ผู้เขียน หัวข้อ: ศิลปะการเข้าถึงบุคคลเพื่อสร้างความคิดร่วม  (อ่าน 4189 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923

การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเข้าถึงเพื่อสร้างความคิดร่วมกัน ในการทำงานให้สำเร็จ มีหลัก 10 ประการ ดังนี้

1. เคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกคนโดยไม่มีชั้นวรรณะ

ปฏิบัติต่อกันในลักษณะของคนกับคน บุคคลอื่นคือมนุษย์ ร่วมโลกและสังคมเดียวกันกับเรา มีเกียรติ มีค่า และมีสิทธิ เท่าเทียมกับเรา เราจึงควรให้เกียรติและไม่ล้ำสิทธิของผู้อื่นครับ

2.การมองโลกในแง่ดีและมองแต่ส่วนดีของผู้อื่น

3. ถามความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น

แม้ว่าความคิดเห็นนั้นอาจจะขัดหรือตรงกันข้ามกับความคิดเห็น ของเรา โดยเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย ซักถามและเสนอแนะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ามีบทบาทสำคัญมีส่วนร่วม ในผลสำเร็จขององค์การด้วยครับ เรียกว่าตะล่อมใจผู้อื่นก็ได้นะครับ

4. ชี้แจงนโยบาย แผนงานและปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นที่เข้าใจ

อย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ หากสิ่งใดไม่สามารถปฏิบัติได้ ก็ให้อธิบายให้ฟังด้วยเหตุผลจนเข้าใจ ตลอดจนสนับสนุนให้ บุคคลอื่นมีบทบาทร่วมในการกำหนดนแผนและตัดสินเกี่ยวกับ การแก้ปัญหา เป้าหมายและการดำเนินการขององค์การ

5. การรักษาและสนใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ร่วมงาน

และส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ข้อนี้สำคัญนะครับ

6. ใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอาใจใส่ต่อความทุกข์ส่วนตัว

และในด้านการทำงานของบุคคลอื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย เมื่อ มีทุกข์ก็ช่วยเหลือให้กำลังใจและคำปรึกษาแนะนำแนวทางและ วิธีแก้ไข ปัญหาที่กำลังประสบเท่าที่จะทำได้อย่างเห็นใจ จริงใจ และเสมอต้นเสมอปลายครับ

7. ให้ความยุติธรรมและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค

ในทุกๆ ด้านไม่ลำเอียงหรือแสดงว่ารักใคร เกลียดใครเป็นพิเศษ ตำหนิหรือลงโทษผู้กระทำผิด และสนับสนุนยกย่อง ชมเชย และให้เกียรติผู้ที่ทำความดี ตลอดจนแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่น ประสบความสำเร็จไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม แม้เราจะไม่ชอบ หน้าเขาก็ตาม ทำเถอะครับ ยังไงก็ต้องทำงานร่วมกันแล้วนะครับ

8. เอาใจใส่และสนองความต้องการของบุคคลอื่น

ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจเท่าที่จะทำได้ โดยพยามยามผสมผสาน ความต้องการของสมาชิกแต่ละคนให้สอดคล้องกับความต้องการ และเป้าหมายขององค์การ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายในองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การ และความสามัคคี ก็จะเกิดขึ้นในองค์กรครับ อันนี้คนเป็นผู้บังคับบัญชาควรจำใส่ใจ

9. แสดงจุดร่วม สงวนจุดต่าง พยายามพูดกันในสิ่งที่สามารถ

ตกลงกันได้ ส่วนสิ่งที่ขัดแย้งกันไม่ควรจะกล่าวถึง หากจำเป็นต้อง มีการแก้ไขปรับปรุง ก็ควรแก้ไขปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อนที่จะ ขอให้ผู้อื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเขานะครับ ถ้าเรายังทำไม่ได้แล้ว จะให้ผู้ร่วมงานคนอื่นทำได้ อย่างนี้สงสัยจะเป็นเรื่องยากนะครับ

10. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น และเข้ากับบุคคลอื่นได้

อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับความสนับสนุนร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ให้เป็นไปในทางที่เกิดความสัมพันธ์ที่ดีตลอดเวลา รู้จักทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานร่างเริง สดชื่น กระฉับกระเฉง พูดกับ บุคคลอื่นด้วยถ้อยคำที่เป็นมิตร นุ่มนวล สุภาพ อ่อนโยนและถ้อยคำ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น "พวกเรา" และให้เกียรติกัน ควรงดเว้นการเป็นนักวิชาการบ้างในบางขณะ หาเรื่องสนุกสนาน มาพูดคุย หลีกเลี่ยงการโต้เถียง และอาจเห็นคล้อยตามในเรื่องที่ ไม่สลักสำคัญ อย่านินทาว่าร้ายวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่น ในกรณีที่ ต้องออกคำสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติตามก็ควรจะเป็นคำสั่งที่อ่อนโยน ละมุนละม่อม และถามความรู้สึกก่อนออกคำสั่ง คำสั่งนั้นก็จะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ

ที่มา : http://socialscience.igetweb.com