ผู้เขียน หัวข้อ: กินอย่างไร..ให้ดีต่อสมอง  (อ่าน 3682 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: สิงหาคม 15, 2016, 12:45:48 AM

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า อาหารหลายๆ อย่างที่เราชอบรับประทานกันอยู่เป็นประจำ มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง ในขณะที่อาหารเบาๆ บางอย่างกลับมีประโยชน์ต่อสมองอย่างไม่น่าเชื่อ ว่าแต่ อาหารเหล่านั้นมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

1. กินแป้งมาก สมองเฉื่อย

คนที่ชอบรับประทานขนมขบเคี้ยว เช่น ขนมอบกรอบชนิดแผ่น ข้าวโพดอบกรอบ ปลาเส้น ปลาอบกรอบ ถั่วอบกรอบ ฯลฯ โดยขนมเหล่านี้จัดเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการน้อยเพราะอุดมไปด้วยแป้ง น้ำตาลและไขมัน ซึ่งถ้าหากทานรวมกับอาหารหลักในชีวิตประจำวัน อาจทำให้ได้รับอาหารประเภทแป้งน้ำตาลมากเกินไป และส่งผลให้เกิดอาการง่วง ไม่ตื่นตัว สมองทึบหรือตื้อได้

2. ไข่ลวก ยอดอาหารราคาถูก

ไข่ลวกช่วยทำให้สมองโปร่ง สดชื่น เพราะไข่มีโปรตีนย่อยง่าย ทั้งยังมีสารเลซิตินซึ่งมีวิตามินบีที่ชื่อว่า โคลีน(choline) ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ในการทำไข่ลวกนั้นไม่ควรทำให้ดิบจนเกินไป เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียชนิดซาลโมเนลลาซึ่งทำให้ท้องร่วงได้ รวมทั้งยังมีสารโปรตีนเอวิดินที่ขัดขวางการดูดซึมวิตามินบีที่ชื่อ ไบโอติน (Biotin) ด้วย

3. ผลไม้กับถั่ว แหล่งแร่ธาตุ

ในผลไม้กับถั่ว มีแร่ธาตุที่สำคัญตัวหนึ่งคือ โบรอน(Boron) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของสมอง คนที่รับประทานโบรอนต่ำจะทำให้การตอบสนองของประสาทเชื่องช้าลง บางคนมีปัญหาถึงขนาดใช้นิ้วมือไม่ถนัด เกิดอาการมือไม้สะดุด กึกกักไปหมด ดังนั้นหากร่างกายได้รับธาตุโบรอน จะสามารถช่วยให้สมองทำงานฉับไวขึ้น

4. นม

สร้างความกระปรี้กระเปร่า ขณะที่อาหารประเภทแป้งทำให้เซื่องซึม โปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น นมสดกลับให้ผลในทางตรงข้าม โดยการดื่มนมนั้น จะช่วยทำให้สมดุลของสารเคมีในสมองเปลี่ยน โปรตีนบางชนิดในนมจะกดให้สารเซโรโทนินลดปริมาณลง ทำให้สารโดพามีนเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้สมองตื่นตัว กระฉับกระเฉง

5. ปลาทะเล

สุดยอดวัตถุดิบเพื่อสมอง แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง คือ สังกะสี (Zinc) โดยคนที่มักมีอาการเหม่อลอย อาจเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี สำหรับธาตุสังกะสี จะพบมากในอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเล นอกจากนี้ในปลาทะเลยังมีแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งถ้าหากร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเป็นประจำ จะมีผลต่อการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดอาการคอพอก มีสติปัญญาด้อยกว่าปกติ  หรือมีพัฒนาการทางร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์

ที่มาข้อมูลและภาพ http://www.thaihealth.or.th/Content/32271