ผู้เขียน หัวข้อ: แปะก๊วย...ดาบสองคมที่ควรระวัง  (อ่าน 11654 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3928
เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 08:27:57 AM


อยากบำรุงสมองต้องกินแปะก๊วย เรื่องนี้หลายท่านคงทราบโดยทั่วกัน แต่ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนมีสองด้านเสมอ เมื่อมีดีสุดขั้วก็ชั่ว เอ๊ย! ร้ายสุดโต่งได้เหมือนกัน ใช่ครับ...แปะก๊วยเองก็มีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวของมัน

คุณประโยชน์ของแปะก๊วย

ใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อีกทั้งยังชะลอความแก่ได้ด้วย ฤทธิ์การยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้การไหลเวียนของหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอยดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง จึงทำให้ความสามารถในการทำงานและตัดสินใจดี ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้สูบฉีดไปยังผิวหนังได้ดี มีฤทธิ์ช่วยให้ความจำดีขึ้น ยับยั้งความเสื่อมของสมอง

ด้วยความที่รู้ว่าแปะก๊วยมีประโยชน์ต่อระบบสมอง ถึงคลั่งไคล้การกินเมล็ดแปะก๊วย ไม่ว่าจะนำมาต้มกับลำไยตากแห้ง ใส่น้ำแข็งดื่มกินเย็นชื่นใจ หรือจะนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารไม่ว่าจะข้าวผัด, ผัดผัก ต่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง ไปซื้อเมล็ดแปะก๊วยที่เยาวราช อาแปะคนขายให้ความรู้มาว่า "จริงๆแล้วเมล็ดมันไม่ได้มีฤทธิ์ช่วยขนาดนั้น ถ้ามีฤทธิ์แบบตรงจุดที่สุดคือที่ส่วนใบ" อ๋อ....นั่นสินะ ถึงได้มีสารสะกัดจากใบแปะก๊วยออกมาจำหน่ายเยอะแยะ

โทษมหันต์ของแปะก๊วย

อย่างที่บอกว่าทุกสิ่งมีสองด้านดีและร้าย แปะก๊วยก็เปรียบเหมือนดาบสองคม หากใช้ไม่ดีก็มีโทษมหันต์เลยครับ เพราะมีผลไปขัดขวางการเกาะกันของเกร็ดเลือด ดังนั้นผู้ใช้ยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด (Anti-Coagulants) เช่น ยา warfarin และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดต้องระวังให้ดีค่ะ อีกทั้งหากรับประทานสารสะกัดแปะก๊วยมากเกินไปอาจมีผลข้างเคียงทำให้ ปวดศีรษะ, มึนงง, เวียนศีรษะ ทางเดินอาหารปั่นป่วน หรืออาจเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง, ระบบหายใจและหลอดเลือดผิดปกติ  ง่วงซึม ระบบการนอนหลับก็ปั่นป่วนไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ระบุข้อกำหนดในการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย ดังนี้

(1) ในการใช้สารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นยาแผนปัจจุบัน จะต้องมีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ รวมทั้งโรคของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ โดยจัดเป็นยาอันตราย ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันและไม่ให้มีโฆษณาสรรพคุณต่อสาธารณะ

(2) ในการใช้สารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นยาแผนโบราณ ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และอนุญาตสรรพคุณของตำรับเป็นยาบำรุงร่างกาย

(3) ในการใช้สารสกัดแป๊ะก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหารและจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใดๆในการบำบัดรักษาโรคเลย"



ที่มา : http://women.postjung.com/692445.html