เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้ทั่วไป
ที่มาของไพ่ป๊อก
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ที่มาของไพ่ป๊อก (อ่าน 4099 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3910
ที่มาของไพ่ป๊อก
เมื่อ:
กรกฎาคม 25, 2015, 09:07:28 AM
ไพ่ป๊อก หรือเรียกกันทั่วไปว่า ไพ่ ทำจากแผ่นพลาสติกหรือกระดาษแข็งขนาดประมาณฝ่ามือใช้เพื่อการเล่นเกมไพ่ มีรูปร่างและจำนวนหน้าหรือใบแตกต่างกันไปตามชนิดของไพ่ แต่ชนิดหรือแบบที่นิยมมากที่สุด หน้าไพ่แบบชาติตะวันตก คือไพ่หนึ่งสำรับจะมีจำนวน 52 ใบ ใน 52 ใบ จะหมายถึง สัปดาห์ทั้งหมดใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เมื่อนำเลขมาบวกกันแล้วจะได้ 365 วัน ก็เท่ากับ 1 ปี
ว่ากันว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากฮินดูสถาน ในปีคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1953 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อว่า
นายเกิง โกเนอร์ (Gungoneur)
ได้เป็นผู้คิดค้นทำไพ่ป๊อกขึ้นโดยคิดจำนวนของไพ่ป๊อกที่ใช้เล่นซึ่งมีจำนวน 52 ใบ โดยให้ตรงกับจำนวนสัปดาห์ใน 1 ปี
โดยมีหน้าไพ่ 4 หน้า คือ
1.โพธิ์ดำ ?
2.โพธิ์แดง ?
3.ข้าวหลามตัด ?
4.ดอกจิก ?
ความหมายเกี่ยวกับกาลเวลาของวันคือ
สีแดงหมายถึง กลางวัน
ส่วนสีดำหมายถึง กลางคืน
โดยจะแบ่งออกเป็นตามฤดูกาล, วัยอายุ, กษัตริย์ เรียงตามลำดับดังนี้
โพธิ์แดง คือ ฤดูใบไม้ผลิ, วัยเยาว์หรือเด็ก, ชาร์เลอมองค์ (Charlemagne)
ข้าวหลามตัด คือ ฤดูร้อน, วัยหนุ่มสาวหรือวัยรุ่น, อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
ดอกจิก คือ ฤดูใบไม้ร่วง, วัยกลางคน หรือวัยหนุ่มใหญ่, จูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar)
โพธิ์ดำ คือ ฤดูหนาว, วัยชราหรือสูงอายุ, กษัตริย์เดวิด (David)
ตัวควีน
หมายถึง พระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra) พระนางเอสเธอร์ (Esther) พระนางแห่งซีบาร์ (Sheba) และ พระนางโบดิเซีย (Boadicea) เป็นตัวแทนของไพ่ควีน
และเหล่า
Jack
ก็หมายถึงวีระบุรุษคนสำคัญต่างๆ ของโลก ของแถมๆ
โพธิ์แดง คือ ความรัก
ดอกจิก คือ ความรู้
ข้าวหลามตัด คือ สินทรัพย์
โพธิ์ดำ คือ ความตาย
และนายเกิง โกเนอร์ ผู้นี้เองที่เป็นผู้ที่กำหนดไพ่ขึ้นมาแต่ละใบซึ่งล้วนมีความหมาย และ ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะทราบที่มาของไพ่ป๊อกนี้
ขอบคุณที่มา:
http://armsuey.multiply.com/
http://www.vcharkarn.com/
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้ทั่วไป
ที่มาของไพ่ป๊อก
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?