ผู้เขียน หัวข้อ: พระบรมอัฐิและสถานที่ปลงพระศพสมเด็จพระนเรศ จริงหรือไม่ ณ วัดวรเซษฐ์ นอกเกาะเมือง  (อ่าน 6760 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เปิดตำนานความเชื่อ
พระบรมอัฐิและสถานที่ปลงพระศพสมเด็จพระนเรศ จริงหรือไม่จริง ณ วัดวรเซษฐ์ นอกเกาะเมือง
เลิศชาย ปานมุข

***************************

เมื่อวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2557 ช่วงบ่ายหลังจากเสร็จภารกิจที่สำนักงาน กศน.จังหวัด กับท่านผู้บริหาร เมื่อขับรถกลับได้มีโอกาสไปไหว้พระปรางค์ ที่เล่าขานกันว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้นั่งชมและซึมซับบรรยากาศที่ร่มเย็นสงบภายในบริเวณศาสนสถานโบราณแห่งนี้สักพักหนึ่ง มีความรู้สึกบางอย่างเกิดขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งสามารถรับรู้ได้ และวันนี้ผมได้นำเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของ ***วัดวรเชษฐ์*** ที่สืบค้นอีกแง่มุมหนึ่งให้รับรู้กันครับ

จากการค้นคว้าข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและหนังสือต่างๆ ก็พบเรื่องราว ที่ดูน่าสนใจ ทั้งมีข้อถกเถียงจากพงศาวดาร บันทึกต่างๆ ทั้งของไทยและเทศ เกิดความแปลกใจกับที่มาของชื่อวัดในปัจจุบัน และเรื่องราวอีกหลายอย่างที่ดูแปรเปลี่ยนไป จนไม่หลงเหลือเค้าของความเป็นโบราณสถานที่ร่ำลือว่าเป็นที่ปลงพระศพของ ?สมเด็จพระนเรศวรมหาราช? กษัตริย์นักรบที่ยิ่งใหญ่ ของอโยธยาศรีรามเทพนคร ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จหรือไม่ก็ตาม

ก่อนจะพูดถึงวัดวรเซษฐ์ (นอกเกาะเมือง) ที่ผมเขียนถึงนี้ มีอีกวัดหนึ่งที่มีชื่อคล้ายกัน คือวัด วัดวรเชษฐารามที่ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง ตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี พ.ศ. 2136 เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเชษฐา ที่ได้สวรรคตลงขณะยกทัพไปเมืองตองอู โดยได้บรรจุพระบรมอัฐิไว้ภายในวัดวรเชษฐาราม ซึ่งเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเชษฐา จากคำบอกเล่าสืบมาบอกว่ามีผู้ลักลอบขุดกรุเจดีย์ประธานโดยได้พบผอบบรรจุอัฐิซึ่งมีพระพุทธรูป นาคปรกล้อม อันเป็นพระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพ (วันเสาร์) ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่ทำให้เชื่อว่า วัดวรเชษฐารามแห่งนี้ น่าจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิพระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งในแผนที่พระนครศรีอยุธยาของพระยาโบราณราชธานินทร์ พ.ศ.2469 ระบุชื่อว่า ?วัดวรเชษฐาราม? และยังคงเป็นชื่อเรียกในปัจจุบัน

แล้ววัด ?วรเซษฐ์? นอกเกาะเมืองล่ะ วัดใดกันที่เป็นที่ปลงพระศพสมเด็จพระนเรศวรกันแน่ มาดูประวัติและพงศาวดารของวัดนี้ที่พอจะหาได้กันบ้างครับ

พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวเนื้อความตรงกัน เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถทรงราชาภิเษกขึ้น ครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2149 ทรงสร้างวัดวรเชษฐารามวิหารอันรจนา พระพุทธปฏิมามหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำเร็จกุฎีสถานปราการสมด้วยอรัญวาสี แล้วก็สร้างพระไตรปิฏกธรรมจบบริบูรณ์ทั้งพระบาลีและอรรถกถาฎีกาคันถีวิวรณ์ทั้งปวง จึง แต่งหอพระสัทธรรมเสร็จก็นิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีผู้ทรงศีลาธิคุณอันวิเศษมา อยู่ครองพระวรเชษฐารามนั้นแล้ว ก็แต่งขุนหมื่นข้าหลวงไว้สำหรับอารามนั้น แล้วจำหน่ายพระราชทรัพย์ไว้ให้แต่งจตุปัจจัยไทยทานถวายแก่พระสงฆ์เป็นนิจกาล แล้วให้แต่งฉทานศาลา แล้วประสาทพระราชทรัพย์ ให้แต่งโภชนาหารจังหันถวายแก่ภิกษุสงฆ์เป็นนิตยภัตรมิได้ขาด การก่อสร้างตามนัยแห่งพงศาวดารดังกล่าวมาเป็นการก่อสร้างก่อนที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ส่วนหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถได้ครองราชสมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้ว ทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลถวายพระเชษฐาธิราชวัดหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์

คำให้การขุนหลวงหาวัดให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ สร้างวัดไว้ที่ถวายพระเพลิงพระนเรศวรแล้วจึงสมมุตินามเรียกว่า วัดสบสวรรค์ พระองค์จึงสร้างวัดไว้ที่สวนฉลองพระองค์พระเชษฐาวัดหนึ่ง แต่วัดสบสวรรค์นั้นเป็นที่เชื่อกันในหมู่นักวิชาการแล้วว่าเป็นวัดที่สร้าง ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสมเด็จพระสุริโยทัย

ในแผนที่พระนครศรีอยุธยาของ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา พ.ศ. 2510 ระบุชื่อว่าวรเชษฐ์ (นอกเกาะเมือง) ว่า ?วัดประเชด?
คำให้การของชาวกรุงเก่าระบุว่า วัดวรเชษฐ์ฯ นี้ เคยเป็นที่ตั้งค่ายรอบกรุงค่ายหนึ่งของพม่าทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง เมื่อ พ.ศ. 2310 เรียกว่า ค่ายวัดวรเชษฐ์ ค่ายบ้านป้อม ที่ทุ่งประเชด ซึ่งสอดคล้องกับร่องรอยของป้อมริมกำแพงวัด แสดงให้เห็นว่า ?วัดวรเชษฐ์? มีการสร้างมาแล้วอย่างน้อยในสมัยอยุธยา

นายประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และผู้ศึกษาด้านโบราณคดี เขียนไว้และฟันธงระบุชัดว่า วัดวรเชษฐ์ที่คนอยุธยามักเรียกสร้อยต่อท้ายชื่อว่าวัดวรเชษฐ์นอกเกาะตามที่ ตั้งของวัดที่อยู่ในเขตอรัญญวาสีนอกเขตเกาะเมืองอยุธยา เมื่อย้อนไปในสมัยอยุธยา สมัยแผ่นดินอันรุ่งเรืองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น วัดแห่งนี้ก็คือวัดป่าแก้ว วัดสำคัญของเมืองที่มีสมเด็จพระพันรัตน์เป็นเจ้าอาวาส และเป็นสมเด็จพระสังฆราชจำพรรษาอยู่นั่นเอง

จากสำเนาเอกสาร เรื่อง 401 ปี วันสวรรคต พระนเรศวร วีรกษัตริย์รักชาติซึ่งเป็นบทคำกล่าวของพิธีกรตอนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัดวรเชษฐ์ ดังนี้ ?วัดวรเชษฐ์ ขณะสถานที่สวรรคตยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอยู่บริเวณไหนกันแน่ การค้นคว้าหาพื้นที่ถวายพระเพลิง การเคลื่อนพระบรมศพ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าตั้งอยู่บริเวณใด แต่เป็นที่เชื่อกันว่า ?วัดวรเชษฐาราม? (นอกเกาะ) ซึ่งดูตามชื่อและหลักฐานที่ปรากฏในกฎหมายพระเอกาทศรถ เพื่อการถวายพระเพลิงและเก็บพระอัฐิ อีกทั้งลักษณะของปรางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของเขมร ม.จ.ชาตรี เฉลิมยุคล บอกว่า มีการสันนิษฐานกันว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ปลงพระศพของสมเด็จพระนเรศวร เพราะมีถนนโบราณออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่นำพระโกศมาตามประเพณีต้องวนเวียนก่อน 3 รอบ ก่อนจะนำขึ้นมาปลงพระศพ?

ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา 417 ปี กล่าวว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีความเห็นว่า พระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างพระมงคลบพิตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และเฉลิมพระเกียรติให้แก่สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นพระเชษฐาและเป็นผู้มีพระคุณ ยิ่งใหญ่แก่กรุงศรีอยุธยา และวัดวรเชษฐารามมหาวิหารอันเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี

******************************************

จากการได้อ่านและศึกษาข้อมูลแล้วพอสรุปได้ว่า..........

1. วัดวรเชษฐ์ เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถเพื่อเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเชษฐา ที่ได้สวรรคตลงขณะยกทัพไปเมืองตองอู (สองวัดสรุปประวัติเหมือนกัน)

2. ในด้านพื้นที่และบริเวณถวายพระเพลิงพระบรมศพ หากอยู่ในเกาะเมือง จะกระทำได้อยากลำบาก เพราะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ มีหัวเมืองประเทศราช ที่อยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยา มากมายหากการถวายเพลิงพระบรมศพนั้นอยู่ในเกาะเมืองที่วัดวรเชษฐ์อีกแห่งในเกาะเมืองซึ่งมีพื้นที่เล็กมากคงไม่สามารถรองรับผู้คนที่มาแสดงความจงรักภักดีทั่วสารทิศได้อย่างสมพระเกียรติ (วัดวรเชษฐ์นอกเกาะดูจะสมเหตุสมผลกว่า)

3. วัดของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญญวาสี ต้องตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเมือง ซึ่งวัดวรเชษฐ์อยู่ตรงตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลังการสร้างบ้านแปลงเมืองตามประเพณีการสร้างวัด ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ดังต่อไปนี้ วัดอรัญญิกของราชบุรี, วัดอรัญญิกของสุโขทัย, วัดป่าแดงวัดอรัญญิกของเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) วัดแก้วของสรรคบุรี เป็นต้น เหล่านี้คือเมืองโบราณสำคัญที่เก่าแก่ที่เคยมีเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ปกครองมาก่อนย่อมจะมีระบบแบบแผนเหมือนกัน (พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวเนื้อความตรงกันคือมีพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษาซึ่งในเกาะเมืองคือพระสงฆ์คามวาสีเท่านั้น )

4. ปรางค์ประธาน รูปแบบสถาปัตยกรรมจากนักโบราณคดีสรุปตรงกันว่าเป็นสมัยอยุยาตอนกลางพัฒนารูปแบบมาจากวัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดราชบูรณะ แต่มีการพัฒนาให้ซุ้มทิศทั้ง 4 ยื่นออกมาจากเรือนธาตุมากขึ้น เชื่อว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ส่วนวัดวรเซษฐ์ในเกาะเป็นทรงระฆังคว่ำแต่ก็บอกเป็นสมัยเดียวกัน)

/////ผมไม่สรุปว่าที่ใดเป็นวัดที่ปลงพระศพสมเด็จพระนเรศวรพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริง หากใครได้ลองศึกษาเรื่องนี้ มันมีเรื่องลึกๆกว่านั้นอีกมากมายทั้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความเชื่อ ความศรัทธา ผมไม่ขอเอ่ยถึงข้อมูลที่ได้อ่านชุดนั้น (ใครสนใจลองค้นเองนะครับ) ซึ่งตอนนี้มีข้อมูลให้สิบค้นมากมาย และวัดแห่งนี้มีนักปฏิบัติสายกรรมฐานหรือผู้ที่มีสัมผัสที่ 6 บอกว่าวัดนี้คือวัดที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรอย่างแน่นอน ท่านอ่านแล้วสรุปด้วยตัวท่านเองนะครับ///////

จากการไปนั่งในวันนั้นรู้สึกเย็นยะเยือกแปลกๆเหมือนกัน เมื่อเดินสำรวจรอบๆ พบพระปรางค์และเจดีย์อยู่ คือ

1. ปรางค์ประธาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เก้บพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

2.เจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองสร้างถวายเป็นพระราชกุศลให้แด่สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา

3. เจดีย์ระฆังคว่ำ ซึ่งว่ากันว่าเป็นเจดีย์ซึ่งที่บรรจุอัฐิของสมเด็จพระพันรัต (สมเด็จพระสังฆราชแตงโม) มหาเถรคันฉ่อง

นอกจากนี้ยังมีวิหาร อุโบสถ ซากปรักหักพังของพระพุทธรูป เครื่องเซ่นไหว้สมเด็จพระนเรศวร ว่างๆผ่านไปลองไปแวะเยี่ยมชมสักกะระกันนะครับ

/////อย่าลืมครับ ประวัติศาสตร์ชาติไทย มีไว้ให้ศึกษาเรียนรู้และเป็นข้อมูลทางวิชาการ เรียนประวัติศาสตร์เพื่อเรียนรู้ความเป็นไทยครับ/////