ผู้เขียน หัวข้อ: นิโคไล เลนิน บุรุษเหล็กแห่งโลกคอมมิวนิสต์  (อ่าน 6804 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923


          ในความเป็นตัวตนในอดีตอันยาวนานและเก่าแก่ของรัสเซียได้ถูกทำลายและเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อมีบุรุษคนหนึ่งที่เกิดมาในครอบครัวที่แสนธรรมดาแต่ ถูกกดขี่ข่มเหงจนทำให้เขาสนใจที่จะนำเอาแนวความคิดของมาร์กซิสมาเผยแพร่ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและความยุติธรรมขึ้นในหมู่ชาวรัสเซีย ทั้ง ๆที่ในยุคสมัยนั้นเต็มไปด้วยระบอบศักดินา เจ้าขุนมูลนายและความไม่เท่าเทียมกันอย่างมากในสังคม บุรุษที่ผมนำมาฝากในวันนี้คือ เลนิน ผู้นำความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงมาให้กับบ้านเกิดเมืองนอนของเขา   เขา เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความแตกต่างทางชนชั้นของคนจนและคนรวย ทำให้ความคิดที่อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ เขาต้องการให้เกิดการกระจายตัวของการกินอยู่ที่ดีให้ตกไปอยู่กับคนรัสเซียใน วงกว้าง ไม่ใช่ตกไปอยู่ในแวดวงของคนรวยเพียงไม่กี่หยิบมือ และเมื่อเขาได้ศึกษาและได้เรียนรู้ถึงปรัชญาและเป้าหมายที่มาร์กซิสได้เขียน นั้น ทำให้เขาสรุปออกมาว่าหากเขานำระบบการปกครองแบบสังคมนิยมที่อาจนำมาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วมาใช้จึงจะทำให้ชาวรัสเซียได้รับปัจจัยสี่ที่เพียง พอต่อการดำรงชีวิต

          เลนินเป็นผู้จุดชนวนแห่งความคิดและเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จนทำให้โลกกลายมาเป็นสองค่ายซึ่งเป็นปฏิปักษ์และจ้องที่จะทำร้ายกันจนเกือบ นำไปสู่สงครามโกลครั้งที่ 3 แต่โชคดีที่ทั้งสองฝ่ายอำนาจลดการขยายวงของสงครามให้ลงมาเหลือเพียงแค่สงครามเย็นที่ให้ประเทศบริวารของแต่ละฝ่ายทำสงครามห้ำหั่นกันเอง  เล นินเป็นผู้ที่ทำให้เกิดประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์จนขยายตัวกว้าง ขึ้นเรื่อย ๆ สู่การต่อสู้เอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเย็นเป็นสงครามที่ใช้ทำกำลังคน กำลังเงินอย่างมากมายมหาศาลกว่าสงครามใด ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนโลก  การ ซ่องสุมอาวุธ กำลังคน และเงินนั้นมากที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะบันทึกไว้ แต่โชคดีที่ผู้นำของทั้งสองขั้วได้คำนึงถึงความร้ายแรงของระเบิดปรมณูที่เคย สร้างความเสียหายให้กับญี่ปุ่น และตระหนักดีว่า หากยังคงต่อสู้ห้ำหั่นกันต่อไป โลกคงต้องพบกับความวิบัติครั้งใหญ่หลวง จึงทำให้ทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกายกเลิกความคิดที่จะนำอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีความรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูถึง 10 เท่า จะว่าไปแล้วหากอภิมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายยังคงดื้อดึงที่จะทำลายล้างกัน โลกเราคงต้องตกอยู่ในหายนะแน่ ๆ

          ที่ยกดังกล่าวข้างต้นล้วนเกิดมาจากพื้นฐานที่รัสเซียมีการเปลี่ยนแปลงระบบ การปกครองจากระบบกษัตริย์กลายมาเป็นระบบคอมมิวนิสต์อย่างสุดขั้วและเต็มรูป แบบ เลนินคือบุรุษที่เป็นผู้เริ่มและนำรัสเซียให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงแบบ 180 องศา และเลี่ยนแปลงไปสู่ความล้าหลังในเรื่องของเศรษฐกิจและการกินอยู่ของรัสเซีย จนทำให้เมื่อกว่า 20 ปี ที่แล้วรัสเซียต้องอยู่อย่างอดอยาก และเป็นประเทศที่ยากจนของโลก จนทำให้มีชาวรัสเซียส่วนหนึ่งหลบหนีออกจากประเทศ แต่ปรากฎว่าในด้านกลาโหมรัสเซียกลับมีความก้าวหน้าอยู่ในระดับผู้นำ นับเป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งอย่างมากกับสภาวะความเป็นจริง เพาะถึงแม้ว่ารัสเซียจะเป็นผู้นำทางด้านกลาโหม แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนชาวรัสเซียกลับต้องอยู่อย่างอดอยาก มิหนำซ้ำรัสเซียยังเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและต้องการที่จะเป็นใหญ่จนคิดที่จะ เปลี่ยนแปลงของการปกครองของโลกใบนี้

          จึงขอนำชีวประวัติของบุคคลซึ่งเคยมีความคิดที่จะเปลี่ยนการปกครองทั้งโลก มานำเสนอ เพื่อสะท้อนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแต่เกิดมาจากความไม่เสมอภาค และการที่คนจนถูกเอารัดเอาเปรียบ จนกลายเป็นชนวนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของหลาย ๆ ประเทศในโลก  เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้สังคมไทยได้คิดและปรับให้ช่องว่างของคนรวยและคนจนแคบขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

          เลนิน มีชื่อจริงว่า วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน ถือกำเนิดเมื่อ วันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1870 เป็นบุตรของนาย อิลยา นิโคลาเยวิช อุลยานอฟ และ นางมาเรีย อเลกซานดรอฟนา อุลยานอฟ

          เขาเป็นลูกคนที่สาม ร่าเริงแจ่มใส  โลดโผน วิ่งโครมคราม ตึงตัง เขาเริ่มหัดอ่านหนังสือตั้งแต่อายุห้าขวบ  สนใจ การเรียนขยันและจริงจัง ได้รับคะแนนยอดเยี่ยมอยู่เสมอ นับเป็นเรื่องที่ดีเพราะเขามีต้นแบบที่ดีจากพ่อและแม่ของเขา ซึ่งคนทั้งสองนั้นมีความกระตือรือล้น ขยันขันแข็ง  เล นินมักช่วยสอนพิเศษวิชาต่างๆ ให้กับเพื่อนร่วมชั้นและช่วยอธิบายบทเรียนและปัญหายาก ๆ แก่เพื่อนและการแปลจากภาษากรีกและภาษาลาติน ขณะเรียนอยู่สองปีสุดท้ายในโรงเรียนเตรียมอุดม เขาได้ช่วยสอนครูโรงเรียนประถมชาวชูวาชคนหนึ่ง ซึ่งต้องการได้ใบสุทธิเพื่อเอาไปเข้ามหาวิทยาลัย ในที่สุดครูคนนั้นก็ได้ใบสุทธิอันเนื่องมาจากการช่วยติวของเลนิน

          ใน ค.ศ.1886 พ่อของเขาเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน และอีกปีหนึ่งถัดมา ครอบครัวเลนินก็ต้องประสบกับโศกนาฏกรรมอีกครั้งหนึ่ง คืออเล็กซานเดอร์ พี่ชายสุดที่รัก ถูกจับกุมด้วยข้อหาว่ามีส่วนในการพยายามลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์ ถูกตัดสินประหารชีวิต เขาถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1887 เหตุการณ์ในคั้งนี้ทำให้เขารู้สึกเสียใจมาก แต่มันก็ทำให้เขาเข้มแข็งขึ้น และบังคับให้เขาจำต้องคิดจริงจังมากขึ้นเกี่ยวกับหนทางของการต่อสู้ปฏิวัติ  ช่วงนั้นเองที่เขาได้อ่านหนังสือชื่อ ?แคปิตอล? ของคาร์ลมาร์กซ และทำให้เขายอมรับว่านั่นคือหนทางแห่งการต่อสู้เพื่อนำไปสู่การปฏิวัติเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคในรัสเซีย

          ปลายฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1887 ภายหลังจากจบจากโรงเรียนเตรียมอุดมพร้อมด้วยเหรียญทอง   เล นินศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคาซาน ซึ่งตอนนั้นเองที่นักศึกษาในรัสเซียได้แสดงออกถึงความไม่พอใจและต่อต้านระบบ การปกครองแบบเดิม ๆ นักศึกษาออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกข้อบังคับหลาย ๆ อย่าง เช่นการแต่งเครื่องแบบ  และให้รับอาจารย์ที่ถูกไล่ออกอันเนื่องมาจากมีความคิดก้าวหน้ากลับเข้าทำงานตามเดิม

          วันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1887 คลื่นแห่งความไม่สงบได้แผ่เข้าไปถึงมหาวิทยาลัยคาซาน นักศึกษาพากันเปิดการชุมนุมพร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องหลายข้อซึ่งนอกเหนือไป จากขอบเขตของชีวิตในมหาวิทยาลัย เลนินก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงอธิการบดีมีความดังนี้ "อันเนื่อง จากกระผมเห็นว่าไม่สามารถที่จะดำเนินการศึกษาต่อไปในมหาวิทยาลัยภายใต้ เงื่อนไขของชีวิตมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ กระผมจึงขอให้ ฯพณฯ ท่านออกคำสั่งที่จำเป็นให้ขีดฆ่าชื่อของกระผมออกเสียจากทะเบียนนักศึกษาของ จักรวรรดิมหาวิทยาลัยคาซาน" สิ่งนี้เองทำให้เขาถูกคุมขังรวมกับเพื่อนอีก 40 คน เมื่อพวกเพื่อน ๆ ถามว่าเขาจะทำอะไรต่อไปเมื่อถูกปล่อยออกไปแล้ว เลนินบอกว่า "มีหนทางสายเดียวเท่านั้นสำหรับผม คือต่อสู้ปฏิวัติ"  คำ ขอร้องของเขาเป็นจริง หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันเขาถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยและมีคำสั่งให้ เนรเทศเขาออกไปจากคาซาน ไปอยู่ที่หมู่บ้านโคคุชคีโน ทำให้เขาไม่ได้เรียนหนังสือแต่ด้วยความใฝ่รู้ทำให้เขาอ่านหนังสือโดยศึกษา ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย จากนั้นเขาก็อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสารทางสังคม-เศรษฐกิจ วรรณกรรม เนื่องจากอยู่ห่างไกลความเจริญ จึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นพิเศษที่

          เลนินจะต้องตามให้ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและการเมืองและทิศทางของการต่อสู้ทางลัทธิที่กำลังดำเนินอยู่ เขาอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าและจดบันทึกย่อและความคิดเห็นเกี่ยวกับงานประพันธ์ของ คนที่เขาโปรดปรานคือ เชรนิเชฟสกี้

          ในค.ศ. 1888 เขา ได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาอยู่ในเมืองคาซานได้ และหลังจากนั้นเขาได้รวมตัวกับเพื่อนฝูงเพื่อเรียกร้องความเสมอภาคและเป็น ธรรมให้กับชนชั้นกรรมมากรจนเป็นเหตุให้เขาและบรรดาผู้นำถูกจับ  และ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897 หลังจากที่ถูกจำคุกอยู่ปีเศษ บรรดาผู้นำของสันนิบาตการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกรก็ถูกพิพากษาให้ เนรเทศไปอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ที่ห่างไกลของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลาสามปี เลนินต้องไปรับโทษในหมู่บ้านชูเชนสโกเยในไซบีเรียตะวันออก  สิ่ง ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการที่เขาถูกเนรเทศคือการที่เขาต้องอยู่โดดเดี่ยวแยก จากงานปฏิวัติที่คึกคัก ช่วงแรก ๆ เขาต้องปรับตัวอย่างมาทีเดียว แต่โชคดีที่เขาได้รับหนังสือพิมพ์รัสเซียและหนังสือพิมพ์ต่างประเทศนิตยสาร ภาษารัสเซียและเยอรมันประมาณ 12 ฉบับเพื่อติดตามข่าวสารและความเป็นไปในรัสเซีย และได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสอย่างจริงจัง

          ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1891 เลนินแต่งงานกับ นาเดชด้า ครุปสกายา ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1899 เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย ต่อมาในปี ค.ศ.1899 การเนรเทศของเขาก็ได้สิ้นสุดลง เขาได้เดินทางทั้งภายในรัสเซียและไปยังส่วนต่าง ๆ ของยุโรป และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อิสกรา เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ

          เขาได้ร่วมกิจกรรมของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย เขาได้เป็นผู้นำฝ่ายบอลเชวิกภายในพรรค ภายหลังจากที่แตกแยกกับกลุ่มเมนเชวิกที่ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากงานของเลนินชื่อว่า จะทำอะไรในอนาคต (What is to be done?) ในปี ค.ศ.1906 เลนินได้รับเลือกเข้าไปในคณะกรรมการบริหารพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย ในปี ค.ศ.1907 เขาได้ย้ายไปอยู่ที่ฟินแลนด์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เขาได้ท่องเที่ยวไปในยุโรปต่อและร่วมในการประชุมและกิจกรรมของพวกสังคมนิยม ในหลายๆแห่ง รวมถึงการประชุมซิมเมอร์วัลด์ในปี ค.ศ.1915 ด้วย เมื่อ อิเนสซ่า อาร์วัลด์ ออกมาจากรัสเซียแล้วตั้งถิ่นฐานในปารีส เธอก็ได้พบกับเลนิน และสมาชิกบอลเชวิกคนอื่น ๆ ที่ถูกเนรเทศมา ในที่สุดเธอก็ได้กลายเป็นสหายของเลนิน

          ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1917 เขาได้ออกจากสวิตเซอร์แลนด์กลับไปยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หลังจากที่ซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกโค่นล้ม และมีบทบาทสำคัญในขบวนการบอลเชวิก เขาได้พิมพ์เมษาวิจารณ์ (April Theses) ต่อมาหลังจากความล้มเหลวในการประท้วงของคนงาน เลนินได้หนีไปยังฟินแลนด์เพื่อความปลอดภัย เขากลับมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และได้ปลุกระดมทหารให้ลุกขึ้นปฏิวัติโดยมีคำขวัญว่า ?อำนาจทั้งหมดเพื่อโซเวียตทั้งหลาย? (คำ ว่า โซเวียต แปลว่า สภา) เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่นำโดย(อเล็กซานดร์ เคเรนสกี้) ความคิดของเลนินเกี่ยวกับรัฐบาลนั้นเขียนอยู่ในบทความเรื่อง รัฐและการปฏิวัติ ซึ่งเรียกร้องให้มีระบบการปกครองใหม่ที่มีรากฐานมากจากสภาของคนงาน หรือโซเวียต

          ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1917 เลนินได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน (ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา) โดยสภาคองเกรสโซเวียตในรัสเซีย ในขณะนั้น เลนินต้องเผชิญกับการโจมตีของเยอรมนี เลนินต้องการให้รัสเซียลงนามในสัญญาสันติภาพทันที ผู้นำบอลเชวิกคนอื่นๆ ต้องการให้ทำสงครามกับเยอรมนีต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นการปฏิวัติในเยอรมนี ส่วนลีออน ทรอตสกี้ที่เป็นประธานในการเจรจานั้นรักษาสถานะเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย คือ เรียกร้องสันติภาพ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียดินแดนเพิ่ม หลังจากที่การเจรจาล้มเหลว เยอรมนีก็ได้โจมตีและยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกของรัสเซียไปมาก ซึ่งส่งผลให้ข้อเสนอของเลนินได้รับการสนับสนุนการเสียงส่วนมากของผู้นำพรรค บอลเชวิก และในที่สุดรัสเซียก็ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสก์ ซึ่งรัสเซียเสียเปรียบอย่างมาก

          เมื่อ เลนิน  ยอมรับว่าระบบโซเวียตเป็นระบบเดียวเท่านั้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย เลนินจึงได้ปิดสภาร่างรัฐธรรมนูญรัสเซียลงเพราะว่าพรรคบอลเชวิกไม่ได้เสียง ข้างมากในสภานั้น แต่พรรคที่ได้เสียงข้างมากคือพรรคปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อมาภายหลังแตกออก เป็นฝ่ายซ้ายที่นิยมระบบโซเวียต และฝ่ายขวาที่ต่อต้านระบบโซเวียต ส่วนพรรคบอลเชวิกนั้นมีเสียงข้างมากในสภาคองเกรสโซเวียต และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับฝ่ายซ้ายของพรรคปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตาม การร่วมมือครั้งนี้ก็ได้ล้มเหลวลงหลังจากพรรคปฏิวัติสังคมนิยมต่อต้านสนธิ สัญญาเบรสต์-ลิตอฟสก์ และได้ไปเข้าร่วมกับพรรคอื่นเพื่อล้มรัฐบาลโซเวียต สถานการณ์ได้เลวร้ายลง เมื่อพรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคบอลเชวิก (รวมถึงกลุ่มสังคมนิยมหลายกลุ่ม) ได้พยายามล้มรัฐบาลโซเวียต เลนินได้ตอบโต้ด้วยการพยายามยุบพรรคเหล่านั้น แต่ไม่สำเร็จ

          ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1918 เหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้นเมื่อ ฟันย่า คัปลัน สมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ได้เข้าใกล้เลนินหลังจากที่เลนินได้กล่าวปราศรัยในการประชุมพบปะ และกำลังเดินกลับรถ เธอได้ร้องเรียกเลนิน เมื่อเลนินหันกลับมาเพื่อจะตอบ เธอก็ได้นำปืนยิงเลนินไป 3 นัด 2 นัดทะลุเข้าที่ปอดและไหล่ของเลนิน เลนินถูกพากลับไปยังเครมลิน เพราะว่าเขาปฏิเสธที่จะไปโรงพยาบาลเนื่องจากเชื่อว่าน่าจะมีคนดักรอทำ ร้ายอยู่ที่โรงพยาบาลแน่ แพทย์ได้ถูกเรียกมาดูอาการของเลนิน แต่ได้ลงความเห็นว่าเป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปที่จะถอนลูกกระสุนออกมา ต่อมาไม่นานเลนินก็เริ่มฟื้นตัว แต่สุขภาพของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลง และเชื่อกันว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสาเหตุของการอุดตันของเส้นโลหิตที่ ไปเลี้ยงสมองของเลนินในเวลาต่อมา

           ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1919 เลนินและผู้นำพรรคบอลเชวิกคนอื่น ๆ ได้พบกับกลุ่มปฏิวัติสังคมนิยมจากทั่วโลก และได้ร่วมกันก่อตั้ง คอมมิวนิสต์นานาชาติ (คอมินเทิร์น) ในครั้งนี้ สมาชิกของคอมินเทิร์น รวมถึงพรรคบอลเชวิกเอง ได้แยกตัวออกจากขบวนการสังคมนิยม ต่อไปพวกเขาจะเป็นที่รู้จักกันว่า "คอมมิวนิสต์"   ในรัสเซีย พรรคบอลเชวิกก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย" ซึ่งต่อมาภายหลังจะกลายเป็น "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต" (CPSU)  ใน ขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองก็ได้แผ่ขยายลุกลามออกไปทั่วรัสเซีย การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายชนิดและผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเหล่านั้นได้ จับอาวุธขึ้นสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโซเวียต แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามกลางเมือง แต่มีฝ่ายหลัก ๆ เพียงสองฝ่ายคือ ผ่ายกองทัพแดง (คอมมิวนิสต์) และฝ่ายกองทัพขาว (นิยมกษัตริย์) มหาอำนาจต่างชาติได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นก็ได้แทรกแซงสงครามนี้ (โดยเป็นฝ่ายสนับสนุนกองทัพขาว) แต่ในที่สุด ฝ่ายกองทัพแดงก็มีชัยในสงคราม โดยเอาชนะกองทัพขาวและพันธมิตรได้ในปี ค.ศ.1920

          สุขภาพของเลนินนั้นย่ำแย่จากความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิวัติและสงคราม ความพยายามที่จะสังหารเลนินเมื่อก่อนหน้า ลูกกระสุนในคราวนั้นก็ยังฝังอยู่ที่คอของเลนินบริเวณที่ใกล้เส้นประสาทมาก เกินกว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะช่วยผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบเส้นประสาท ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1922 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเป็นครั้งแรก เขากลายเป็นอัมพาตที่บางส่วนในซีกขวาของร่างกาย ทำให้เลนินมีบทบาทน้อยลงในรัฐบาล หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สองในเดือนธันวาคมปี เดียวกัน เลนินก็ได้วางมือจากกิจกรรมทางการเมืองทุกชนิด ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1923 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สาม ทำให้เขาต้องนอนอยู่กับเตียงและไม่สามารถพูดได้

          เลนินเสียชีวิตในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1924  เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เลนินกราด" เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน เมืองนี้ยังคงชื่อเลนินกราดไว้จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 จึงเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อย่างไรก็ตามในช่วงหลังจากนั้นมีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับลัทธิพลังจักรวาลใน รัสเซียค่อนข้างเป็นที่นิยม ทำให้มีความพยายามที่จะแช่แข็งร่างของเลนินไว้ เพื่อจะทำให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาในอนาคต อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้รับการซื้อเข้ามาในรัสเซีย แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้แผนนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยร่างของเลนินได้ถูกนำไปดอง และตั้งไว้ในอนุสาวรีย์เลนินในกรุงมอสโกว แม้ว่าก่อนเขาเสียชีวิตเขาได้แสดงความปรารถนาไว้ว่าไม่ต้องการให้ใครสร้าง อนุสาวรีย์อะไรเพื่อระลึกถึงเขาก็ตาม


ที่มา  :  http://writer.dek-d.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2015, 09:09:09 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »