เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
1 - 10 อันดับ สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: 1 - 10 อันดับ สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน (อ่าน 3773 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3928
1 - 10 อันดับ สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน
เมื่อ:
สิงหาคม 15, 2015, 12:32:25 AM
10 อันดับ สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน
คนเราในสังคมทุกวันนี้นึกถึงความสะดวกสบายมากกว่าความจริงของอันตรายที่อยู่รอบตัวเรา ดังเช่น อาหารที่เรากินทุกวันนี้มักจะมีเรื่องที่น่าตกใจตลอดทุกครั้ง ว่ามีสารเคมีที่ไม่น่าเชื่อว่าแฝงอยู่ในอาหารได้อย่างไร ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราเกิดอันตราย อีกทั้งยังไม่มีความรู้ว่าสารดังกล่าวคืออะไร ทำไมถึงต้องใส่ และมีโทษอย่างไร ด้วยสาเหตุนี้ทำให้มันยังคงอยู่ในอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารจานด่วนที่เรากินจนกลายเป็นชีวิตประจำวัน และนี่คือ 10 สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน
10. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
มาเริ่มต้นอันดับที่ 10 กัน ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่เกิดจากเกิดจากเครื่องยนต์ เครื่องจักรที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันเตา เบนซิน ดีเซล ถ่านหิน เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ไวไฟ ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหาร เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรีย, ยีสต์ และเชื้อรา (พูดง่ายๆ คือสารกันบูด) อีกทั้งยังเป็นสารฟอกสี ดังนั้นอาหารที่ใช้เป็นจึงมีทั้งอาหารสดและอาหารแห้งเพื่อกันไม่ให้เน่าหรือขึ้นรา เช่น ผลไม้สด (เช่นลำไย), อาหารแห้ง, ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน, ผลไม้ดอง, น้ำตาลทราย, น้ำเชื่อม, ก๋วยเตี๋ยว, วุ้นเส้น, แป้ง, อาหารแช่แข็ง, เบียร์, ไวน์, เจลาติน แม้ว่าการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด แต่ยังไงสารดังกล่าวก็ได้ทำลายวิตามิน B1 และไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่มีความไวต่อสารนี้ หากรับประทานมากอาจตายได้ อีกทั้งเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์น้อยไม่คุ้มค่ากับการใช้จ่าย
9. ไนเตรท (NO3 )
อันดับที่ 9 ได้แก่ ไนเตรท (NO3 ) เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ใช้ในรูปของเกลือ โซเดียมไนเตรท และโปแตสเซียมไนเตรทหรือดินประสิว ซึ่งใช้เป็นสารกันเสียและเพิ่มสีอาหาร ในเมืองนอกมักจะนิยมใช้ในเบคอนหรือแฮมและชีส เป็นที่แน่นอนว่ามันถูกพบในเบอร์เกอร์เนื้อย่างที่เพื่อนๆ กินประจำอย่างแน่นอน อีกทั้งยังทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึ่งประสงค์สำหรับผู้ที่บริโภคประจำ คือ เกิดอาการปวดหัว อาการตัวเขียว หายใจไม่ออกเพราะมีผลต่อออกซิเจนในเลือด
8. เซลลูโลส
อันดับที่ 8 ได้แก่ เซลลูโลส เป็นสารที่มีมากจากพืช เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำยากหรือไม่ละลายน้ำเลย ทดแทนไขมันต่ำ มันถูกพบในแป้งและน้ำมัน มักจะนำมาทำให้ข้นใช้ปรุงอาหารและมีรสชาติเหมือนน้ำสลัด น้ำเชื่อมสตอเบอรรี่มัฟฟินชีส แต่ที่น่าตกใจคือเซลลูโลสที่ใช้อาหารนั้นทำมาจากเยื่อไม้แปรรูป โดยต้มเยื่อกระดาษในสารเคมีและทำซึ่งทำเป็นแบบผงบรรจุก่อนที่จะถูกนำไปทำเป็นอาหารต่อไป
7. ซิลิกอนไดออกไซด์
อันดับที่ 7 ได้แก่ ซิลิกอนไดออกไซด์ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซึ่งส่วนมากนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมกระจกหรือแก้ว แต่เป็นที่น่าเหลือเชื่อว่ามันมีการผสมในอาหารด้วย เนื่องด้วยจากคุณสมบัติป้องกันการจับตัวเป็นก้อน มันจึงมักจะถูกใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารผง อาหารเสริมสุขภาพและสารเติมแต่งอาหารแปรรูป เป็นจำนวนมาก ถึงทุกวันนี้จะมีการยืนยันว่า มันไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคแบบเห็นได้ชัด แต่ก็ตกใจว่ามันอยู่ในอาหารที่เรากินทุกวันได้อย่างไรกัน
6. แอล-ซีสเตอีน
อันดับที่ 6 คือ แอล-ซีสเตอีน เป็นกรดอะมิโนที่เพิ่มประสิทธิภาพแป้งนุ่มขึ้นและยืดหยุ่นขึ้น นิยมมาใส่ในแป้งโดนัท ที่น่าตกใจคือแหล่งที่พบสารนี้ อยู่ในเส้นผมและขนเป็ด ประมาณ 80%
5. ไดเมทิลโพลีไซโลเซน
อันดับที่ 5 คือ ไดเมทิลโพลีไซโลเซน มีฤทธิ์เป็นสารป้องกันการเกิดฟอง และช่วยบรรเทาอาการที่มีแก๊สในกระเพาะมาก ในร้านอาหารจานด่วนนิยมใช้ป้องกันไม่ให้น้ำมันเดือดเกิดฟองกระเด็นหลังการใช้ช้ำหลายครั้งเวลาจุ่มอาหารลงในถังที่ลวกน้ำมัน เป็นที่แน่นอนว่ามันมักจะอยู่ในไก่นัตเก็ต มันฝรั่งทอดที่เรากินกันทุกวัน แต่มันก็ไม่เป็นพิษอย่างที่องค์การอนามัยโลกประกาศเอาไว้ และในประเทศอื่น ๆ ก็พบวิธีนอกเหนือจากการใช้ไดเมทิลโพลีโซโลเซนไม่ให้น้ำมันเกิดฟอง ทำให้วิธีนี้อาจจะหายไปในอนาคตก็เป็นได้
4. สีโคชินีล
อันดับที่ 4 คือ สีโคชินีล เป็นสีผสมอาหารที่ได้จากแมลงโคชินีลตัวเมียที่กำลังมีไข่ แมลงนี้เป็นเพลี้ยหอยชนิดหนึ่งที่มีขนปุยสีขาวปกคลุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dactylopius coccus Costa เป็นแมลงพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลางและประเทศแถบเทือกเขาแอนดีสตะวันตกของอเมริกาใต้ (อีกแบบก็มาจากกระบองเพชร) ซึ่งสีออกมาจะเป็นสีแดงฉ่ำๆ ที่มักนิยมมาใช้ในเครื่องสำอาง และนอกจากนี้ในอาหารสามารถนำมาเคลือบลูกกวาด เครื่องดื่ม ไส้กรอก แฮม ไอศกรีม นมเปรี้ยว อาหารย่าง ฯลฯ แม้ไม่มีอันตราย แต่เพื่อน ๆ ก็คงตะหนักว่าสิ่งที่เราเห็นทุกวันอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่เราคิดเอาไว้เสมอไป
3. TBHQ Tertiary Butyl Hydro Quinone
อันดับที่ 3 ได้แก่ ทอร์ไทอารี บิวทิล ไฮโดร ควิโนน หรือภาษาอังกฤษ Tertiary Butyl Hydro Quinone เรียกย่อว่า TBHQ เป็นสารกันบูด หรือวัตถุกันหืนที่ได้จากปิโตเลียม ซึ่งเป็นสารที่ใช้เพื่อยืดระยะเวลาการเน่าเสียของอาหาร มักจะนิยมใช้กับอาหารทอด ไขมัน น้ำมันพืช และ น้ำมันสำหรับทอดอาหาร ซึ่งมีการจำกัดการใช้เพียง 0.02% ในอาหาร เพราะหากบริโภคมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้เกิดเนื้องอกในกระเพาะอาหารและเป็นสารก่อมะเร็ง
2. แอมโมเนียมซัลเฟต
อันดับที่ 2 คือ แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นอนินทรีเกลือที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยในดินที่เป็นด่าง นอกจากนี้ยังเป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ ในการใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร เป็นสารเติมแต่ง วัตถุเจือปนอาหาร โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย นำมาใช้ควบคุมความเป็นกรดในแป้งและขนมปัง ใครจะไปรู้ล่ะว่าแฮมเบอร์เกอร์ที่เรากินทุกวันมีปุ๋ยชนิดนี้เป็นส่วนประกอบอยู่ รู้แบบนี้ก็ไม่ค่อยจะอยากกินซะแล้วสิ
1. เมือกสีชมพู
และก็มาถึงอันดับที่ 1 เป็นอันดับสุดท้าย เป็นเรื่องที่น่าตกใจเกี่ยวกับสารที่อยู่ในอาหารจานด่วน จนถูกนำมาแฉมีผลกระทบกระเทือนไปทั่วอเมริกามาแล้ว ?เมือกสีชมพู? หรือ BLBT (Boneless Beef Trimming) ถ้าถามว่ามันคืออะไร มันคือเศษเนื้อที่เหลือจากการชำแหละนำมารวมกันเป็นเนื้อบดสำเร็จรูปนั้นเอง สาเหตุที่น่ากลัวก็คือ เจ้าเศษเนื้อดังกล่าวมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคสูงมาก เพราะว่าเนื้อที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อจากส่วนที่ใกล้ทวารหนัก เศษเนื้อจากกระเพาะมารวมกัน ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์และสารอื่นๆ มาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสารอื่นๆ ที่ว่าเป็นสารตัวเดียวที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้งหลายนั่นเอง จากนั้นก็นำสารเร่งสีมาใส่ให้ดูดีเพื่อให้น่ารับประทาน
ที่สำคัญ มีผลิตภัณฑ์มากมายที่มี ?เมือกสีชมพู? เป็นส่วนประกอบถึง 70% โดยผู้บริโภคไม่รู้เลยว่าอาหารที่ตนกินมีส่วนประกอบอะไรอยู่ ซึ่งผู้ผลิตมักจะไม่ใส่ใจผู้บริโภคและต้องการกำไรที่มากกว่า คนส่วนใหญ่ต่างเรียกอาหารแบบนี้ว่า ?เมือกสีชมพู? มากกว่าอาหาร อีกทั้งทางกฎหมายอเมริกาเองก็มีการยืนยันบอกว่า อาหารลักษณะแบบนี้มีความปลอดภัยดังเช่นอาหารทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้มีรายการข่าว ABC ออกมาแฉเรื่องดังกล่าว ทำให้กระแสต่อต้านดังไปทั่วอเมริกา เดือดร้อนถึงแมคโดนัล ที่โดนกล่าวหาว่าใช้ "เมือกสีชมพู" จนต้องออกมาบอกว่าตนได้เลิกใช้เมือกสีชมพูและเปลี่ยนไปใช้อาหารที่มีความปลอดภัยแทน เป็นระยะเวลานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหาร นอกจากเราจะคิดถึงรสชาติที่แสนอร่อยแล้ว แต่ก็อย่าลืมคำนึงถึงคุณประโยชน์และโทษที่จะตามมาด้วยนะครับ อย่างคติที่ว่า "ตามใจปาก ลำบากท้อง" ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก toptenthailand
http://www.toptenthailand.com
และ
http://www.vcharkarn.com/varticle/44041
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
1 - 10 อันดับ สิ่งที่เหลือเชื่อว่ามันอยู่ในอาหารจานด่วน
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?