เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้ทั่วไป
เคยสงสัยไหมว่า ? ทำไมต้องทำงาน 8 ชม.
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: เคยสงสัยไหมว่า ? ทำไมต้องทำงาน 8 ชม. (อ่าน 3130 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
เคยสงสัยไหมว่า ? ทำไมต้องทำงาน 8 ชม.
เมื่อ:
กุมภาพันธ์ 17, 2016, 12:54:33 AM
วัฒนธรรมการทำงาน 8 ชั่วโมงมาจากไหน?
การทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นมาตรฐานที่บริษัททั่วโลกนำมาใช้ เพื่อให้พนักงานหรือแรงงานรู้สึกผ่อนคลายและไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป เนื่องในวันแรงงาน หรือ May Day ช่วง Culture Corner จะพาคุณไปดูว่าวัฒนธรรมนี้มีที่มาอย่างไร ก่อนที่จะถูกตั้งให้เป็นมาตรฐานสากล
หนึ่งในกิจวัตรที่มนุษย์ทุกคนต้องทำในแต่ละวันคือ "การทำงาน" อย่างน้อยที่สุดคือวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่หลายบริษัททั่วโลกนำมาใช้ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ให้พนักงานรู้สึกว่าไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป จึงนำมาสู่คำถามที่ว่ามนุษย์เงินเดือนหรือแรงงานทั่วไป ทำไมต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และมาตรฐานนี้มาจากไหนกัน
ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วงศตวรรษที่ 19 แรงงานจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ยํ่าแย่ ในแต่ละวันพวกเขาต้องทำงานมากกว่า 16 ชั่วโมง บางครั้งก็นอนในโรงงาน เพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของตลาดโลก โรเบิร์ต โอเวน นักสังคมนิยมเพ้อฝันชาวอังกฤษ จึงได้รณรงค์ผ่านสโลแกนที่ว่า ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และสันทนาการ 8 ชั่วโมง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดีขึ้นใน 1 วัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดของโอเวนไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เมื่อเทียบกับแนวคิดสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์ ที่สนับสนุนให้แรงงานต่อสู้กับนายทุนผู้ขูดรีด แม้มาร์กซ์จะมองว่า ชั่วโมงการทำงานย่อมส่งผลต่อสุขภาพของแรงงานก็ตาม ทว่า แนวคิดเฟ้อฝันของโอเวนเริ่มเป็นจริง เมื่อสมาคมสโตนเมสันและแรงงานจำนวนมากรวมตัวกันที่เมืองเมลเบิร์น ของออสเตรเลีย ในวันที่ 21 เมษายน 2399 เดินขบวนเรียกร้องให้สภาท้องถิ่นสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว
3 สัปดาห์ต่อมา สภาตอบรับข้อเสนอของสมาคมสโตนเมสัน ให้แรงงานทำงานวันละ 8 ชั่วโมงได้ โดยไม่ถูกตัดค่าจ้าง ซึ่งนับเป็นขบวนการแรงงานแรกของโลก ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของตนเองได้สำเร็จ และแนวคิดนี้ก็ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก จนที่ประชุมสมาพันธ์กรรมกรสากลครั้งที่ 1 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวในปี 2409
ในอีกซีกโลก แรงงานชาวอเมริกันในนครชิคาโก นัดหยุดงานครั้งใหญ่ในปี 2429 เพื่อเรียกร้องมาตรฐานการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง แต่การนัดหยุดงานครั้งนั้นกลายเป็นการสังหารหมู่ที่เฮย์มาร์เก็ต ในวัยที่ 1 พฤษภาคม 2429 ในอีก 12 ปีต่อมา สหภาพแรงงานเหมืองแร่กลายเป็นแรงงานกลุ่มแรกในสหรัฐฯที่ได้รับสิทธิดังกล่าว และในที่สุดก็มีการยกย่องให้วันที่ 1 พฤษภาคม กลายเป็นวันแรงงานสากล เพื่อรำลึกถึงการประท้วงเรื่องการทำงาน 8 ชั่วโมงที่เฮย์มาร์เก็ต
แนวคิดการทำงาน 8 ชั่วโมงกลายเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น เมื่อบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในปี 2457 และหลังการปฏิวัติรัสเซียในปี 2460 รัฐบาลสหภาพโซเวียตก็บัญญัติให้การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นกฎหมายเช่นกัน
ทุกวันนี้ การทำงานวันละ 8 ชั่วโมงเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม กรณีของโรงงานฟอกซ์คอนน์ ในประเทศจีน ผู้ผลิตสินค้าของแอปเปิล ซึ่งมีสภาการทำงานกดดันจนพนักงานถึงกับฆ่าตัวตาย แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันยังมีแรงงานอีกมากที่ถูกขูดรีดแรงงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ยํ่าแย่ไม่ต่างจากในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างกันนัก นั่นก็คือการผลิตสินค้าป้อนกระแสทุนนิยมที่ไม่รู้จักอิ่ม
ที่มา:
http://shows.voicetv.co.th/voice-world-wide/104429.html
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้ทั่วไป
เคยสงสัยไหมว่า ? ทำไมต้องทำงาน 8 ชม.
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?