ผู้เขียน หัวข้อ: มองในมุมที่แตกต่าง...จาก"คำสอนของอากง"  (อ่าน 4279 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
อากงแก่ๆ คนหนึ่ง รับหน้าที่เลี้ยงดูหลานที่กำลังอยู่ในวัยซนทั้งสี่ หลานทั้งสี่ก็เล่นกันบ้าง ตีกันบ้างตามประสาเด็ก แต่ครั้งหนึ่งรุนแรงจนถึงขนาดที่อากงต้องออกโรงห้ามปราม

เมื่ออารมณ์ทุกฝ่ายสงบลง อากงจึงเรียกหลานๆมาล้อมโต๊ะคุยกัน

อากงบอก ?เอาล่ะหลานๆ หลับตานะ หลับตา?

พอหลานๆหลับตา อากงก็เดินกลับเข้าไปห้องเก็บของแล้วหยิบตะเกียงเก่าๆ ออกมาอีกอันหนึ่ง

อากงเปิดฝาครอบ จุดไฟ แล้วปิดฝาครอบ จากนั้นก็บอกหลานทั้งสี่ให้ลืมตา ?บอกซิว่าโคมไฟสีอะไร?

เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้น เห็นเปลวไฟในตะเกียงสี ต่างแย่งกันตอบ

คนที่นั่งด้านหนึ่งบอกว่า สีแดง

อีกด้านหนึ่งบอก สีเขียว

อีกด้านหนึ่งบอก สีเหลือง

และอีกด้านหนึ่งเห็น สีน้ำเงิน

จากคำตอบเล็กๆ กลายเป็นเสียงถกเถียง และเริ่มทะเลาะกันอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้ง จนเกือบกลายเป็นกรณีพิพาท

อากงนิ่ง ปล่อยให้อารมณ์ราวกับพายุของหลานทั้งสี่เริ่มสงบลง

หลานคนหนึ่งจึงเอ่ยปากถามว่า ?อากงของอย่างเดียวกัน ทำไมจึงมีตั้งหลายสี ??

อากงยิ้มแล้วบอกว่า ?อากงจะทำอะไรให้ดู?

อากงเดินไปที่โต๊ะหยิบฝาครอบตะเกียงออก แล้วหมุนฝาครอบนั้นให้หลานๆดู

ปรากฏว่าฝาครอบตะเกียงนั้น ทั้งสี่ด้าน มีสีที่แตกต่างกันไป สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน

อากงถามอีกว่า ?คราวนี้บอกอากงซิว่า เห็นตะเกียงเป็นสีอะไร ??

?สีของไฟ? หลานๆตอบเป็นเสียงเดียวกัน

?อากงขอถามอะไรสักสองข้อ เมื่อสักครู่นี้ใครตอบผิด ??

หลานๆตอบโดยพร้อมเพรียงกัน ?ไม่มีใครผิด?

อากงจึงกล่าวต่อไปว่า ?เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ในที่เดียวกัน มองของอย่างเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกัน นั่นก็เพราะคนทุกคนมองตะเกียง จากมุมมองของตัวเอง มองในสิ่งที่ตัวเองเห็น และก็เชื่อมั่นในสิ่งที่เห็น?

?แต่ถ้าเจ้าอยากรู้ว่า ทำไมคนอื่นจึงเห็นไม่เหมือนเรา แตกต่างกับเรา ก็จงเดินไปดูที่มุมของเขา แล้วเราก็จะรู้ จะเข้าใจว่า เขาเห็นอย่างไร เห็นและคิดได้อย่างที่เขาเห็น?

?ต่อไปในอนาคต เวลาที่พวกหลานๆ ต้องเข้าไปอยู่ในสังคม จะต้องพบคนต่างๆ มากมายที่มองสิ่งเดียวกัน แต่กลับเห็นไม่เหมือนกัน เพราะมีมุมมองที่แตกต่างกัน ก็อย่าไปโกรธเขา?

?เพราะนั่นเป็นเพียงแต่เป็นการมองต่างมุม ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด?

?และอย่าไปกลัวว่า ตัวเองจะผิดที่มองไม่เห็นเหมือนคนอื่น เพราะแต่ละคนก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยขอบข่ายจากประสบการณ์ และจากสิ่งแวดล้อมของตนเอง?

?ถ้าเราอยากเข้าใจว่า ทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น เห็นแบบนั้น ก็จงเดินไปที่มุมของเขา เราก็จะรู้ว่าเขาคิดอะไร ทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น และเมื่อเราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น จะทำให้คนอื่นยอมที่จะเดินมาและเข้าใจหลานเช่นกัน?

อากงถามต่อ ?แล้วสิ่งที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลังเป็นของอย่างเดียวกันไหม?

หลานๆตอบ ?อย่างเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน?

?อย่างไร ?? อากงถาม

หลานตอบว่า ?ครั้งแรกเราเห็นแต่ฝาครอบตะเกียงแต่ครั้งหลังเราเห็นเปลวไฟที่อยู่ในตะเกียง?

อากงจึงกล่าวว่า ?นี่เป็นการบอกว่า จงอย่ามองสิ่งต่างๆ เพียงแค่ที่เห็น...แต่จงเข้าใจทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น?


ที่มา : http://www.bloggang.com