เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ไขข้อสงสัย?โอเน็ต?เด็กไทยยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ไขข้อสงสัย?โอเน็ต?เด็กไทยยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ (อ่าน 4033 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ไขข้อสงสัย?โอเน็ต?เด็กไทยยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ
เมื่อ:
เมษายน 02, 2018, 02:40:42 PM
ไขข้อสงสัย 'โอเน็ต'เด็กไทย ยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน หรือโอเน็ต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2560 ใน 4 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เรียบร้อยแล้ว คะแนนภาพรวมยังตกต่ำเช่นทุกปี
โดย ป.6 วิชาภาษาไทย เข้าสอบ 704,705 คน คะแนนเฉลี่ย 46.58 คะแนน ภาษาอังกฤษ เข้าสอบ 704,692 คน คะแนนเฉลี่ย 36.34 คะแนน คณิตศาสตร์ เข้าสอบ 704,633 คน คะแนนเฉลี่ย 37.12 คะแนน และ วิทยาศาสตร์ เข้าสอบ 704,697 คน คะแนนเฉลี่ย 39.12 คะแนน
ส่วน ม.3 ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 643,904 คน คะแนนเฉลี่ย 48.29 คะแนน ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 643,592 คน เฉลี่ย 30.45 คะแนน คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 643,772 คน คะแนนเฉลี่ย 26.30 คะแนน และวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 643,462 คน คะแนนเฉลี่ย 32.28 คะแนน
เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2559 สอบช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา พบว่าคะแนนยังคงไม่กระเตื้องเท่าที่ควร แถมบางวิชาลดลง
ระดับ ป.6 ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 724,347 คน คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศ 52.98 สังคมศึกษา ผู้เข้าสอบ 724,342 คน คะแนนเฉลี่ย 46.68 ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 724,336 คน คะแนนเฉลี่ย 34.59 วิชาคณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 724,285 คน คะแนนเฉลี่ย 40.47 และวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 724,349 คน คะแนนเฉลี่ย 41.22
สำหรับ ม.3 ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 637,491 คน คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศ 46.36 สังคมศึกษา ผู้เข้าสอบ 637,245 คน คะแนนเฉลี่ย 49.00 ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 637,406 คน คะแนนเฉลี่ย 31.80 คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 637,256 คน คะแนนเฉลี่ย 29.31 วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 637,047 คน คะแนนเฉลี่ย 34.99
แม้ นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักจะออกมาบอกว่า ภาพรวม ผลสอบโอเน็ต นักเรียน ป.6 และ ม.3 ปีนี้ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่ต่างจากที่ผ่านมา แต่ต้องยอมรับว่าผลคะแนนที่ออกมาสะท้อนถึงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนซึ่งอาจจะยังไม่สามารถนำผลสอบโอเน็ต ที่ออกมาไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์
นายสมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกชัดว่าถึงเวลาแล้วที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องทบทวนการจัดสอบโอเน็ต และหาเครื่องมือการวัดผลอย่างอื่นมาใช้แทน เพื่อให้การประเมินผลระดับชาติเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง
สำหรับคะแนนปีนี้ ทำให้เห็นได้ว่าการศึกษาไทยไม่กระฉับกระเฉง ทั้งที่มีข้อเสนอและมีการปรับเปลี่ยนต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย แต่ยังคงไม่เกิดการพัฒนา
โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปี ซึ่งรัฐบาลเดินหน้าปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการศึกษา แต่ผลคะแนนระดับชาติกลับไม่ตอบโจทย์ มิหนำซ้ำยังย่ำอยู่กับที่ ดังนั้น การที่เราใช้โอเน็ตมาหลายปี แต่การศึกษายังไม่ดีขึ้น สะท้อนอะไรได้หลายอย่าง เหมือนกำลังหลงทาง ผลคะแนนที่ออกมาผิดวัตถุประสงค์การจัดสอบระดับชาติ ที่ควรเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการศึกษาประเทศ
"คะแนนโอเน็ตสะท้อนให้เห็นว่า จริงๆ แล้วการศึกษาไทยไม่ไปไหน ศธ.หวังว่าจะใช้คะแนนโอเน็ตเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาการศึกษา แต่เท่าที่ดูไม่มีครูหรือโรงเรียนใด นำผลคะแนนไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน ผมคิดว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ ศธ.ควรทบทวนการสอบโอเน็ตใหม่ว่าสอบเพื่ออะไร และผลลัพธ์ที่ได้ตอบโจทย์ประเทศได้ตามที่ต้องการหรือไม่ เพราะการจัดสอบแต่ละครั้งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก หรือควรหาเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมกว่ามาใช้แทนโอเน็ต" นายสมพงษ์กล่าว ขณะที่ นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มองว่าที่ผ่านมา กอปศ.ได้พูดคุยถึงเรื่องนี้ แต่ไม่ได้มองในประเด็นที่ว่าควรมีการสอบโอเน็ตหรือไม่ กอปศ.มองในมุมของทักษะการเรียนการสอน ซึ่งในช่วงชั้นที่ 1 คือ ป.1-3 เด็กไม่ควรเรียนเนื้อหาที่มากเกินไป แต่ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะ สร้างทักษะการเรียนรู้ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การล้างมือ ความมีน้ำใจ มารยาทต่างๆ ที่ต้องรู้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นค่อยไปเรียนเนื้อหาบางส่วนในช่วงชั้นที่ 2 ป.4-6
สาเหตุที่มองเช่นนี้เพราะพบว่า เนื้อหาหนักๆ ที่เด็กเรียนในชั้นประถมศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนรู้ได้ไม่นานเมื่อเด็กเรียนในชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้น จึงอาจไม่จำเป็นที่เราต้องเร่งให้เด็กเรียนเนื้อหาหนักๆ ตั้งแต่แรกๆ
"การที่คะแนนโอเน็ตต่ำ มีสองประเด็นคือ ความรู้ของเด็กไม่เพียงพอหรือข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งในส่วนของข้อสอบ ผมไม่ขอวิจารณ์เพราะไม่เห็นเนื้อหาข้อสอบ สิ่งที่พูดได้คือส่วนความรู้ของเด็ก ซึ่งภาพรวมพบว่า เด็ก ป.1-3 จะได้รับความรู้ในส่วนเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ถ้าข้อสอบโอเน็ตออกเน้นเนื้อหาแล้วคะแนนต่ำ หมายความว่า การเรียนการสอนในห้องเรียนมีความผิดพลาด แต่ถ้าข้อสอบ เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ แล้วคะแนนต่ำ ถือว่าข้อสอบไม่ตรงกับการเรียนการสอน
"ส่วนจะถึงขั้นต้องยกเลิกโอเน็ตเลยหรือไม่นั้น ผมไม่สามารถบอกได้ ส่วนตัวคิดยังคงต้องมีการประเมินระดับชาติ ในระดับชั้น ป.6 และ ม.3 จะไม่รู้มาตรฐานของ โรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนจะเรียกว่า โอเน็ตหรือไม่นั้น ตรงนี้ไม่สามารถบอกได้" นพ.เฉลิมชัยกล่าว
ผลคะแนนโอเน็ตที่ไม่ดีขึ้น ถือเป็นหนึ่งโจทย์สำคัญที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. คงต้องเร่งหาคำตอบ
เพราะผลคะแนนที่ออกมายังสวนทางกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา ที่หวังพัฒนาการศึกษาไทยให้ดีขึ้น
--จบ--
--มติชน ฉบับวันที่ 31 มี.ค. 2561 (กรอบบ่าย)
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ไขข้อสงสัย?โอเน็ต?เด็กไทยยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?