เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
พระราชประวัติและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระองค์
อาวุธคู่พระหัตถ์ ใช้ต่อสู้กับสารพัดความทุกข์ยากแร้นแค้นของพสกนิกร
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: อาวุธคู่พระหัตถ์ ใช้ต่อสู้กับสารพัดความทุกข์ยากแร้นแค้นของพสกนิกร (อ่าน 4026 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
อาวุธคู่พระหัตถ์ ใช้ต่อสู้กับสารพัดความทุกข์ยากแร้นแค้นของพสกนิกร
เมื่อ:
ตุลาคม 16, 2016, 03:19:09 PM
เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ประชาชนชาวไทยและทั่วโลกว่า?พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศพระองค์นี้ ทรงได้รับการสรรเสริญพระยศจากมหาชนทั่วไป ว่า ?มหาราช? หรือ ?พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่? ?
แต่ทว่า ?มหาราช? ของไทยพระองค์นี้ ก็ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ยึดถือ แนวทางแห่งความ ?พอเพียง? และเน้นวิถีแห่ง?ธรรมชาติ? เป็นหลักในการดำเนินการใดๆ
ด้วยยุคสมัยแห่งการแย่งชิงดินแดนผ่านพ้นไป ทำให้ ?ในหลวง? ทรงเป็น ?มหาราช? พระองค์เดียวของไทยที่มิได้ถือดาบหรือศาสตราวุธเป็นเครื่องมือต่อสู้ประจำพระองค์
แต่กระนั้น ?เครื่องมือ? หรือ ?อาวุธ? คู่พระหัตถ์ของพระองค์ท่าน ก็เปี่ยมประสิทธิภาพและนำพาความอยู่ดีกินดีมาสู่ประชาชนของพระองค์มาช้านานกว่า ๖ ทศวรรษแห่งการครองราชย์
?อาวุธ? ซึ่งไร้คม และมิได้ถูกสร้างมาเพื่อทำลายล้างอริราชศัตรู แต่เป็นอาวุธที่ทรงใช้ต่อสู้กับสารพัดความทุกข์ยากแร้นแค้นของพสกนิกรทั้งประเทศ
#แผนที่ส่วนพระองค์
?สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยพระราชทานสัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า
?แผนที่ส่วนพระองค์ที่ทรงใช้เป็นประจำ เป็นแผนที่ขนาดสัดส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ที่ทรงทำขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงคอยปรับแก้และเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปเสมอทุกครั้งที่เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎร
ซึ่งหากปีต่อๆ ไปได้เสด็จฯ ไปที่เดิมอีก ก็จะทรงใช้แผนที่อันเดิมนั้นในการตรวจสอบ
จึงทำให้ทรง ?หวง? แผนที่ส่วนพระองค์ชุดนี้มาก?หากแผนที่นั้น ?เน่า? เต็มทน คือโดนฝนโดนอะไรหลายปีหลายฤดูกาล ก็จะทรงย้ายข้อมูลจากแผ่นเก่าไปสู่แผ่นใหม่ ซึ่งก็ต้องทรงทำเองอีกเหมือนกัน?
นอกจากนี้ ในห้องทรงงานส่วนพระองค์ทุกๆ แห่ง จะมีแผนที่ขนาดใหญ่ติดอยู่ในห้องนั้นด้วยเสมอไป เพื่อให้พระองค์ท่านทรงงานได้สะดวกนั่นเอง
?ประชาชนจะมีโอกาสเห็นอยู่เสมอว่าวิธีการที่ทรงปฏิบัติในการหาแหล่งน้ำ และการช่วยเหลือราษฎรในงานชลประทานนั้นทำอย่างไรจากข่าวในโทรทัศน์
แต่บางท่านอาจจะเข้าใจได้ยากเพราะว่าภาพที่เห็นนั้นไปไหนๆ ก็ตาม พระเจ้าอยู่หัวก็จะต้องถือแผนที่ของท่านอยู่แผ่นหนึ่ง แผนที่แผ่นหนึ่งของท่านค่อนข้างจะกว้างกว่าแผนที่ที่ใครๆ เห็นกันทั่วไป เพราะท่านเอาหลายๆ ระวางมาแปะติดกัน
การแปะแผนที่เข้าด้วยกันนั้นท่านทำอย่างพิถีพิถัน แล้วถือเป็นงานที่ใครจะมาแตะต้องช่วยเหลือไม่ได้เลยทีเดียว ก่อนที่จะเสด็จฯ ไหนท่านจะเตรียมทำแผนที่และศึกษาแผนที่นั้นโดยละเอียด ท่านได้ตัดหัวแผนที่ออก แล้วส่วนที่ตัดออกนั้นจะทิ้งไม่ได้ ท่านจะค่อยๆ เอากาวมาแปะติดกัน
สำนักงานของท่านคือห้องกว้างๆ ไม่มีเก้าอี้ มีพื้น แล้วท่านก้มอยู่กับพื้นแล้วเอากาวติดแผนที่เข้าด้วยกัน แล้วหัวกระดาษต่างๆ ท่านก็ค่อยๆตัดแล้วแปะเรียงกันเป็นหัวแผนที่ใหม่เพื่อจะได้ทราบว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่ใหม่อันใหญ่ของท่าน ท่านทำจากแผนที่ระวางไหนบ้าง
แล้วเวลาเสด็จฯ ไป ก็ต้องไปถามชาวบ้านว่าสถานที่นั้น อยู่ที่ไหน ทางทิศเหนือมีอะไร ทิศใต้มีอะไร ท่านถามหลายๆ คน แล้วตรวจสอบกันไปมาระหว่างคนที่ถามนั้น ดูจากแผนที่อันนั้นว่าแผนที่อันนั้นถูกต้องดีหรือไม่ น้ำไหลจากไหนไปที่ไหน
บางครั้งถ้าแผนที่ไม่ถูกต้องท่านจะตรวจสอบได้ และมีเจ้าหน้าที่จากกรมแผนที่ที่ตามเสด็จฯ ด้วย ก็เรียกมาชี้ให้ดูว่า ตรงนี้จะต้องแก้ไข
แม้แต่ในการเสด็จพระราชดำเนินนั้น ถ้าไปทางรถธรรมดาท่านจะมีแผนที่ซึ่งท่านใช้อยู่ประจำ เป็นแผนที่ ๑ : ๕๐,๐๐๐ แต่ในบางท้องที่ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทำเป็นแผนที่ ๑ : ๒๕,๐๐๐ ซึ่งบางครั้งปรากฏว่าแผนที่ ๑ : ๕๐,๐๐๐ กลับถูกต้องกว่า?
?การพิจารณาในการวางโครงการของท่านนั้นท่านจะพิจารณาเป็นกลุ่มๆ ไปไม่ปะปนกัน เพราะบางครั้งชาวบ้านที่กราบบังคมทูลก็กราบบังคมทูลไม่ถูกต้องก็มี ถูกต้องก็มี ก็ต้องใช้ความรู้หลายๆ ด้าน เพื่อที่จะพิจารณาดูว่าคนไหนให้ข้อมูลถูก คนไหนให้ข้อมูลผิด และสถานที่นั้นเป็นที่ไหน มีคนไหนกราบทูลว่าอย่างไร ก็จะทรงจดลงในแผนที่นั้น
และเวลาเสด็จฯ ไปที่เดิมอีก ส่วนมากจะเป็นปีต่อไป ท่านก็ใช้แผนที่อันเดิมนั้นในการที่จะตรวจสอบ ทำให้ท่านหวงแผนที่ของท่านมาก อันเดิมนั้นต้องเก็บไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนที่ทางภาคใต้นั้นโดนฝนมาก เพราะเวลาเสด็จฯ ออกไปฝนมักจะตก ทำให้แผนที่ค่อนข้างจะเปื่อยยุ่ย ก็ต้องถือด้วยความระมัดระวัง
เวลาท่านสอนท่านสอนแม้กระทั่งการพับแผนที่ เพราะว่าเวลาเรานั่งในรถที่มันก็แคบ กางแขนกางขาออกไปมากไม่ได้
เวลาเตรียมก่อนเดินทางเราต้องพับแผนที่ให้ถูกทางว่าตอนแรกไปถึงไหน และพอไปถึงอีกที่นี่จะต้องคลี่ให้ได้ทันท่วงที จากคลี่หน้าไหนแล้วต่อไปถึงหน้าไหน
(คัดตัดตอนจาก พระดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่คณะอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตีพิมพ์ในวิศวกรรมสาร ประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๒๗)
#ดินสอ
ในการทรงงานแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมักทรงเลือกใช้ดินสอเป็นส่วนใหญ่ ด้วยทรงเห็นว่าประหยัด ราคาถูก ผลิตได้ในประเทศ และเมื่อผิดก็ลบง่าย แม้จะเป็นเพียงดินสอราคาถูก แต่พระองค์ก็ทรงใช้อย่างประหยัดและเห็นคุณค่าเสมอ โดยในปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอเพียง ๑๒ แท่ง และทรงใช้เดือนละแท่งจนกระทั่งสั้นกุดหรือแม้กระทั่งเมื่อดินสอสั้นมากแล้ว
...เรื่องนี้มีที่มา.ครั้งหนึ่งมหาดเล็กคนใหม่คนหนึ่งมีโอกาสได้เข้ามาจัดเก็บสิ่งของในห้องของพระองค์ท่าน มหาดเล็กผู้นั้นมองเห็นดินสอแท่งหนึ่งซึ่งถูกใช้จนเหลือสั้นมากแทบจะกุดเต็มที เขาจึงนำดินสอแท่งนั้นไปทิ้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้ามาในห้องก็ตรัสถามว่า
?ดินสอของเราอยู่ไหน??
มหาดเล็กก็ตอบว่าได้นำไปทิ้งแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปที่ถังขยะ ทรงหยิบดินสอแท่งนั้นขึ้นมาแล้วตรัสกับมหาดเล็กคนนั้น ว่า
?ดินสอแท่งนี้ถึงแม้จะสั้นจวนจะกุดแล้ว แต่หากเรานำแท่งต่อดินสอมาใส่ ดินสอที่เหมือนจะใช้ไม่ได้แล้วแท่งนี้ก็สามารถใช้ได้เหมือนเดิม สามารถใช้ได้จนหมดแท่ง
?สิ่งสำคัญกว่าตัวด้าม ก็คงเป็นจะเป็นไส้ของดินสอ ว่าไส้ถ่านเหล่านั้นได้ขีดเขียนอะไรเพื่อประเทศชาติมาแล้วบ้าง กว่าตลอด ๖ ทศวรรษแห่งการทรงงานของมหาราชผู้นี้?
#กล้องถ่ายรูป
ภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินอยู่ตามป่าเขา ทุ่งนา และทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ พร้อมทรงสะพาย ?กล้องถ่ายรูป? เป็นภาพที่คนไทยคุ้นเคยและเจนตายิ่งอีกภาพหนึ่ง
เคยมีคนในวงการถ่ายภาพเคยนึกสงสัยว่าเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ว่า เหตุใดไม่ทรงใช้กล้องถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูงและราคาแพงเหมือนที่นักถ่ายภาพบางคนเขาใช้กัน แต่กลับทรงใช้กล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาที่ใครๆ ก็หาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด
ซึ่งพระราชจริยวัตรนี้ มีผู้ใหญ่ในวงการถ่ายภาพอธิบายเป็นการเทิดพระเกียรติ ว่า?
ประเทศไทยเราผลิตกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพไม่ได้เลย เราต้องเสียดุลการค้าให้กับต่างประเทศเป็นอันมาก จึงควรสังวรระวังการใช้จ่ายในเรื่องนี้ให้ดีแต่พอเหมาะพอควร
ส่วนผู้ที่ทำธุรกิจทางการถ่ายภาพนั้นย่อมต้องการผลิตงานคุณภาพดี ก็ต้องใช้ของดีราคาแพง นี่เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายภาพกันโดยทั่วไปเพียงแต่ใช้กล้องถ่ายภาพระดับมาตรฐาน ทำงานได้อย่างถูกต้องก็ถือว่าเหมาะสมและดีที่สุดแล้ว
?..
ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล ? tnews
ขอขอบคุณแหล่งที่มาภาพ สำนักงาน กปร.
ที่มา : เพจเพื่อชาติและราชบัลลังก์
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
พระราชประวัติและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระองค์
อาวุธคู่พระหัตถ์ ใช้ต่อสู้กับสารพัดความทุกข์ยากแร้นแค้นของพสกนิกร
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?