโยชน์ได้ (ICT Literacy) เพราะการหาความรู้ในปัจจุบันมักทำผ่านโลกดิจิตอล เช่น การ search ข้อมูลผ่าน google หรือ การที่เด็กคนหนึ่งจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในโลกปัจจุบันได้ คือการได้ทำสิ่งที่เขารักและหาเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงด้วย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะการจัดการด้านการเงิน (Financial Literacy) เป็นต้น

2.Competencies? ?กลุ่มทักษะที่ต้องนำมาใช้ใน ?การจัดการกับปัญหา? หรือความท้าทายที่ต้องเจอในชีวิต ซึ่งความท้าทายเหล่านั้นจะมีความซับซ้อนขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับความท้าทายในโลกเก่า โดยกลุ่มทักษะนี้จะเป็นทักษะสำคัญที่ใช้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุด (Critical Thinking) สร้างวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) รวมทั้งสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น (Communication& Collaboration) เพื่อแก้ปัญหานั้นให้ได้ กลุ่มทักษะนี้มักถูกเรียกย่อๆว่า ?4C? จัดได้ว่าเป็นทักษะหลักที่ทำให้มนุษย์เราเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ หรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ยังทำไม่ได้ในเร็วๆนี้นั่นเอง ?ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่กำลังเรียนอยู่ในตอนนี้ เมื่อโตไปจะต้องเจอกับความท้าทายที่ซับซ้อนกว่าปัญหาในโลกยุคเก่า เช่น จะทำยังไงให้มีน้ำดื่มที่สะอาด ถูกและเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก? หรือ การหาพลังงานทางเลือกแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีอยู่? ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความซับซ้อน ปัจจัย และข้อจำกัดต่างๆ ให้ต้องคำนึงถึงมากกว่า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาสาเหตุของปัญหาให้เจอ (Critical Thinking) อีกทั้งยังต้องการความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity) ในการสร้างไอเดียเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถถ่ายทอดไอเดียนั้นออกมาให้ได้ (Communication)นอกจากนี้ยังต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความสามารถหลากหลายและมีความแตกต่างกัน (Collaboration) เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันให้ได้

3.Character Qualities? กลุ่มทักษะที่ใช้ใน ?การจัดการตัวเองกับสภาพสังคม? ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) การริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) ความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Persistence/Grit) ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม (Adaptability) ความเป็นผู้นำ (Leadership) และ ความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness) ด้วยเหตุว่าความรวดเร็วของสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เด็กยุคใหม่ต้องก้าวตามให้ทัน ทักษะเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่เป็นคนที่ตามหลังคนอื่นอยู่เสมอ และเป็นคนที่มีคุณภาพ (Character Qualities) นั่นเอง?ยกตัวอย่างเช่น สภาพของโลกที่เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมาก เด็กคนหนึ่งจำเป็นต้องมีความอยากรู้อยากเห็นในระดับที่เหมาะสม (Curiosity) เพื่อให้ตัวเองสามารถทันโลกและทันคนอื่น ประกอบกับการมีความคิดริเริ่ม (Inititative) ความตั้งมั่น (Persistence) และความเป็นผู้นำในการรวมทีม (Leadership) ถึงจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆออกมาให้กับโลกใบนี้ได้สำเร็จนั่นเอง

โดย 6 ทักษะในกลุ่มที่ 1 นั้นคือ ?ทักษะเฉพาะทางขั้นพื้นฐาน? (Literacies) ในบริบทต่างๆที่เจอได้ทั่วไปในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ส่วนอีก 10 ทักษะในกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นเป็นกลุ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับ ?ทักษะการเข้าสังคมและอารมณ์? (Social & Emotional Learning) โดยตรง และนับเป็นกลุ่มทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นตามผลการวิจัยตลาดแรงงานของ WEF ที่ได้พูดถึงไปข้างต้น

เมื่อเด็กคนหนึ่งมีทักษะครบทั้ง 16 อย่างที่ทำงานสอดคล้องกัน จะสามารถใช้ชีวิตอยู่รอดบนโลกในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าสภาพแวดล้อมหรือสังคมจะเปลี่ยนไปรวดเร็วแค่ไหน และไม่ว่าจะเจอความท้าทายในชีวิตมากน้อยเพียงใดก็ตาม ทักษะเหล่านี้จะทำให้เด็กคนหนึ่งสามารถเรียนรู้ตลอดเวลาได้ ซึ่ง WEF เรียกว่า ?Lifelong Learning? หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่ได้จบแค่ตอนเราเป็นนักเรียนในห้องเรียน

เราจะสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ยังไงบ้าง?
ขึ้นชื่อว่า ?ทักษะ? แน่นอนว่าไม่สามารถสร้างกันได้ง่ายๆผ่านการนั่ง lecture อย่างแน่นอน เพราะ ?ทักษะ? ไม่ใช่ ?ความรู้? จึงเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสร้างโดยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องผ่านการลงมือทำจริง ด้วยเหตุนี้เองวิธีการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบเก่าที่มีครูเป็นคนสอนอยู่ฝ่ายเดียว จึงไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป

บทบาทของครูที่เป็น ?ผู้ถ่ายทอดความรู้? (Lecturer) จึงต้องถูกเปลี่ยนเป็น ?ผู้สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้? (Facilitator) โดยหน้าที่ของครูนั้นจะไม่ใช่การแค่มาสอนหน้าห้องอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนผ่านการลงมือทำจริง โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและแนะแนวทางแทน

สิ่งที่น่าสนใจของทักษะเหล่านี้ก็คือ ควรสร้างให้เด็กตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งเร็วยิ่งดี หากเริ่มได้ตั้งแต่เด็กเล็กยิ่งได้เปรียบและสร้างได้ถาวรกว่า ส่วนเด็กโตนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องสอนชดเชย และขาดไม่ได้เช่นกัน

WEF ได้ทำการวิเคราะห์ต่อด้วยว่า จะต้องเป็น กระบวนการ หรือ สื่อการเรียนการสอนแบบไหน ถึงจะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการสร้าง social & emotional skill ที่นำไปสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยตรงได้ ผลที่ได้ออกมาชี้ว่ากระบวนการที่มีรูปแบบ (features) 3 รูปแบบหลักๆ ต่อไปนี้ เป็นรูปแบบที่จะใช้ได้ผลดี

1.รูปแบบกระบวนการที่มี ?Structure of Interactions? ?กระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วม หรือ มีกลไกที่ผู้เรียนสามารถ ?เล่น? หรือ ?ผลัดกันเล่น? กับบทเรียนได้อย่างซ้ำๆและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการฝึกซ้ำๆ จนเกิดเป็นทักษะได้

2.รูปแบบกระบวนการที่มี ?Elements of Play??กระบวนการที่มีกลไกของ ?การเล่น? ที่สามารถตอบสนองและปรับเปลี่ยนผลที่เกิดขึ้นไปได้ตามการตัดสินใจที่แตกต่างกันของผู้เรียน ทำให้เห็นผลจากการตัดสินใจและเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ทำลงไปได้ขณะนั้นจริงๆ

3.รูปแบบกระบวนการที่มี ?Assessment and Reinforcement? ?รูปแบบของกระบวนการที่มีการให้ feedback การวัดผล รวมทั้งการแนะนำและโค้ชให้กับผู้เรียน จากครู หรือ ผู้รู้ เพื่อให้ผู้เรียนรู้แนวทางที่ถูกต้อง และสามารถปรับแก้ในแนวทางที่ผิดได้ทันที

ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของทีม BASE Playhouse ของเราที่ใช้หลักของ Gamification, Game-based learning และ Instructional Design ในการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สามารถตอบโจทย์ ทั้ง 3 รูปแบบของกระบวนการที่กล่าวมาได้ครบ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างครบถ้วน ผมขอยกตัวอย่าง Case Study ของ BASE Playhouse ดังต่อไปนี้

Gamification และ Game-Based Learning
การกระตุ้นพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านกลไกของเกม (Gamification) และการใช้เกมเป็นสื่อการสอน (Game-Based Learning) เป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เกิดรูปแบบกระบวนการแบบที่ 1, 2 และ 3 ข้างต้นได้เป็นอย่างดี และเป็นวิธีที่ BASE Playhouse ใช้เป็นหลัก เพราะโดยธรรมชาติของตัวกลไกเกม (Game Mechanics) นั้นประกอบไปด้วย Interaction ระหว่างผู้เล่นเพื่อให้เกมเดินไปได้ รวมทั้ง feedback จากการตัดสินใจที่แตกต่างกันของผู้เล่นในตัวอยู่แล้ว จึงสามารถตอบโจทย์ทุกรูปแบบกระบวนการในการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี

รูปแบบของเกม ที่ใช้นั้นสามารถอยู่ในลักษณะของเวิร์คชอปต่างๆที่เอื้อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเข้าใจถึงผลลัพธ์ของการกระทำหรือการตัดสินใจของผู้เรียนได้ในทันที บรรยากาศการเรียนรู้ควรมีความสนุก เพื่อเอื้อต่อประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบวก เหมือนกับภาพบรรยากาศ Game-based learning ของ BASE Playhouse
 
Simulation Game (เกมจำลองเสมือนจริง )
การจำลองสถานการณ์ให้เกิดการลงมือทำจริงได้มากขึ้น และสามารถย่อประสบการณ์และสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ที่อาจใช้ทั้ง เวลาเป็นปีๆ และ ต้นทุนมหาศาล ในการไปเจอเอง (พูดง่ายๆก็คือ ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน) ให้ลงมาอยู่ใน Control Space ที่เด็กสามารถเจอได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ BASE เชื่อมั่นมาโดยตลอด และได้รับฟีดแบคที่ดีจากผู้เรียนทุกครั้ง ว่าเกิดการเรียนรู้ได้จริงทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Business Simulation Game ของ BASE Playhouse เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดี ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อจำลองสถานการณ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เด็กได้ลองสวมหมวกเป็นผู้บริหาร โดยใช้ Story-telling ในการเล่าเรื่อง ผู้เรียนจะได้ตัดสินใจจริงๆ เห็นผลจริงๆเดี๋ยวนั้น เล่นจริง เจ็บจริง แต่ไม่เสี่ยง ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้เองผู้เรียนจะผ่านรูปแบบของกระบวนการทั้งสามอย่างโดยไม่รู้ตัว (Structure of Interactions, Elements of Play,Assessment and Reinforcement) ซึ่งสามารถสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ Team Role-Play Simulation Game ของ BASE Playhouse ในหลักสูตร Leadership & Teamwork ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้สร้างทีมเพื่อพิชิตภารกิจร่วมกัน ด้วยกลไกของเกมนั้นจะขับเคลื่อนให้เกิดรูปแบบของกระบวนการที่จำเป็นในการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่นกัน

การใช้ Coach และ Facilitator
เนื่องจากแก่นสำคัญของ ทักษะศตวรรษที่ 21 คือการเข้าสังคมและการจัดการอารมณ์ วิธีการที่สามารถสร้างทักษะนี้ได้คือการใช้ Coach และ Facilitator ที่มีประสบการณ์ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์การตัดสินใจและการลงมือทำของผู้เรียน และให้ real-time feedback กับผู้เรียนไปปรับใช้ได้เดี๋ยวนั้น ซึ่งก็คือการสร้าง Assessment & Feedback ตามรูปแบบที่ 3 ของกระบวนการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

ทีม Coach และ Facilitator นั้นควรได้รับการฝึกฝนและอบรมเฉพาะทาง เพื่อให้เข้าใจถึงเป้าหมายการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้การให้ feedback นั้นเป็นไปในทางเดียวกันและตอบเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ตรงจุด เช่น ทีม Coach และ Facilitator ของ BASE Playhouse นั้นจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนั้นโดยตรง อีกทั้งต้องผ่านการอบรมในการให้ Feedback ตามหลักจิตวิทยาเบื้องต้นมาก่อน โดยทีม Coach และ Facilitator ที่ดีนั้นจะต้องเข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึง เพื่อช่วย Guide และเอื้อให้กลุ่มผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้

ในบทความนี้ ผมขอแชร์หลักสูตรของ BASE Playhouse ที่ชื่อว่า BASE 21st Century Skills Series ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ 21st Century Skill โดยใช้กระบวนการออกแบบหลักสูตรทั้งหมดขึ้นมาใหม่ให้สามารถสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้โดยเฉพาะ

BASE Playhouse จึงนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Education Solution ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่พยายามสร้างขึ้นเพื่อที่จะสร้างให้เด็กยุคใหม่นั้นก้าวทันโลก และสามารถใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเต็มภาคภูมินั่นเอง สามารถอ่านรายละเอียดของแต่ละทักษะได้ที่ บทความในซีรีย์ต่อเนื่องจาก 21st-Century Skill : ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของ BASE Playhouse ซึ่งตอนนี้มีแล้ว 5 บทความ ได้แก่

- Critical Thinking : เพราะการคิดที่ดีสร้างได้
- Creativity in Action: เด็กยุคใหม่ กล้าคิดสร้างสรรค์ กล้าสร้างความแตกต่าง
- Leadership & Teamwork : เด็กยุคใหม่เป็นผู้นำให้ได้ สร้างทีมให้เป็น
- Public Speaking : เด็กยุคใหม่ ทำไมต้องพูดเก่ง
- Communication Tactic : การสื่อสารสำหรับเด็กยุคใหม่ เริ่มที่ความเข้าใจ ไม่ใช่คำพูด

สิ่งที่การศึกษาไทยต้องเปลี่ยนมีอะไรบ้าง?
เมื่อเราได้ทำความรู้จัก ทักษะในศตวรรษที่ 21 กันไปแล้ว คำถามสำคัญต่อไป คือ การศึกษาของไทยจะต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง? หรือ ภาพไหนกันที่เราควรจะต้องเห็นภายในไม่กี่ปีข้างหน้า?

สำหรับ.. ตัวเด็กเอง ?เด็กยุคใหม่จะอยู่นิ่งและปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามระบบไม่ได้อีกต่อไป ในเมื่อระบบปัจจุบันไม่ได้ขยับขึ้นมาให้ทันโลกได้เร็วพอ เด็กเองจึงต้องตั้งคำถามกับตัวเองให้มากขึ้นและบ่อยขึ้น ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร อยากจะมีชีวิตแบบไหน เรียนรู้ที่จะเรียนด้วยตัวเอง (Learn how to Learn) วิเคราะห์และตอบตัวเองให้ได้ว่าทักษะไหนในศตวรรษที่ 21 ที่ตัวเองขาดอยู่ และ ออกจาก Comfort Zone ของตัวเองเพื่อไปเติมทักษะเหล่านั้นให้เต็ม ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสร้างได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า ?Growth Mindset?

สำหรับ.. คุณพ่อคุณแม่?งานวิจัยของ WEF บอกไว้ชัดเจนว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 นั้นต้องถูกสร้างอยู่ตลอดเวลาจึงจะเห็นผล ทั้งในห้องเรียน และ นอกห้องเรียน นั่นหมายความว่า เวลาที่เด็กอยู่กับคุณพ่อคุณแม่และครอบครัว เป็นอีกช่วงเวลาคุณภาพที่จะช่วยหล่อหลอมให้เกิดทักษะเหล่านั้นได้ พ่อแม่ยุคใหม่จึงจะต้องศึกษาเกี่ยวกับทักษะในศตวรรศที่ 21 ให้มากขึ้น เพื่อให้รู้เท่าทันสิ่งที่ลูกต้องมี จะได้สามารถนำไปหล่อหลอมให้เกิดสภาพแวดล้อมในบ้านที่เอื้อให้เกิดการสร้างทักษะเหล่านี้กับลูกๆได้
สำหรับ.. ครู ?ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า ทักษะ เป็นสิ่งที่ต้องสร้างผ่านประสบการณ์ การสอนแบบ One-way Communication จะไม่เพียงพออีกต่อไป ครูยุคใหม่ จะต้องเปลี่ยนบทบาทจาก lecturer เป็น facilitator ให้ได้ โดยครูเองต้องก้าวออกจาก Comfort Zone เช่นกันในการเติมทักษะในการถ่ายทอดความรู้แบบการ Facilitate แทนการใช้ Lecture-based เหมือนแต่ก่อน

สำหรับ.. โรงเรียนและหลักสูตร?ในเมื่อโลกยุคใหม่หมุนไปเร็วขนาดนี้ โรงเรียนควรจะต้องเปลี่ยนนโยบายและหลักสูตรให้ทันเช่นกัน เช่น การเปิดกว้างต่อชุดความรู้ใหม่ๆ หลักสูตรการเรียนรู้ที่วัดผลทักษะผ่านตัวกิจกรรม ที่ไม่ได้วัดด้วยการสอบซึ่งวัดได้แค่ความรู้เพียงอย่างเดียว หรือแม้กระทั้ง หลักสูตรการอบรมครูที่จะช่วยเติมทักษะของการเป็น Facilitator นั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนเติมเต็มทักษะในศตวรรษที่ 21 เข้าไปในหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว สำหรับโรงเรียนที่ไม่มีทรัพยากรบุคคลที่มากพอ สามารถใช้วิธีเติมเต็มหลักสูตรผ่าน Education Technology (EdTech) ต่างๆ ที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางลัดในการเปลี่ยนหลักสูตรก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

สุดท้ายนี้.. ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนที่สนใจในทักษะในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการเรียนการสอนแบบใหม่

ไม่ว่าจะเป็น ครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งผู้ที่อยากจะเปลี่ยนการศึกษาไทยไปด้วยกัน ผมเชื่อว่าการศึกษาไทยต้องถูกเปลี่ยน แต่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันจึงจะเปลี่ยนได้!
โลกใหม่มันหมุนเร็ว แต่เราตามให้ทันได้ ถ้าเราหมุนเร็วกว่า!

เด็กไทยเราเก่งครับ! ผมเชื่อแบบนั้นมาโดยตลอด มาช่วยกันเตรียมความพร้อมให้พวกเขาก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้ไปพร้อมๆกันนะครับ

 
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
Fostering Social and Emotional Learning through Technology, World Economic Forum March 2016?
Framework for 21st Century Learning, Partnership for 21st Century Learning (P21)


ที่มา : https://www.aksorn.com/en/21st-century-skills