เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
สังคมนักปราชญ์ ยุคนี้
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: สังคมนักปราชญ์ ยุคนี้ (อ่าน 3104 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3926
สังคมนักปราชญ์ ยุคนี้
เมื่อ:
กรกฎาคม 22, 2015, 08:04:48 AM
ในช่วงนี้มีคนแสดงตนออกมาเป็นนักปราชญ์ในสาขาต่างๆ กันมาก โดยสำคัญตนว่าเป็นผู้ชำนาญ ผู้รู้ถ่องแท้ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและบริหารสังคม การเมือง
มีปราชญ์ตั้งแต่ระดับครูสอนเด็กอนุบาล จนถึงศาสตราจารย์สอนในมหาวิทยาลับ
มีตั้งแต่เรียนไม่จบ ป.4 จนจบปริญญาเอก
ต่างก็ตั้งตัวเป็นปราชญ์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ สิน ด่า บุคคลอื่นที่ตนไม่ได้เห็นด้วยในรูปแบบต่างๆ ที่ส่อความรุนแรง ก้าวร้าว และหยาบคายมากขึ้น
คนที่คิดว่าตัวเองเป็นปราชญ์ มักสำคัญตัวเองว่า รู้ เก่ง และดีมากกว่าคนอื่น
ทำให้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง อัตตาสูง อีโก้จัด ใครตำหนิหรือแตะต้องไม่ได้
ยิ่งมีสื่อมวลชนให้ความสนใจ ขนานนาม หรือเสนอข่าวเข้าด้วย ยิ่งภูมิใจ เหลิง และเบ่งตัวตนจนหลามเหมือนอึ่งอ่าง ทำตัวเหมือนเป็นผู้รู้ -ถูกต้อง- และดีครบทุกอย่าง
บางคนพยายามสร้างอัตลักษณ์ประจำตัวให้เด่น หรือง่ายแก่การจดจำ ทั้งท่าเดิน ท่านั่ง การแต่งกาย ภาษาที่ใช้พูดแสดงความคิดเห็น รวมทั้งอุปกรณ์เสริมอัตลักษณ์อื่นๆ หรือการเสนอประวัติส่วนตัวที่แปลกพิสดาร เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
เรียกง่ายๆ ว่าต่างสร้าง "BRANDING" กันเต็มที่ ให้เตะตาผู้คน
บุคคลเหล่านี้มักสำคัญตัวเองผิด คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เขาเก่งกว่า ดีกว่า
การยกตัวให้สูงกว่าคนอื่น โดยการด่าว่า ประณาม ประจาน หยาบคาย เถื่อน ใส่ความ และจับผิดคนอื่น หรือแม้แต่ทำสิ่งที่ผิดกฎหมายเสียเองนั้น เป็นการแสดงความมีตัวตนเทียม(Pseudo Ego) ออกมา เพราะคนที่ว่าคนอื่นนั้น ก็ไม่ได้เป็นคนดีหรือถูกต้องอย่างไรเลย เป็นแต่ปากเก่ง แสดงความก้าวร้าว จับผิด ใส่ความ และหยาบคายได้มากกว่าคนอื่นเขา
เหมือนกำลังทำตัวเป็นอันธพาลเสียเอง (Antisocial) หรือทำตัวเป็นผู้ก้าวร้าวในสังคม(Aggressor)เพื่อให้คนอื่นยอมรับ และทำให้คู่กรณีสู้ไม่ทัน
ทำให้คนดู ผู้คนทั่วไป หรือพลังเงียบเกิดความเกรงหรือกลัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวจะโดนผลกระทบจากความก้าวร้าวเหล่านั้น
สิ่งที่ผู้ที่คิดว่าเป็นปราชญ์เหล่านี้กลัวมากๆ ก็คือ
- การเสียหน้า
- การเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
ปราชญ์ทางโลกส่วนมากจึงมีความอิจฉาริษยาสูงมาก ทนไม่ได้ถ้ามีใครว่าคนอื่นเก่งกว่า ดีกว่า และทนไม่ได้ถ้าใครว่าเขาไม่ดี ไม่เก่ง เพราะเขามีความหลงผิด หลงรักตัวเอง สำคัญตัวเองผิดตลอดมา
เขาจะเกิดความเจ็บปวดจากการหลงรักตัวเอง(Narcissistic Mortification) มาก
จึงชอบรับแต่สิ่งที่เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รวมทั้งเงินทองที่มีคนมาให้ บริจาค หรือตอบแทนการกระทำของเขา
ยามใดที่เขาได้รับสิ่งที่ไม่ดีตามโลกธรรม 8 เขาจะทนไม่ได้ เช่น การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และความทุกข์
ลักษณะเด่นของปราชญ์ทางโลกยุคนี้ส่วนใหญ่ คือ
1.ไม่ยอมรับว่าตัวเองทำความผิด แม้แต่สิ่งที่ทำนั้นจะผิดกฎหมายชัดๆ แต่มักจะผลักความผิดไปให้คนอื่น
2. ชอบหาจุดบกพร่องคนอื่น คิดว่าตัวเองดี คนอื่นไม่ดี
3. ขาดหิริโอตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวบาป
4. อิจฉาริษยา เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
5. ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น เพราะคิดว่าตัวเองดีกว่าเขา
ทำให้เกิดภาวะอีโก้จัด อัตตาสูง มีความหลงผิด สำคัญตัวเองผิด คิดว่าตัวเองดีกว่า วิเศษกว่าคนอื่นเขาตลอดไป
การพัฒนาจิตให้สูงขึ้น เพื่อลดความมีอัตตาก็เป็นไปได้ยาก เพราะมักเอาความเป็นตัวตน หรือ "อัตตา" เข้าไปคุม "จิต" เสียแล้ว จึงไม่เข้าใจและไม่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่มีอวิชชา มีความบกพร่องกันทุกคน น่าจะให้ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และหาทางลงโทษคนที่ "ทำความผิด" ไปตามกฎหมาย ด้วยความสำรวม ระวัง มีสติและปัญญาทางสังคมก็จะน่าอยู่มากขึ้น
ไม่ร้อนและเดือดร้อนเหมือนสังคมทุกวันนี้ ที่แลดูเหมือนมีปราชญ์เต็มเมือง แต่ถนัดแต่การโยนคบเพลิงเข้าหากันเพื่อเผาบ้านเผาเมือง เผาคนที่คิดไม่เหมือนตน จนสังคมร้อนระอุไปทั่ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ภาพ knonlafhun.blogspot.com
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
สังคมนักปราชญ์ ยุคนี้
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?