ผู้เขียน หัวข้อ: การศึกษาไทยจะยกระดับสู่การศึกษาสากลได้อย่างไร?  (อ่าน 1857 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” หรือ “ยุค 4.0” ซึ่งคำว่า 4.0 หมายถึง ลำดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในครั้งที่ 4 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทางด้านการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค 4.0 จึงทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้

ปัจจัยอะไรบ้างที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงการศึกษาในระบบเดิมไปสู่การศึกษา 4.0 (Education 4.0)

ปัจจัยที่ 1 เป็นเรื่องโครงสร้างของ สาธารณูปโภค ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ได้มาก มีการเข้าถึงชุมชนและในพื้นที่โรงเรียน รวมถึงทางกระทรวงศึกษาธิการก็มีการเร่งแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนต่างๆ มีการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น อาจจะยกเว้นบางพื้นที่ที่ประชากรเบาบางก็แก้ปัญหาด้วยระบบไร้สายและดาวเทียมตามลำดับ

ปัจจัยที่ 2 คือ เรื่องของผู้ใช้งาน หลักๆ คือ ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ระบบที่ใช้งานง่าย โดยระบบที่จูงใจให้เข้าใช้งานสูงสุดคือ การพัฒนาความสำเร็จของนักเรียนหรือตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่ปัจจัยที่สำคัญสุดคือ ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literature) ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรุ่นวัยของคน (Generation) ความแตกต่างในทุกด้านของรุ่นวัยที่มีอยู่ (Generationgap) ถ้าบริหารความแตกต่างด้านนี้ได้ดีก็ไม่น่าเป็นปัญหา

ปัจจัยที่ 3 คือ ระบบ ซึ่งระบบในที่นี้หมายถึง องค์รวมของนิเวศน์ดิจิทัลทางการศึกษา (Digital Educational Ecosystem) มีทั้งอินฟรา-สตรักเจอร์ เซิร์ฟเวอร์คลาวด์คอมพิวติ้งแพลตฟอร์ม สื่อดิจิทัลเนื้อหา ทรัพยากรการสอน สื่อการเรียนรู้สื่อที่สร้างเพิ่มเติม การใช้งาน การอบรม การสนับสนุน การแก้ปัญหา ฯลฯ ในส่วนนี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจ รู้จักเลือกใช้ เครื่องมือ บริหารทรัพยากรเก่งและมียุทธศาสตร์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ


สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อความสำเร็จในระบบการศึกษามี4 ฝ่าย ได้แก่
1. ผู้บริหารการศึกษาหรือโรงเรียน
2. ผู้สอนหรือครู
3. นักเรียนหรือผู้เรียน
4. ผู้ปกครอง



ในระบบการศึกษาที่ระดับต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา หมายถึงตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ Lower Education การศึกษาระดับนี้ผู้ปกครองจะมีบทบาทสูงมากในผลลัพธ์ทางการเรียนที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ความสำเร็จของนักเรียนนอกเหนือจาการดูแลเอาใจใส่ ดังนั้น หน้าที่และบทบาทของผู้ปกครอง (Parental Guidance) มีคววามสำคัญมากต่อการเติบโตและการพัฒนาศักยภาพ รวมไปถึงการมีทัศนคติใหม่ที่ดี และเหมาะสมเป็นโค้ชให้ลูกเป็น Co-Educational Guide ด้วย คือ การสนับสนุนในทุกด้านที่จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนโรงเรียนหรือครูก็ควรจะปรับบทบาทไปตามความคาดหวังของสังคมและผู้ปกครองด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าตัวผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อาทิ เล่น เรียนรู้ สนุกสนาน ร่าเริง ตามวัย เพียงแต่ผู้ใหญ่ควรมีความเข้าใจ สร้างสภาพแวดล้อม จัดหาเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด

ซึ่งที่จะสามารถช่วยยกระดับการศึกษาไทยให้เทียบเท่าระดับสากลได้นั้น ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ส่วน เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แนวคิด “พัฒนาการศึกษาไทยขึ้นสู่ระดับสากล” เกิดขึ้นได้จริง โดยเฉพาะการนำระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้การทำหน้าที่ที่มีอยู่ของทุกฝ่ายง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มีระเบียบ เพราะระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลจะเป็นระบบแกนกลางช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

ที่มา https://www.ignitethailand.org/content/7337/ignite