ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อสั่งการจากเลขาธิการ กศน. (จังหวัดสุโขทัย 12-13 พฤศจิกายน 2558)  (อ่าน 5391 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ข้อสั่งการจากเลขาธิการ กศน. (จังหวัดสุโขทัย 12-13 พฤศจิกายน 2558) โดย อ.เอกชัย ยุติศรี

1) ครูทุกประเภท เมื่อสอน กศ.ขั้นพื้นฐาน ถือเป็น "ครูประจำกลุ่ม" ทั้งหมด กศน.อำเภอ ต้องประกาศจัดตั้งกลุ่มทุกภาคเรียน แล้วจึงแต่งตั้ง ครูประจำกลุ่มครูประจำกลุ่มที่เป็นข้าราชการครู กศน. ได้หารือกรมบัญชีกลางแล้ว แม้จะสอนนอกเวลาราชการ เบิกไม่ได้ เพราะเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรง ให้สอนโดยไม่เบิกให้ครูทุกประเภท รวมทั้งครู ปวช.ศฝช., วิทยากรนำชมของ ศว. ทำคำรับรองฯกับ กศน.อำเภอ และ กศน.อำเภอทำคำรับรองฯกับ กศน.จังหวัด

2) จำนวน นศ.ในแต่ละกลุ่ม ปรับเปลี่ยนจากประถม 35 ม.ต้น-ปลาย 40 เป็นกลุ่มละไม่เกิน 40 คนเท่ากันทุกระดับ

3) ครู กศน.ตำบล ที่ทำหน้าที่หัวหน้า กศน.ตำบล รวมทั้งครู ศรช.ที่ทำหน้าที่หัวหน้า กศน.ตำบล ให้สอน กศ.ขั้นพื้นฐานกลุ่มเดียว แต่ให้ประสานงาน กศ.ต่อเนื่องและ กศ.ตามอัธยาศัย ให้รวมกลุ่มเป้าหมายได้ 100 คน ส่วนครู ศรช.ที่สอน กศ.ขั้นพื้นฐานอย่างเดียวให้สอนได้ถึง 3-4 กลุ่ม

4) ครูอาสาสมัคร เน้นผู้ไม่รู้หนังสือ ไม่น้อยกว่า 35 คน รวมปีละไม่น้อยกว่า 70 คน ( 70 คนนี้ ไม่ซ้ำกัน เพราะหลักสูตรผู้ไม่รู้หนังสือเป็นหลักสูตร 200 ชม.จบ แต่ถ้ามีผู้ไม่รู้หนังสือไม่ครบ 35 คน ให้สอนระดับประถม ม.ต้น-ปลาย ด้วย ให้รวมเป็นภาคเรียนละ 60 คน แต่ 60 คนในแต่ละภาคอาจเป็นคนซ้ำกันเพราะระดับประถม ม.ต้น-ปลาย เป็นหลักสูตร 2 ปี ไม่จบในภาคเรียนเดียว )

5) ครูประจำกลุ่มอื่นๆ (ทหาร/เรือนจำ-สถานพินิจ/อสม.) รับผิดชอบ 1 กลุ่ม ไม่เกิน 40 คน เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายหัว

6) ครู ศศช.รับผิดชอบ นศ.กลุ่มละ 40 คน ครู ศรช.ห้ามเบิกค่าตอบแทนครูประจำกลุ่มอื่นอีก

7) โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับคนไทย ( อายุ 15-59 ปี ) กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ 80,000 คน ใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พุทธศักราช 2557 เป็นหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งเป็นหลักสูตร 200 ชั่วโมง มี 12 สภาพ มีคำให้เรียน 988 คำ และสถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ มาใช้ควบคู่กับหลักสูตรแกนกลางควรใช้ข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือจาก จปฐ.วิธีการเรียนรู้ ให้ใช้วิธี แจกลูกสะกดคำ
งบผู้ไม่รู้หนังสือ เป็นงบดำเนินงาน สอนได้ 3 รูปแบบ
        - จ้างสอน ( 500 บาท/หัว )
        - ให้ครูอาสาฯ ครู ศศช. หรือครู กศน.อื่น สอน
        - จับคู่สอน เช่น สามีสอนภรรยา, นศ.กศ.ขั้นพื้นฐานสอน ได้ กพช.( ในกรณีที่ ครูหรือ นศ.กศน.สอนเอง ให้นำเงิน 500 บาทไปเบิกจ่ายอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ )ถ้ารู้หนังสือ 800 คำ ผ่านการวัดการประเมิน ให้วุฒิบัตรลงนามโดย ผอ.กศน.อำเภอ ( กลุ่มพัฒนา กศน.จะออกแบบให้ ) กศน.ตำบลต้องทำแผนการจัดสอนผู้ไม่รู้หนังสือ ( ระบุ ชื่อผู้ไม่รู้หนังสือ-รูปแบบการสอน-ชื่อผู้สอน-วันเริ่มสอน-วิธีการประเมิน และเตรียมช่องไว้เติม ผลการประเมิน-วุฒิบัตร ) ให้เสร็จภายใน ม.ค.59

8.) กศ.ต่อเนื่อง 4 ประเภท ( พัฒนาอาชีพ, พัฒนาทักษะชีวิต, พัฒนาสังคมและชุมชน, เทคโนโลยีที่เหมาะสม ) จัดได้ 3 วิธี
        - กลุ่มสนใจ ( ไม่เกิน 30 ชั่วโมง ไม่มีค่าวัสดุ )
        - หลักสูตรระยะสั้น ( มากกว่า 30 ชั่วโมง )
        - ฝึกอบรม ( กำลังขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง )โดย ประเภทพัฒนาอาชีพ ให้จัดได้ 2 วิธีคือ กลุ่มสนใจ กับหลักสูตรระยะสั้น ส่วนอีก 3 ประเภท จัดได้ 3 วิธี ใบสำคัญวิชาชีพ ออกแบบ/ทำเองได้ ควรให้ผู้ประกอบการ/แหล่งเรียนรู้ ร่วมลงนามในใบสำคัญด้วย

9) การศึกษาตามอัธยาศัย แหล่งเรียนรู้ชุมมชน อย่างน้อยตำบลละ 2 แห่ง

10) บ้านหนังสือชุมชน ให้แต่ละตำบลกำหนดเป้าเอง โดยเลือกบ้านหนังสือที่

        - ยังมีการดำเนินการต่อเนื่อง
        - มีพื้นที่ชัดเจน
        - มีรูปแบบชัดเจนเป็นสัดส่วน( รีบแจ้งเพิ่มจากที่เคยสำรวจส่งแล้วได้ )

11) โครงการบรรณสัญจร กำหนดเป้าเป็นจำนวนหนังสือ ( เล่ม) ที่จะรับบริจาค เป้าทั้งประเทศ 10 ล้านเล่ม ( องค์การค้าฯ จะบริจาคหนังสือให้ กศน. 1 ล้านเล่ม )

12) โครงการศูนย์ข้อมูล ฐานข้อมูล กศน.ตำบล ต้องทำทุกตำบล งบประมาณตำบลละ 3,000 บาท

13) โครงการกีฬา ให้จัดแข่งขันระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ภาค ส่วนระดับประเทศจะหารืออีกครั้ง ประเภทกีฬาจัดตามความเหมาะสม

14) โครงการจัดสอนภาษาอังกฤษ ให้รับสมัครผู้เรียน และรับสมัครอาสาสมัครผู้สอน เป็นสาขา ๆ เช่น มัคคุเทศก์, รถรับจ้าง, ร้านนวดแผนไทย จัดในพื้นที่
        - พื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
        - เป็นเมืองท่องเที่ยว หรือมีชาวต่างชาติเข้ามามาก เช่น อยุธยา
        - จังหวัดทั่วไป
        ใช้ครูคนไทย สอนภาษาอังกฤษให้คนไทย จะสื่อสารกันได้ดีกว่า

15) โครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด ทุกอำเภอต้องตั้งกองลูกเสืออย่างน้อย 1 กอง ( อย่างน้อย 4 หมู่ ๆ ละ 8 คน ) และ/หรือ ชมรมยุวกาชาด 40 คน แล้วอบรมในเรื่อง
        - การปฐมพยาบาล ( ประสานโรงพยาบาล )
        - การดูแลผู้สูงอายุ
        - การป้องันภัยพิบัติ
        - องค์ความรู้ตามรอยพระยุคลบาท
        - การอบรมลูกเสือ ต้องทำตามหลักสูตรลูกเสือ

16) โครงการสอนทำบัญชีครัวเรือน ( ทุกตำบลต้องทำ )
        - นศ.กศน.ทุกคน ต้องทำบัญชีครัวเรือน
        - ครู กศน.ทุกคน ต้องทำบัญชีครัวเรือน
        - ประชาชนทั่วไป ทุกหมู่บ้าน ๆ ละ ..... คน ( ให้กำหนด )ทำบัญชีแล้วต้องวิเคราะห์ว่ารายรับรายจ่ายเหมาะสมหรือไม่อย่างไร และต่อเนื่องด้วยโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมการทำบัญชี ครัวเรือนแล้ว ( ให้สอดแทรกเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง วิชาชีพต่าง ๆ ด้วย )

17) หลักสูตรใหม่ จะเพิ่มเรื่องการบริหารการเงิน ( เศรษฐกิจชุมชน ) จะพยายามให้เริ่มใช้หลักสูตรใหม่ 16 พ.ค.59 ( ภาคเรียนหน้า )

18) โครงการจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ทำทุกตำบล ๆ ละ 1 หมู่บ้าน ( หมู่บ้านที่ในหลวงทรงงาน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง) หมู่บ้านละ 2 คน งบประมาณคนละ 400 บาท ( หมู่บ้านละ 800 บาท ) ให้ 2 คนนี้เรียนรู้กิจกรรมที่ทรงงานในพื้นที่ หรือพื้นที่ใกล้เคียง ว่าทรงงานเรื่องอะไรทำอย่างไร ( เช่นเรื่องการแกล้งดินเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ) จนอธิบายได้ กลั่นกรองเป็นองค์ความรู้ ตรวจสอบกับ กอ.รมน.จังหวัด ขึ้นเว็บไซต์ แล้วเป็นแกนนำเผยแพร่แก่คนทั้งหมู่บ้านด้วยวิธีการต่าง ๆ ( 2 คนนี้อาจเป็นลูกเสือ/ยุวกาชาด กศน.)

18) เชิญชวนร่วมกิจกรรม Bike for dad โดย ร่วม+สนับสนุน
        - ช่วยประชาสัมพันธ์
        - นำขบวนจักรยานไปร่วม ( มีสัญลักษณ์ กศน.ด้วย )
        - ช่วยจังหวัด เช่นร่วมบริการน้ำดื่ม จราจร ฯลฯ อาจใช้ลูกเสือ กศน.ช่วย

19) โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการเลือกตั้งประจำตำบล ให้ครบทุกตำบล มีภารกิจเร่งด่วน คือทำประชามติรัฐธรรมนูญ โดย กศน.ตำบลเป็นศูนย์ประสานงาน มีงบประมาณพอสมควร

20) โครงการทวิศึกษา ( เรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย ) เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาสายอาชีพ ผลิตแรงงานรองรับตลาดแรงงาน ผู้เรียนจบได้วุฒิ 2 ใบ คือ ม.ปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ นำร่องในภาค 1/2558 จำนวน 24 แห่ง ใน 22 จังหวัดแล้ว สถานศึกษาที่จะจัดต้องไปลงนามความร่วมกับ สถานศึกษาสังกัด สอศ. ใช้เวลาเรียน 3 ปี เป็นโครงการสำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีงานทำ ( ถ้าเป็น ปวช. ต้องทำงานอยู่ในสถานประกอบการแล้วเท่านั้น ต้องตรวจสอบ )ให้อยู่ในแผนฯอำเภอ ไม่อยู่ในแผนฯตำบล

21) โครงกาปลูกป่าสร้างรายได้ ในปี 2559 จะขยายกลุ่มเป้าหมาย 1,400 กว่าราย 4,000 ไร่ (ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไม้ 5 ระดับคือ ไม้สูง ไม้กลาง ไม้พุ่มเตี้ย ไม้เรี่ยดิน หัวใต้ดิน )

22) การศึกษาทางไกล ควรให้ครูอาสาฯเป็นครูที่ปรึกษา นับรายหัว อยู่ในแผนฯอำเภอ ไม่อยู่ในแผนฯตำบล

23) โครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ
        - หลักสูตรระยะสั้นการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชม. จังหวัดละ 1 อำเภอ ๆ ละ 1 ห้อง ๆ ละ 20 คน จบแล้วสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพการดูแลผู้สูงอายุได้
        - หลักสูตรระยะสั้นการดูแลผู้สูงอายุ 70 ชม. จังหวัดละ 1 อำเภอ ๆ ละ 1 ห้อง ๆ ละ 20 คน โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ทุกอำเภอ ๆ ละ 5 ตำบล ๆ ละ 20 คน ให้ทุกอำเภอตั้งชมรมผู้สูงอายุในระดับตำบล/อำเภอ

24) โครงการของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ( ETV ) สื่อติวเตอร์ที่ส่งให้ทุกอำเภอ ถ้าอำเภอไหนไม่ตอบรับ ต่อไปจะไม่ส่งให้อีกแล้ว

25) สป.ศธ.จ่ายค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ กศน.จังหวัด อำเภอ/เขต ห้องสมุดฯ ศฝช. ศว. ให้ทั้งหมด ส่วนค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ กศน.ตำบล เราจ่ายเอง

26) แผนฯตำบล ไม่ต้องทำเป็นรูปเล่ม แต่มีฐานข้อมูล เน้นข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
        แผนฯอำเภอ=รวมแผนฯตำบล แผนฯจังหวัด=รวมแผนฯอำเภอ
        แผนฯตำบลไม่ต้องกรอกงบประมาณเงินอุดหนุน กรอกเฉพาะแผนฯอำเภอ/จังหวัด

27) เงินอุดหนุนรายหัว ในแต่ละภาคเรียนจัดสรรให้ครึ่งหนึ่งของอัตราต่อหัว โดยยึดจำนวน นศ.ภาคเรียนที่ผ่านมา ส่วนค่าซื้อหนังสือแบบเรียน จัดสรรเต็มตามอัตราต่อหัว แต่จัดสรรให้เพียง 60 % ของจำนวน นศ. โดยยึดจำนวน นศ.ภาคเรียนที่ผ่านมา

28) จังหวัดต้องตรวจสอบแผน/คำรับรองของ ตำบล/จังหวัด ในโปรแกรมเพื่อการบริหารจัดการ ให้ถูกต้องเรียบร้อยดีก่อน จึงคลิก "ยืนยัน" เพราะถ้าจังหวัดคลิก "ยืนยัน" ไปแล้ว ระบบจะล็อค ตำบล/อำเภอจะปรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้

29) ข้อมูล นศ.ขั้นพื้นฐานภาค 2/58 ให้อัพโหลดและตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับอำเภออื่นเป็นระยะ ๆให้เสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. และประสานงานกับอำเภอที่ซ้ำซ้อนพร้อมปรับแก้ไขอัพโหลดใหม่ภายในวันที่ 13 ธ.ค. ถ้ายังมี นศ.ซ้ำซ้อนอีก จะไม่ได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนสำหรับ นศ.รายนั้นทั้ง 2 อำเภอ

30) ทอดกฐินพระราชทาน ปี 2559 ที่ วัดศรีมงคลใต้ จังหวัดมุกดาหาร

การซื้อหรือจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียน

- ห้ามใช้วิธีพิเศษ หรือวิธีกรณีพิเศษ ก่อนที่จะดำเนินการโดยวิธีเปิดให้มีการแข่งขันกัน
- กรณีใช้วิธีตกลงราคา หรือวิธีเปิดให้มีการแข่งขันกัน จะต้องมีการกำหนดราคากลาง
- ราคากลาง ให้สืบค้นจากราคาในท้องตลาดที่มีการซื้อขายหนังสือของ กศน. หรือราคาซื้อขายย้อนหลัง 2 ปีงบประมาณ และให้นำราคาต่ำสุดมาเป็นราคากลาง

ขอขอบคุณบทความจาก อ.เอกชัย ยุติศรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2015, 09:44:21 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »