ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)  (อ่าน 27249 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
ปรัชญานี้ให้กำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดดั้งเดิมที่การศึกษามักเน้นแต่เนื้อหา สอนให้ท่องจำเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กพัฒนาด้านสติปัญญาอย่างเดียว ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความกล้าและความมั่นใจในตนเองประกอบกับมีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดแนวความคิดปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมขึ้น ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นใน ค.ศ.1870 โดยฟรานซิส ดับเบิ้ลยูปาร์คเกอร์ (Francis W. Parker) ได้เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษาเสียใหม่ เพราะการเรียนแบบเก่าเข้มงวดเรื่องระเบียบวินัย แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมา จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)ได้นำแนวคิดนี้มาทบทวนใหม่ โดยเริ่มงานเขียนชื่อ School of Tomorrow ออกตีพิมพ์ในปีค.ศ.1915 ต่อมามีผู้สนับสนุนมากขึ้นจึงตั้งเป็นสมาคมการศึกษาแบบพิพัฒนาการ (ProgessiveEducation Association) (Kneller 1971 : 47) และนำแนวคิดไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ แต่ก็ถูกจู่โจมตีจากฝ่ายปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรัชญาการศึกษา สารัตถนิยมกลับมาได้รับความนิยมอีก จนสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการนิยมต้องยุบเลิกไป แต่แนวคิดทางการศึกษาปรัชญาพิพัฒนาการนิยมยังคงใช้ในสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นและแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

1 แนวความคิดพื้นฐาน

ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมมีพ้นฐานมาจากปรัชญาลัทธิประจักษ์วาท(Empirism) ซึ่งเกิดในประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต่อมาได้นำอาแนวคิดประจักรวาทมาสร้างเป็นปรัชญาลัทธิใหม่ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น Experimentalism,Pragmatism, Instrumentalism ซึ่งปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมก็มีแนวคิดมาจากปรัชญาดังกล่าวคำว่า พิพัฒน หรือ Progessive หมายถึง ก้าวหน้า เปลี่ยนแปลง ไม่หยุด อยู่กับที่สาระสำคัญของความเป็นจริงและการแสวงหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม บุคคลสามารถแสวงหาความรู้ได้จากประสบการณ์ ประสบการณ์จะนำไปสู่ความรู้ และความรู้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษาจะไม่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กำหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ (บรรจง จันทรสา 2522 : 244)ปรัชญานี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรัชญาประสบการณ์นิยม (Experimentalism)

2 แนวความคิดทางการศึกษา

มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน (Kneller 1971 :48 ? 53)

3.จุดมุ่งหมายของการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกวัตถุประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง และเป็นวิถีทางให้เกิดการเรียนรู้ที่ใหม่กว่าต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนผู้เรียนจะต้องพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาควบคู่กันไป เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจสามารถนำความรู้ไปปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถแก้ปัญหาได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีวินัยในตนเอง (Self discipline)

4.องค์ประกอบของการศึกษา

1) หลักสูตร ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2) ครู ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ทำในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียนแล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน ครูจะต้องมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง รู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดีและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และวางแผนให้เกิดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของผู้เรียน จัดสภาพในโรงเรียนและในห้องเรียนให้พร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนให้ได้ประสบการณ์ตามที่ต้องการ

3) นักเรียน ปรัชญานี้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก ถือว่าผู้เรียนโดยธรรมชาติมีอินทรีย์ที่จะสืบเสาะแสวงหาประสบการณ์และพร้อมที่จะรับประสบการณ์ (เมธี  ปิลันธนานนท์ 2523 : 90) ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) ผู้เรียนจะต้องมีอิสระในการเลือกตัดสินใจและต้องทำงานร่วมกัน (Participation) เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความถนัดความสนใจและความสามารถของผู้เรียน

4) โรงเรียน ทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสังคม โดยเฉพาะแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและประสบการณ์ในสังคม โดยการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม เริ่มจากการเรียนรู้พื้นฐานของสังคม ลักษณะอื่นๆของสังคม โรงเรียนจะต้องสร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยโดยให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆมีความพร้อมมีความรู้จัก และเข้าใจสังคมอย่างดี พอที่จะออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้ (ศักดา  ปรางค์ประทานพร 2523 : 64 ? 65)

5) กระบวนการเรียนการสอน เป็นการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง(Child centered) โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด การเรียนเป็นเรื่องการกระทำ (Doing)มากกว่ารู้ (Knowing) การเรียนการสอนจึงให้ผู้เรียนลงมือกระทำเพื่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ การกระทำทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ ครูต้องจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ (Problem  solving)



ที่มา : http://sitawan112.blogspot.com/2012/03/progessivism.html