ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"  (อ่าน 3486 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923

กรุงเทพมหานคร มาจากนามพระราชทาน "กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" มีความหมาย "เมือง ของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์" ปัจจุบันภาษาราชการเรียก กรุงเทพมหานคร และอย่างย่อว่า กรุงเทพฯ

แต่เมื่อแรกสถาปนาราชธานีนั้น ตรงสร้อย "อมรรัตนโกสินทร์" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานว่า "บวรรัตนโกสินทร์" จวบจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ และต่อมามักเรียกกันว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อ กรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ต่างชาติส่วนใหญ่เรียกเมืองนี้ว่า Bangkok อันมาจากอดีตของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" แต่จะออกเสียงเป็น "แบงก์ค็อก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  มีความสำคัญในฐานะเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่างๆ ทั้งเป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีจากเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม"  (ฝรั่งเทียกับกรุงอัมสเตอร์ดัมของฮอลแลนด์ที่เมืองท่าสำคัญของยุโรป) มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับที่มาของคำว่า บางกอก มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" แล้วเพี้ยนเป็นบางกอก บ้างก็ว่าเนื่องเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นมะกออก ข้อสันนิษฐานนี้อ้างอิงมาจากชื่อเดิมของวัดอรุณราชวราราม คือ วัดมะกอก (ก่อนจะเป็นวัดมะกอกนอก และวัดแจ้ง ตามลำดับ) และต่อมาบางมะกอกกร่อนคำเหลือแค่ บางกอก

เมื่อครั้งกอบกู้อิสรภาพจากพม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2313 แต่ด้วยกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เมื่อ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่า

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ.1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.54 น. พระราชทานนามก่อนมีการเปลี่ยนแปลงสร้อยในรัชกาลที่ 4 ดังกล่าว

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2515 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร

 
ที่มาข้อมูล : https://www.myfirstbrain.com