ผู้เขียน หัวข้อ: ตุลาคม เดือนแห่ง ?ปริวิโยค? เปิดคำให้การ ?นางร้องไห้? ในงานพระบรมศพรัชกาลที่ 5  (อ่าน 3995 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923

ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2453 ตุลาคมปีนั้น นับเป็นเดือนแห่งความทุกข์โศกของชาวสยามทั้งปวง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม นำความ ?ปริวิโยค? ใหญ่หลวงมาสู่คนไทยและผู้อยู่ใต้ร่มพระบารมี

ในงานพระบรมศพครั้งนั้น ยังมี ?นางร้องไห้? เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธี ซึ่งต่อมาถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6

หม่อมศรีพรหมา หรือ เจ้าศรีพรหมา ธิดาพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช (เจ้าสุริยะ ณ น่าน) ผู้ครองนครน่าน ชายาหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ซึ่งเป็นนางกำนัล รับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ได้รับหมายให้เป็นนางร้องไห้ในงานพระบรมศพ ได้เขียนเล่าถึงเรื่องราวและความรู้สึกในห้วงเวลานั้นอย่างละเอียดไว้

ข้อความส่วนหนึ่ง มีดังนี้

..ต่อมาผู้เขียนได้รับหมายให้ไปเป็นนางร้องไห้ ให้ไปตั้งแต่ 8 โมงเช้าวันนั้น (23 ตุลาคม) โดยแต่งชุดขาวทั้งชุด ท่านผู้สำเร็จราชการของสมเด็จ (คุณท้าวปั้ม) ท่านก็จัดไปตามหมาย เมื่อผู้เขียนออกจากพระตำหนัก จะเข้าไปเป็นนางร้องไห้ในวังหลวง สมเด็จก็ยังไม่คืนพระสติ ภายหลังทราบจากเพื่อนๆ ที่ไมไ่ด้เข้าไปเป็นนางร้องไห้ว่า พอรู้สึกพระองค์ ก็ทรงพระกรรแสงจนหมดพระสติไปอีก หลายครั้งหลายคราว

ผู้เขียนได้ไปนั่งร้องไห้อยู่ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การร้องไห้นั้น แท้ที่จริงเป็นการร้องเพลงอย่างเศร้าที่สุด เกิดมาผู้เขียนก็เพิ่งเคยได้ยิน ขณะนั้นผู้เขียนอายุในราว 19-20 และรู้สึกว่าเพลงร้องไห้นี้ช่างเศร้าเสียนี่กระไร ทุกคนน้ำตาไหลรินจริงและสะอื้นจริงๆ ยิ่งมีเสียงปี่ที่โหยหวน และเสียงกลองชนะ (เปิงพรวด) เลยยิ่งไปกันใหญ่

นางร้องไห้มีผลัดกันหลายผลัด แต่ละผลัดแบ่งเป็นยามๆ คือ ยามรุ่ง ยามเที่ยง ยามค่ำ และสองยาม เมื่อได้เวลาผลัดใครผู้นั้นๆ ก็ไปรวมกันที่พระที่นั่งดุสิตฯ แต่ละผลัดของนางร้องไห้ จะมีทั้งหมด 14 คน  แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ ต้นเสียง 6 คน นอกนั้นเป็นลูกคู่ พวกต้นเสียงนั้น โดยมากเป็นคนประจำของวงดนตรีของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ส่วนลูกคู่ 8 คนก็จัดเอาพวกเจ้าจอมที่ยังสาวอยู่ไปรวมทั้งตัวผู้เขียนด้วย

การจะตั้งต้นร้องไห้นั้น ต้องคอยฟังเสียงประโคมก่อน แล้วจึงจะร้องบทเพลงพิเศษโดยร้องกันไปรับกันไป จนเสียงประโคมหยุด เป็นอันหมดพิธีของผลัดนั้น แต่หากผลัดใดประจวบกับวันทำบุญใหญ่ทุกๆ 7 วัน นางร้องไห้จะต้องร้องแทรกระหว่างยามค่ำกับสองยามอีกวาระหนึ่ง

วันทำบุญใหม่จะมีเจ้านาย ขุนนาง และชาวต่างประเทศมาร่วมเป็นจำนวนมาก นางร้องไห้ต้องปฏิบัติหน้าที่ดีเป็นพิเศษ และต้องทำงานหนักกว่าวันธรรมดาหน่อย ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดไปเป็นเวลาร่วมปีจนถวายพระเพลิง?

ที่มา : มติชนออนไลน์ 27 ตุลาคม พ.ศ.2559
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2018, 10:19:06 PM โดย เลิศชาย ปานมุข »