เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
เรื่องเล่าและภาพความประทับใจกับพระราชกรณียกิจ
กว่า 50 ปี ในหลวงพระราชทานปริญญาบัตร "มือต่อมือ จับกระดาษที่เดียวกัน"
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: กว่า 50 ปี ในหลวงพระราชทานปริญญาบัตร "มือต่อมือ จับกระดาษที่เดียวกัน" (อ่าน 3820 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
กว่า 50 ปี ในหลวงพระราชทานปริญญาบัตร "มือต่อมือ จับกระดาษที่เดียวกัน"
เมื่อ:
ตุลาคม 29, 2016, 07:13:17 PM
ทรงรับสั่งว่า เป็นโอกาสเดียวที่พระองค์ท่านจะทรงได้ใกล้ชิดพสกนิกรมากที่สุด จนกระทั่งมือต่อมือจับกระดาษที่เดียวกัน แม้แต่เวลาพระราชทานน้ำสังข์ ก็ยังไม่ได้ใกล้ชิด เทียบเท่าขนาดนี้ เพราะแค่ทรงหลั่งน้ำสังข์ลงบนศีรษะเท่านั้น แต่นี่เป็นการสัมผัสเบื้องบน บัณฑิตจับเบื้องล่าง เป็นการส่งต่อพระบรมราชปณิธานไปยังบัณฑิต
ช่วงนี้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของรัฐ มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งบัณฑิต, มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต ถือเป็นรุ่นสุดท้าย ในพระปรมาภิไธยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
รู้หรือไม่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่เมื่อไหร่ มีบัณฑิตได้รับพระราชทานแล้วกี่มากน้อย ?
ในหนังสือเย็นศิระเพราะพระบริบาล กับลัดดาซุบซิบ โดยแถมสิน รัตนพันธุ์ บอกเล่า ให้ผู้อ่านได้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในเรื่องส่วนพระองค์ผ่านตัวหนังสือ ในหลวงพระราชทานปริญญามากว่า 470,000 คน (เดลินิวส์ 18 กันยายน 2533)
"เรื่องนี้ขออย่าได้แปลกใจ หากจะบอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่พระมหากษัตริย์พระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงให้เกียรติแก่บัณฑิตอย่างสูงยิ่ง เท่ากับผู้ทำคุณประโยชน์ได้รับเครื่องราชอิสริยภรณ์ ชั้นสายสะพายทีเดียว คือ มีโอกาสได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรอย่างใกล้ชิดที่สุดด้วย
พระราชกรณียกิจพระราชทานปริญญาบัตร เริ่มตั้งแต่ปี 2493 จนถึง 2529 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 490 ครั้ง บางครั้งใช้เวลานานถึง 10 วัน วันละ 3 ชม. มีบัณฑิตเข้ารับพระราชทานประมาณ 470,000 คน
พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์จำนวน 940,000 ครั้ง เคยมีผู้คิดน้ำหนักของปริญญาบัตรได้ฉบับละ 3 ขีด รวมทั้งสิ้น 141 ตัน"
*****************************
ขณะที่ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เคยบรรยายพิเศษ เรื่อง ?บัณฑิตไทยในพระราชดำริ? ในโอกาสที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ?พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาคนไทยที่สมบูรณ์แบบ? ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553
ตอนหนึ่ง ศ.ดร.วิษณุ พูดถึงบัณฑิตไทยตามแนวพระราชดำรัสหรือในแนวพระราชดำริ
"ผมพยายามจะประมวลส่วนที่เปิดเผยได้ ตรวจสอบได้ ก็คือต้องเอามาจากพระบรมราโชวาทในงานพระราชทานปริญญาบัตร ท่านผู้รู้หลายท่าน ว่า เวลาพระราชทานปริญญาบัตรเป็นภาระที่หนักมาก บัณฑิตแต่ละคนที่ไปรับไม่ได้เหนื่อย มากไปกว่าการเดินขึ้น โค้ง และยื่นมือไปรับ แต่คนที่นั่งอยู่เฉยๆ หยิบแล้วยื่นให้
เคยคิดกันหรือไม่ว่า ปริญญาบัตร 10 แผ่นที่เข้าปก เท่ากับ 1 กิโลกรัม ปีหนึ่งพระราชทานแก่บัณฑิตมีการเสด็จพระราชดำเนินกี่ครั้ง และทรงทำเช่นนี้มากว่า 50 ปี หรือมากกว่านี้ คิดเป็นน้ำหนัก หลายร้อยกิโลกรัม และระยะทางการหยิบยื่นปริญญาบัตร ต่อ 1 ปี เป็นร้อยกิโลเมตร นับว่าเป็นพระราชภาระที่หนักมาก"
ศ.ดร.วิษณุ เล่าวด้วยว่า แม้ในวังเคยพระราชทานบังคมทูลแล้วว่า ให้งดพระราชทานปริญญาบัตร เปลี่ยนไปใช้วิธีอย่างอื่น แต่พระองค์รับสั่งว่า
?สิ่งที่มีประสงค์จะสอนให้คนที่เป็นบัณฑิตได้รู้ด้วย เป็นความรู้สุดท้ายจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นความรู้สุดท้าย คือให้รู้จักว่า คนเราต้องอดทน คนเราต้องมีวินัย คนเราบางครั้งมันเหนื่อย แต่ต้องทำเพื่อคนอื่น และที่สำคัญที่สุด คือ ทรงรับสั่งว่า เป็นโอกาสเดียวที่พระองค์ท่านจะทรงได้ใกล้ชิดพสกนิกรมากที่สุด จนกระทั่งมือต่อมือจับกระดาษที่เดียวกัน แม้แต่เวลาพระราชทานน้ำสังข์ ก็ยังไม่ได้ใกล้ชิด เทียบเท่าขนาดนี้ เพราะแค่ทรงหลั่งน้ำสังข์ลงบนศีรษะเท่านั้น แต่นี่เป็นการสัมผัสเบื้องบน บัณฑิตจับเบื้องล่าง เป็นการส่งต่อพระบรมราชปณิธานไปยังบัณฑิตด้วย?....
ล่าสุด ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อุปนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายเรื่อง แลรูปเล่าเรื่อง "ใต้ร่มพระบรมราชูปถัมภก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชกาลที่ 9? ณ ห้อง 212 ชั้น 2 อาคารมหิตลาธิเบศร วันที่ 26 ตุลาคม 2559 โดยเล่าถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายกับหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี ว่า การที่ทรงยืนยันการจะพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระหัตถ์พระองค์เองแม้จะมีอาการพระประชวรนั้นมี 2 เรื่องที่สำคัญ คือ
หนึ่งต้องการที่จะใกล้ชิดกับบัณฑิตใหม่แต่ละคนในวินาทีที่รับพระราชทานปริญญาบัตรนั้นมือของบัณฑิตข้างหนึ่ง และพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างหนึ่งจับอยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน ถ้าสองมือทำงานไม่พร้อมกันกระดาษก็จะล้นล่วงลง บัณฑิตที่มีโชคได้จับกระดาษแผ่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกระดาษแผ่นนั้นก็จะมีความหมายมากกว่ากระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ต้องพระราชประสงค์ทรงสอนบัณฑิตที่อาจจะไม่ได้กลับมาเรียนหนังสืออะไรเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยอีกแล้ว ว่า บางครั้งคนเราก็ต้องทำอะไรที่ไม่ใช่ความสุขของตนเองเป็นความเหนื่อยยาก อย่างเช่นที่พระองค์ทรงมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง แต่เพื่อประโยชน์ของคนอื่น สิ่งนี้ทรงสอนด้วยการกระทำให้เป็นแบบอย่างในเรื่องของการเสียสละเพื่อส่วนรวมและทรงหวังว่าบัณฑิตจะได้นำไปเป็นแบบอย่างและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ปี 2493 จนถึงปี 2540 เป็นเวลากว่า 50 ปี กระทั่งสมัยหลัง ด้วยประชวร จึงโปรดให้พระราชวงศ์เสด็จแทน พิธีจะประดับธงพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อมีผู้แทนพระองค์เสด็จถึง และหน้าที่ประทับจะมีพระครุฑพ่าห์ สัญลักษณฑ์พระมหากษัตริย์ เพื่อสื่อความหมายว่า เสมือนพระมหากษัตริย์เสด็จมาเอง...
อ่านข่าวประกอบ:
แลรูปเล่าเรื่อง โดยศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ
ที่มาภาพ
http://www.ohm.go.th/th/King
ที่มา
https://www.isranews.org/thaireform-data-education/item/51109-kibhumibol-51109.html
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
เรื่องเล่าและภาพความประทับใจกับพระราชกรณียกิจ
กว่า 50 ปี ในหลวงพระราชทานปริญญาบัตร "มือต่อมือ จับกระดาษที่เดียวกัน"
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?