ผู้เขียน หัวข้อ: ดูยังไงว่าเสี่ยงหัวใจล้มเหลว  (อ่าน 2690 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
เมื่อ: มกราคม 25, 2021, 12:37:39 AM
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่จะควบคุมทุกๆปฏิกิริยาในร่างกาย หากเมื่อใดก็ตามที่หัวใจหยุดเต้น ร่างกายก็ต้องย่อมต้องขาดชีวิตไปเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้การดูแลหัวใจให้แข็งแรงเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิตหรือความดันโลหิต ยิ่งต้องมีการดูแลหัวใจและตรวจเช็คร่างกายอยู่สม่ำเสมอ เพราะหากเมื่อใดก็ตามที่หลงลืมการดูแลตัวเอง หรือละเลยการดูแลอวัยวะในส่วนนี้ไป อาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในทันที

มีผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคหัวใจและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งผลร้ายของมันอาจจะทำให้คุณต้องนอนติดเตียงหรือพิการตลอดชีวิต หรือถ้าแย่ไปกว่านั้นก็คือการเสียชีวิตแบบกระทันหัน ที่คงไม่มีใคร ทำใจได้ ซึ่งคงจะดีกว่าหากคุณสามารถที่จะตรวจเช็คสัญญาณที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อให้สามารถที่จะเตรียมตัวรับมือหรือเตรียมการได้ทัน และทำให้ผู้ป่วยรายนั้นปลอดภัยจากโรคๆนี้

คนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภาวะหัวใจล้มเหลว ก็คือ คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ซึ่งการป่วยเป็นโรคหัวใจอาจจะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่มีญาติหรือครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน และมีการสืบต่อโรคนี้ผ่านทางพันธุกรรม

นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในบุคคลที่มีร่างกายไม่แข็งแรงหรือขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงคนที่ดูแลร่างกายของตัวเองได้ไม่ดีเพียงพอ รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันสูงเป็นประจำ บวกกับความเครียดหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอก็สามารถทำให้คุณกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจล้มเหลวได้

โรคหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่หัวใจมีการไหลเวียนโลหิตไม่เหมือนเดิม อาจจะหยุดชะงัก จนทำให้ไม่สามารถที่จะนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ หัวใจจึงล้มเหลวและกล้ามเนื้อ เกิดความเสียหาย

การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดได้ทุกเพศและทุกกลุ่มอายุ เพียงแต่หากเกิดขึ้นในกลุ่มที่มีอายุสูง อาจจะทำให้การฟื้นตัวกลับมานั้นยากกว่าการที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า ในส่วนของอาการเริ่มต้นที่จะสามารถเป็นสัญญาณเตือนภัยให้เรารับรู้ถึงภาวะของอาการหัวใจล้มเหลวได้ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้

1 อาการเจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกอาจจะสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆกับคนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวข้องกับหัวใจอยู่แล้ว โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีอาการแน่นหน้าอก ซึ่งอาจจะเจ็บได้ทั้งหน้าอกข้างซ้ายหรือข้างขวาก็ได้ ด้วยหาอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมหนักหรือเกิดอารมณ์หนักๆ ยกตัวอย่าง เช่น เกิดอาการเจ็บหน้าอกในกำลังออกกำลังกาย หรือการเจ็บหน้าอกในขณะที่กำลังโกรธหรือโมโหอะไรบางอย่าง ก็ล้วนทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

2 รู้สึกเหนื่อยง่าย คนที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ระบบการบีบเลือดเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอาจจะทำงานได้ไม่ดีเท่ากับคนปกติอยู่แล้ว ดังนั้น คุณจึงมักจะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าคนอื่นๆ ทำอะไรเล็กๆน้อยๆก็อาจจะมีอาการหอบ หรือจำเป็นจะต้องหยุดพักระหว่างการทำกิจกรรมหนักๆอยู่เสมออยู่แล้ว แต่หากคุณพบว่าอาการเหนื่อยง่ายที่คุณเป็นนั้นมันมีความรุนแรงมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการเข้าไปตรวจโรคนี้เพิ่มขึ้นด้วย

3 เกิดอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รวมถึงอาการหัวใจเต้นเร็วบ้างช้าบ้าง ซึ่งทำให้ การใช้ชีวิตนั้นไม่ปกติเหมือนเดิม

4 เกิดอาการขาบวม เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งขาเป็นส่วนของอวัยวะที่อยู่ไกลจากหัวใจค่อนข้างมาก หากคุณมีอาการเท้าบวมนั่นหมายความว่า หัวใจมีการทำงานเพื่อสูบฉีดเลือดลดลง ทำให้ไม่สามารถที่จะหมุนเวียนเลือดไปสู่ขาได้อย่างสะดวกเหมือนเดิม จนเกิดเป็นเลือดคั่งสะสมอยู่บริเวณที่อวัยวะส่วนนี้ และเกิดอาการบวมได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นก็ ให้เริ่มสงสัยแล้วว่าหัวใจนั้นกำลังอ่อนแอลงอย่างรุนแรง

5 เป็นลมหมดสติหรือเกิดอาการหน้ามืดตาลาย หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นต้องรีบหาหมอโดยด่วน

หากอาการที่เกิดขึ้นทั้ง 5 ประการนี้เกิดขึ้นบ่อยขึ้น หนักขึ้น แสดงว่าหัวใจของคุณนั้นอ่อนแอลง และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ทุกเมื่อ คนรอบตัวจำเป็นที่จะต้องสังเกตลักษณะอาการและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้เกิดอาการภาวะหัวใจล้มเหลว และเป็นอันตรายต่อตัวเขาได้

วิธีแก้ไขภาวะนี้จำเป็นจะต้องใช้ยาเพื่อช่วยคืนสภาพให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตกลับเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อให้อวัยวะต่างๆได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดและออกซิเจน และสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติดังเดิม

สำหรับคนที่เริ่มรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภาวะหัวใจล้มเหลว ก็จำเป็นจะต้องมีการควบคุมการใช้ชีวิตให้ดีมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลายๆอย่างตามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าจะช่วยทำให้ร่างกายนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น ก็คื อการพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมความเครียด ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงการลดกิจกรรมต่างๆที่มีความเสี่ยงต่อระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น การงดสูบบุหรี่ เป็นต้น

หากคุณสามารถดูแลตัวเองได้ดีตามที่กล่าวไว้ก็จะช่วยทำให้หัวใจของคุณนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคตได้อย่างแน่นอน


ที่มา https://www.xn--22c0cohr1b8cc2cr6npa.com/read/6363