เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความเกี่ยวกับความรัก ความผูกพัน
ความรัก กรรม รักแท้ และการสิ้นสุดทุกข์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ความรัก กรรม รักแท้ และการสิ้นสุดทุกข์ (อ่าน 5400 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3923
ความรัก กรรม รักแท้ และการสิ้นสุดทุกข์
เมื่อ:
กรกฎาคม 07, 2018, 12:44:28 AM
สังสารวัฎหาคำว่า เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เพราะมันโยงใยเกี่ยวข้องเป็นวัฎฏะ
คำว่า วัฏฏะ หมายถึง ความวน
ถามว่าเกี่ยวข้องกับเรื่อง ความรักกับกรรมที่จะอธิบายอย่างไร
ก็ตอบได้ว่า ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อชี้ให้เห็นว่าที่จริง รักแท้สำหรับคนที่ยังมีกิเลสนั้นไม่มี เพราะทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยวนของทั้งกุศล และอกุศล เพราะความไม่รู้ (อวิชชา)
เราจะได้เจอกับใคร ผูกพันกันในฐานะไหน เกื้อกูลกันในลักษณะใด ทางโลก ทางธรรม ทางธุรกิจ ฯลฯ เกิดจากกรรมที่แต่ละคนสะสมเหตุมาในลักษณะนั้น ๆ
คำว่า วัฎฏะ ในทางพุทธหมายถึง วงจร ๓ ส่วน เรียกว่าไตรวัฎฏ์ ได้แก่
การหมุนวนด้วยกิเลส กรรม และวิบาก
กิเลส หมายรวมถึง ?อวิชชา? ความไม่รู้ เพราะความไม่รู้ความจริง จึงทำให้เกิดการสำคัญผิด หมายรวมถึง ?ตัณหา? ความอยาก อยากได้ อยากมี อยากเป็น ด้วยความไม่รู้ หมายรวมถึง ?อุปาทาน? ความยึดมั่น ในกาม ในความเชื่อของตนเองและผู้อื่น
กรรม หมายถึง การกระทำ บางคนก็เรียกผลของการกระทำว่า กรรม เพราะ กระทำเหตุแล้วมีผล แต่ในที่นี้แยกผลของกรรม เรียกออกมาว่า เป็น วิบาก (วิบากกรรม) ทำกรรมอย่างไรก็ส่งผลให้ได้รับอย่างนั้น เกิดมาหล่อ สวย รวย จน ได้รับความสุข ทุกข์ เกิดเป็นมนุษย์ก็มีเกิดแล้วจะต้อง แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เศร้าโศก
เพราะความไม่รู้ทำให้หลงกระทำกรรมด้วยกิเลส เมื่อทำกรรมแล้วก็จะวนให้ได้รับผลนั้น และกิเลสตัวนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ ก็ยังสะสมนอนอยู่ในใจเรา ก็จะวนพาให้อยากทำตามกิเลสเดิม ๆ สะสมมากก็เป็นนิสัยสันดาน กลายเป็นคนขี้โกรธ อ่อนแอ เจ้าชู้ ฯลฯ แล้วแต่ใครจะสั่งสมมา แล้วก็เวียนให้ไปทำกรรม รับทุกข์อีก
กฎแห่งกรรมนั้นไม่เคยไม่เที่ยงตรง สร้างเหตุไว้อย่างไรก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้นแน่นอน ที่จะไม่ยอมรับเพราะบอกว่าเราดีกับเขา แต่เขาไม่ดีกับเรานั้นจึงเป็นการเข้าใจผิดของเราเองที่ว่า เราทำกรรมกับคนนี้อย่างไร คนนี้จะต้องทำกรรมแบบเดียวกันกับเราคืนมาเป๊ะ ๆ เดี๋ยวนี้ตอนนี้ (ลองคิดง่ายๆว่าเราดีกับทุก ๆ คนที่เข้ามาดีกับเรา ตอบแทนเขาได้เท่าที่เขาทำให้เราหรือเปล่า) เช่น เราคิดว่าเราดีกับแฟนคนนี้ แฟนคนนี้ก็ต้องดีกับเรา จึงจะเรียกได้ว่า ทำดีได้ดี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ?กรรมจะเลือกจัดสรรให้เราได้รับผลทั้งร้ายและดีที่เราเคยทำไว้แน่นอน แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับตอบจากคนๆ เดิมที่เราเคยทำเสมอไป?
กรรมที่เราประสบพบในวันนี้ อาจเป็นกรรมที่ทำไว้ในชาติที่แล้ว แต่บางเรื่องถ้าเจอบ่อย ๆ ก็เป็นได้ว่าเป็นกรรมที่ทำในชาตินี้โดยสั่งสมเหตุมานานแล้ว
บางครั้งเราคิดว่าทำดีไม่ได้ดีเพราะเราดีกับคนนี้แต่คนนี้กลับทำไม่ดีกับเรา ทั้งที่จริงก็คือเรากำลังรับผลของกรรมเก่า ไม่ใช่ว่าทำดีแล้วต้องได้รับผลจากคนนี้เป๊ะ ๆ เดี๋ยวนี้ (ลองนึกว่าตัวเองดีกับทุกคนที่ดีกับเรา ตอบแทนทุกคนที่ดีกับเราเสมอเลยหรือเปล่า) กรรมดีที่เราทำวันนี้ อาจจะได้รับจากอีกคนในอนาคต ให้ไปทางซ้ายไม่จำเป็นว่าต้องกลับมาจากทางซ้าย อาจกลับมาจากทางขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ก็ได้ กรรมไม่ดีก็ส่งผลแบบเดียวกัน เช่น เอาแต่ใจกับคนมาเยอะ เอาแต่ใจกับคนในบ้าน ก็ทำให้มีแฟนหรือลูกที่เอาแต่ใจ และต้องตามใจเขาบ้าง พูดจาไม่ดีกับคนอื่นไว้มาก ก็จะทำให้ต้องไปอยู่ในแวดวงคนที่พูดจาไม่ดี ไม่รักษาน้ำใจ
คนที่เขามาทำกรรมกับเรา ก็จะต้องไปเสวยผลที่เขาทำ ไม่จำเป็นว่าต้องได้รับจากเรา รับจากคนอื่นก็ได้
ส่วนเราก็เช่นกัน ที่ได้รับกรรมเช่นนี้ก็แปลว่าเรากรรมเช่นนี้มา อาจจะไม่ได้ทำกับคนนี้ เจ้ากรรมนายเวรเป็นคนอื่นก็ได้
เจ้ากรรมนายเวรจะเป็นพ่อ แม่ ลูก เพื่อน แฟน อะไรได้หมด
ถ้าทำกรรมเช่นนี้ไว้เบาบาง ก็อาจถูกกระทำตอบกลับจากคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรมากมาย เจ็บครั้งหนึ่งก็ลืม แต่ถ้าสั่งสมทำกรรมเช่นนี้ไว้มาก ก็จะผูกให้ไปพบคนที่มากระทำในรูปแบบที่แกะออกได้ยาก เช่น พ่อแม่ ลูก แฟน อยู่ในสภาพที่ส่งให้เรายึดไว้แน่น รู้ทั้งรู้ แต่ยังถูกดูดเข้าไปใช้กรรม หรือบางครั้งกรรมก็ลวงว่าคือความสุข ให้หลงไปใช้ เข้าใจว่าเข้าไปใช้แล้วน่าจะดี
และกรรมบางชนิด ไม่ว่าจะหนีไปทางไหนก็หนีไม่พ้น เพราะกรรมส่งผลที่ความรู้สึก
ทางแก้ไขข้อแรกของการหลุดออกจากวงจรทุกข์ในเรื่องหนึ่ง ๆ คือการสำนึกและตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ใครทุกข์แบบเดียวกันกับที่เราได้รับอยู่นี้ เข้าใจแล้วว่าผู้ถูกกระทำรู้สึกเช่นไร เป็นการตัดเหตุกิเลส ที่พาให้เรากระทำกรรมแล้วต้องมาทุกข์เรื่องเดิม ๆ เป็นการตัดกรรม
ให้อภัยกับผู้ที่มาทำไม่ดีกับเรา (เขาเข้ามาตามกรรมเรา) และหากระลึกได้ว่าเคยกระทำเช่นนี้ไว้กับใคร ก็ไปขอโทษ ขออโหสิกรรม ด้วยใจที่ระลึก สำนึกในความผิด เพื่อเป็นการตัดเวร
แล้วก็ตั้งใจหยุดสร้างเหตุไม่ดีต่อเนื่องอื่น ๆ เช่น ถ้ากรรมยังไม่หมด อีกฝ่ายอาจจะยังทำร้ายจิตใจเราอยู่ เราก็ไม่ตอบโต้กลับด้วยโทสะ เช่น การต่อว่า เป็นต้น (เพราะเท่ากับเราไม่ได้สำนึกจริง ๆ ว่าเป็นกรรมของเรา และสร้างเหตุไม่ดีให้ต้องใช้เพิ่ม) ส่วนกรรมจะหมดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างเหตุนั้นมานานแค่ไหน เหมือนสร้างเหตุปลูกเป็นต้นไม้ใหญ่ เมื่อหยุดให้น้ำแล้ว อย่างไรต้นไม้ก็ต้องตาย แต่อาจต้องรอนาน แต่ถ้ายังรดน้ำ ให้ปุ๋ย ก็ไม่มีทางหมด
ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องยอมรับกรรมโดยที่ไม่คิดทำอะไรดี ๆ เลย แค่แนะนำให้ไม่ทำไม่ดีกลับ แต่ไม่ได้แนะนำว่าอย่าทำอะไรนะ เช่น ถ้าเขาทำร้ายร่างกาย หลบได้ก็หลบนะ หนีได้ก็หนีแค่ไม่ตีกลับ แต่ถ้าเป็นกรรมเรื่องความรู้สึก หนีได้ แต่มันจะยังคงส่งผลที่ความรู้สึกอยู่ดี แต่เรารู้ว่าเขาไม่ใช่ ก็ไม่จำเป็นต้องยืดเยื้อ ต่อเหตุ
กรรมเบาบางลงเมื่อไหร่ ความหลงก็จะลดลง จะจางลงพร้อมๆกับความทุกข์ (ใครเคยมีแฟนมาหลายคน ลองนึกถึงแฟนคนก่อน ๆ ตอนแรก ๆ ก็รักหลงมาก แต่พอกรรมหมด กลับไปเจอกันใหม่ก็รู้สึกเฉย ๆ แล้ว บางทีอาจจะรู้สึกว่า เคยรักไปได้ไง เคยทน เคยยอมอย่างนั้น ได้ไงก็มี)
ใช้หลักข้อนี้ในการแก้กรรมเป็นสำคัญ เราเรียกการไม่สร้างเหตุให้ผู้อื่นต้องทุกข์เพื่อตนเองจะต้องมารับผลว่า ศีล
แล้วจะทำสังฆทาน ทำทานช่วยเสริมด้วยก็ได้ เพราะการทำทานเป็นการฝึกสละ สิ่งของ เงิน ปัญญา เวลา หรืออะไรที่เรา ?ยึด? ว่าเป็นของเราเพื่อผู้อื่น ผลคือจะทำให้จิตใจคลายความยึด กับทั้งผู้รับก็ได้ประโยชน์ เราสามารถกรวดน้ำอุทิศบุญนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร
แต่เนื่องจากกรรมที่เราทำมาด้วยความไม่รู้มีนับไม่ถ้วนเท่ากับที่เราหลงเกิดมานาน การแก้กรรมไปเรื่อย ๆ จึงไม่ใช่ทางออกของความทุกข์ที่แท้จริง รูปแบบการเดินทางของจิตในสังสารวัฎส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะวน ที่จะมีทางที่แน่ชัด ตรง มีอยู่ทางเดียวคือเดินทางธรรม เพราะกิเลส ความไม่รู้ มันพาเราหลงไปซ้ายที ขวาที สับสนไม่รู้จะเอาอย่างไรกับชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับวิบากกรรม สิ่งแวดล้อม เสียงข้างนอก คนรอบข้าง จะพาไปทางไหน
เราจะเริ่มอยู่เหนือกรรมเมื่อเรารู้เท่าทัน และมีเป้าหมายที่ชัดเจน การเดินไปทางตรง คือการมีธรรมเป็นที่พึ่ง การเดินไปทางนิพพานคือการเจริญมรรค การภาวนา
ทางแก้เบื้องปลายของทุกข์ในเรื่องความรักจึงทำได้ด้วยการภาวนา การภาวนาแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ การทำสมถะและวิปัสสนา
การทำสมถะช่วยให้ใจสงบลงจากกิเลสชั่วคราว บรรเทาการฟุ้ง คิดมาก เพราะอยากในกาม เพราะโกรธแค้น หรือกิเลสต่าง ๆ เพื่อให้จิตมีคุณภาพพอที่เจริญวิปัสสนา เช่น คนทั่วไปขณะที่กำลังทุกข์มาก ก็เอาแต่คิดไม่หยุด คิดทีไรก็คิดไปในทางเพิ่มทุกข์ อารมณ์แบบนี้ไม่เอื้อต่อการให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามจริง หรือมีกรรมอยู่ รู้ทั้งรู้ว่ายังไม่เห็นทางชัดดี แต่ก็โดดไปทำสิ่งต่าง ๆ มั่ว ผลที่ได้คือการลองผิดลองถูก
เมื่อจิตสงบลงแล้ว นำมาเจริญวิปัสสนาต่อ ภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป วิปัสสนาจะช่วยให้จิตเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามจริง เห็นตามจริง ก็คือเห็นตรง คือ ให้เห็นว่า กายใจนี้ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน เมื่อกายใจเรายังสั่งควบคุมไม่ได้ เป็นไปตามอำนาจกรรมที่ทำให้หลง ภาวนาไปจนจิตคลายความสำคัญผิด เห็นว่ากายใจเรายังไม่ใช่ของดี ไม่น่าครอบครอง เราก็จะไม่หลงอยากครอบครองคนอื่น เมื่อไม่มีตัวเรา ก็ไม่มีผู้แบกทุกข์
ระหว่างทางจนกว่าจะถึงทางที่สุด คือนิพพาน ที่ใจถอนความเห็นผิดและเหตุแห่งทุกข์ได้หมดแล้ว การมีคนรักก็เหมือนมีเพื่อนร่วมทาง เพื่อนร่วมเป้าหมาย ที่พากันส่งเสริมกันไปทางนี้เท่านั้น
รักแท้จะมีได้เมื่อใจเราหมดกิเลส ความรักจึงไม่ขึ้นลงตามอารมณ์ และความไม่รู้ เมื่อหมดกิเลส ก็สงบ เป็นสุข ตลอดไป เข้าถึงความรักที่ให้ต่อใครได้อย่างไม่เป็นทุกข์อีกเลย
ที่มา :
http://www.sangtean.com/love/love-articles/354-love-kharma
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความเกี่ยวกับความรัก ความผูกพัน
ความรัก กรรม รักแท้ และการสิ้นสุดทุกข์
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?