ผู้เขียน หัวข้อ: 4 เทคนิค สร้างครูเป็นโค้ช กุญแจสู่สมรรถนะ  (อ่าน 2880 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ปัญหาที่พบกับการศึกษาไทยที่ผ่านมา ถ้ามองกันลึก ๆ จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วผู้เรียนจะเรียนไม่ตรงสาย ไม่รู้ว่าเรียนแล้วจะไปทำอะไร หรือเรียนแล้วไม่สามารถพัฒนาหรือนำไปปรับใช้กับชีวิตจริงได้ ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นจุดหักเหของการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ที่เราจะเน้นการสอนเนื้อหาเป็นหลัก (Content-based) คือเน้นที่เนื้อหาวิชา และมีมาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวนมาก

แตกต่างกับรูปแบบการสอนแบบฐานสมรรถนะ (Competency-based) ที่เน้นเรื่องพฤติกรรมผู้เรียนเป็นหลัก สนใจและให้ความสำคัญกับความสามารถ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะและความสามารถด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียน

การโค้ชเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ

ศาสตราจารย์ David McClellan ของมหาวิทยาลัย Harvard อธิบายว่า สมรรถนะเป็นคุณสมบัติที่ทำนายความสำเร็จในการทำงานได้ดีกว่าเชาวน์ปัญญา (Intelligence) จึงควรใช้เป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพราะเป็นความสามารถในระดับการใช้ชีวิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อรูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไป บทบาทและหน้าที่ครูก็ย่อมเปลี่ยนตาม จากที่เคยเป็นครูผู้สอน ถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว ก็ต้องสวมบทบาทใหม่ในฐานะโค้ช (Coach) ที่คอยสังเกตพฤติกรรม พร้อมให้คำแนะนำและกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามเป้าหมาย ไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนมาต่อยอดและปรับใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้.

4 เทคนิค ช่วยกระตุ้นการสอนสมรรถนะ!
ถ้าคุณครูต้องเป็นโค้ชจำเป็น เพื่อฝึกผู้เรียนให้ได้สมรรถนะตามเป้าหมายแล้ว คุณครูอาจต้องมียุทธวิธีหรือเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้เป็นตัวช่วยให้ครูใช้เลือกวิธีที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเฉียบคม รู้ว่าสถานการณ์ไหนต้องใช้วิธีอะไร กับผู้เรียนคนใด

 
4 เทคนิคนี้ ช่วยกระตุ้นการสอนแบบสมรรถนะ ให้ครูสอนไว ผู้เรียนเข้าใจ ปฏิบัติและเห็นผลลัพธ์ได้จริง!

อย่าทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ครูต้องทำตัวไม่รู้บ้าง สอบถามผู้เรียนบ้าง ให้ผู้เรียนได้ออกความคิดเห็น ได้ตอบ อย่าให้ผู้เรียนรู้สึกพึ่งพิงแต่คุณครู จนไม่ยอมใช้ความสามารถที่ตัวเองมี และไม่ยอมคิดในสิ่งที่แตกต่าง
 
อย่าขัดจังหวะโดยไม่จำเป็น
หมายถึงคุณครูต้องปล่อยให้ผู้เรียนจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติกิจกรรม อย่าไปขัดจังหวะ หรือรบกวนสมาธิของผู้เรียนถ้าไม่จำเป็น เพราะการเรียนเป็นกระบวนการที่อาศัยความต่อเนื่องของการคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรม แต่ถ้าหากครูเห็นว่า ผู้เรียนกำลังเข้าใจในสิ่งที่เรียนแบบคลาดเคลื่อน เทคนิค การตั้งคำถามเพื่อให้ต่อมเอ๊ะ! ผู้เรียนทำงาน ก็มีความสำคัญมาก ๆ เพราะจะช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการคิด แล้วนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมอย่างเต็มใจ
 
ชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้อง และเติมกำลังใจให้กัน
กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายการศึกษาจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งครูและผู้เรียนก็ต้องปรับตัว และหากว่าผู้เรียนสับสน ไม่เข้าใจ หรือทำงาน กิจกรรมไม่ถูกต้อง คุณครูต้องรีบให้กำลังใจในความมุ่งมั่นก่อนเป็นลำดับแรก แล้วค่อย ๆ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง จุดสำคัญของเทคนิคนี้ คือการที่คุณครูทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แต่ห้ามทำแทนเด็ดขาด! เพราะการทำแทนถือเป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนวิธีหนึ่ง
 
ให้ผู้เรียนเห็นความสามารถของตัวเอง
เทคนิคนี้ครูต้องใช้การสังเกตพฤติกรรมขั้นสูง เพราะหากคุณครูจะอยากทราบว่าผู้เรียนคนไหนมีแววหรือมีศักยภาพด้านใด ต้องใช้การสังเกต การเอาใจใส่ เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวเองมีสมรรถนะเด่นอะไร แล้วสามารถพัฒนาสมรรถนะนั้นอย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้ความสามารถของตัวเอง และมี Growth mindset ที่เข้มแข็งมากขึ้น
 
ผู้เรียนที่มีสมรรถนะ จะมีโอกาสก้าวหน้าในการประกอบอาชีพและสร้างสรรค์นวัตกรรมในอาชีพได้ การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนด้วยการโค้ชของผู้สอน ถือเป็นเครื่องมือกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะ และเกิดเป็น Growth mindset ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : www.trueplookpanya.com, http://krukob.com และ www.curriculumandlearning.com

ที่มา : https://www.aksorn.com/en/4techniques-create-teacher-as-coach