ผู้เขียน หัวข้อ: เอฟเฟกต์โควิดเขย่าการศึกษา เพิ่มแรงถดถอยการเรียนรู้  (อ่าน 3727 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3923
โดย ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค

ในเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์ทั่วโลก ตลอดจนไปถึงการทำงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตัวในที่สาธารณะ และสำคัญที่สุดคือเรื่องการศึกษาที่ต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง มิหนำซ้ำโรงเรียนต้องปิดเทอมนานขึ้นกว่าปกติ จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ อนาคตของเด็กอย่างไม่ได้ตั้งใจมีตัวเลขน่าสนใจว่าปิดเทอม 4 เดือนเกิดภาวะความรู้ถดถอยอย่างน่าตกใจ แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสที่เราจะช่วยกันยกเครื่องการศึกษาให้เดินหน้าและอยู่กับโรคได้อย่างปลอดภัย

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ย่อภาพการศึกษาจากทั่วโลกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ทำให้หลายประเทศต้องเริ่มทำการหยุดโรงเรียนตั้งแต่เดือน มี.ค.2563 และใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนทางไกล กับการเรียนในสถานที่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของโรคระบาดในพื้นที่และนโยบายของรัฐบาลประเทศนั้นๆ บางโรงเรียนอาจจะยังไม่เคยมีการกลับไปเปิดอีกเลยบางแห่งก็ใช้ระบบการแบ่งสีตามพื้นที่และความรุนแรงของการระบาด และปรับการปิดเปิดโรงเรียนตามสีนั้น ๆ เช่นรัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ใช้ระบบเฉดสี ดูตามจำนวนเคส หากเป็นพื้นที่รุนแรงก็ยังไม่เปิดเรียน ยกเว้นในกรณีของเด็กเล็ก ที่อาจจะขออนุญาตเปิดเป็นกรณีพิเศษได้

สำหรับผลกระทบในแง่ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจนั้น ศาสตาจารย์อีริค ฮานูเชค นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ได้ทำประมาณการโดยพิจารณาจากประเทศในกลุ่ม OECD พบว่าการที่ต้องปิดโรงเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดสภาวะ Learning Loss หรือความรู้ที่หายไป ซี่งมีผลต่อรายได้ในอนาคตของเด็กเหล่านั้น ไปจนถึงผลกระทบต่อ GDP ของประเทศในระยะยาว โดยประมาณการว่าหากนักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียนประมาณ 4 เดือน จะทำให้รายได้ในอนาคตตลอดช่วงชีวิตของเขาหายไป 2.6% และส่งผลต่อ GDP ของประเทศลดลง 1.5% ไปตลอดช่วงศตวรรษ (จนถึงปี 2100) คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันของ GDP ประเทศ ถึง 69% ในกรณีของประเทศไทยอาจจะคิดได้เป็นมูลค่าเศรษฐกิจที่สูญหายในตลอดช่วงศตวรรษถึงกว่า 9 แสนล้านเหรียญ เลยทีเดียว

อีกด้านหนึ่งได้มีการประเมินกันว่าภาวะ Learning Loss ที่เกิดในช่วงการเรียนแบบทางไกลจะเกิดแบบไม่สมดุล เช่น กลุ่มเด็กยากจน กลุ่มด้อยโอกาสจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มเด็กที่มีเศรษฐฐานะที่ดีกว่า ยิ่งเด็กยากจนก็ยิ่งมีโอกาสที่จะหลุดจากระบบการศึกษามากว่าเด็กกลุ่มอื่น งานวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพบว่าเด็กที่สามารถเรียนแบบออนไลน์ได้ดีในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คือเด็กที่เรียนในห้องเรียนได้ดีอยู่แล้ว แต่เด็กกลุ่มระดับกลาง หรือระดับล่างในห้องเรียน เมื่อเรียนออนไลน์ ก็จะเกิด Learning Loss ที่รุนแรง ทำให้ยิ่งถูกทิ้งห่าง? ?ที่สำคัญความน่ากลัวอยู่ตรงที่เมื่อปลายปีที่แล้ว ธนาคารโลกได้มีรายงานว่าประเทศไทยช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 ก็มีสถานการณ์ Learning Poverty หรือสภาวะความยากจนของการเรียนรู้อยู่แล้ว ประมาณ 23% คือในเด็กไทยอายุสิบขวบ 100 คน มีเด็กที่ไม่สามารถอ่านเขียนได้คล่องถึงประมาณ 20 คน เทียบกับเด็กมาเลเซีย 13 คน สิงค์โปร์ 3 คน หรือเด็กเวียดนาม 2 คน เมื่อเกิดโควิดก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ Learning Poverty ของประเทศแย่ลงกว่าเดิม ?อันจะนำไปสู่ความสูญเสียของทรัพยากรมนุษย์ของเขาและรายได้อนาคต คุณภาพชีวิต รวมไปถึงระดับความเจริญทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังได้ระบุในรายงานดัชนีทุนมนุษย์ว่านักเรียนไทยใช้เวลาเฉลี่ยในการเรียนหนังสือประมาณ 12.7 ปี แต่ความรู้ที่ได้กลับเทียบได้กับการเรียนเพียง 8.7 ปี ดังนั้นถึงไม่มีโควิด เด็กไทยก็มีความรู้ที่หายไปประมาณ 4 ปีอยู่แล้วอันเนื่องมาจากคุณภาพการเรียนการสอน ยิ่งเกิดสถานการณ์ที่เด็กไม่ได้เรียนในโรงเรียนตามปกติ ความรู้ที่เขามีก็คงจะยิ่งลดน้อยลง อย่างไรก็ตามที่กล่าวมานั้นเป็นแค่การมองในแง่เศรษฐกิจ แต่ยังไม่ได้มองในแง่ของทุนมนุษย์ ทั้งเรื่องสภาพจิตใจ อารมณ์ การพัฒนาทักษะในสังคมต่าง ๆ ซึ่งเด็กจะขาดไปเมื่อไม่ได้มาเรียนหนังสือในโรงเรียน รวมไปถึงเรื่องอาหารที่ขาดแคลนในกลุ่มเด็กยากจน และเด็กที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่เป็นหลักก็จะมีปัญหา เพราะไม่ได้มามีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ครู ?โดยเฉพาะเด็กพิการ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่ชีวิตอันปราศจากโรงเรียนจะยิ่งมีปัญหาที่รุนแรงกว่าเดิม รวมไปถึงกลุ่มเด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนในช่วง 0-7 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงวัยทองหรือ Golden Age ของพัฒนาการในชีวิต หากผ่านช่วงวัยนี้ไปแล้วจะย้อนกลับมาพัฒนาก็อาจจะสายเกินไป หากเป็นพ่อแม่ชนชั้นกลางก็อาจสามารถจ้างครูพี่เลี้ยงมาสอนหรือสามารถดูแลเองได้ แต่สำหรับครอบครัวที่ยากจนต้องพึ่งพาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน ในช่วงเวลาที่ศูนย์เด็กเล็กต้องถูกปิดย่อมมีผลต่อพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง

ดร.ภูมิศรัณย์ ยกตัวอย่างทางออกว่า สำหรับทางออกของปัญหา ยกตัวอย่างจากบทเรียนในต่างประเทศที่มีหลายแห่งซึ่งมักให้ความสำคัญกับเด็กเล็ก เด็กที่มีความต้องการพิเศษก่อน และมักจะมีการจัดให้เด็กได้มาเรียนกับครูจริงๆ ?โดยใช้มาตรการ ?โซเชียล ดิสแทนซิ่ง? ในต่างประเทศจะมีการลงทุนตรวจคัดกรองครูอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่พบการติดเชื้อ ในขณะที่ของไทยมักจะทำเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น นอกจากการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอแล้วในหลายประเทศมีการจัดห้องเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยนำเด็กและ ครู ที่ผ่านการคัดกรองแล้ว มาเรียนเป็นกลุ่มประมาณ 10-15 คน เรียกว่า Learning Pod เรียนโดยไม่ไปปะปนกับกลุ่มอื่น ซึ่งมีทั้งพ่อแม่จ้างครูมาช่วยสอน ภาครัฐเข้ามาช่วยจัดการ ไปจนถึง NGO อาสาสมัครไปช่วยสอนตามชุมชน ซึ่งทำให้อย่างน้อยเด็กได้เจอกับเพื่อนๆ หรือครูจริงๆ

''อีกเรื่องที่สำคัญคือการวัดผล ประเมินผล เพราะช่วงโควิดทำให้ระบบวัดผลประเมินผลในหลายประเทศต้องถูกยกเลิกไป ?หากเด็กต้องกลับไปเรียนโดยมีความรู้ที่หายไป ก็จะเกิดความเสียหายในระยะยาว เพราะจะเรียนตามเพื่อนไม่ทัน รวมถึงไม่สามารถรองรับเนื้อหาใหม่ๆ ที่ยากขึ้นไปได้ ดังนั้นจึงควรมีการวัดผลประเมินผลเพื่อให้ครูสามารถรู้ได้ว่าทักษะความรู้ของเด็ก ณ วันที่เขากลับมาเรียนเป็นอย่างไร หายไปแค่ไหน ควรสอนเสริมในประเด็นใด พร้อมกับมีระบบ???การเรียนแบบเร่งรัด (acceleration program) ให้เด็กสามารถเรียนได้ทันเพื่อน หลายประเทศมีแนวทางที่ใช้วิธีต่างกัน ทั้งใช้ระบบติวเตอร์ ทั้งแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือแบบห้องเรียน ที่ทำโดยภาคเอกชน NGO ภาครัฐ ที่สนับสนุนงบประมาณ หรือใช้การสอนเสริมในท้ายของวัน หรือเพิ่มเวลาเรียนในช่วงเสาร์ อาทิตย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา learning loss แบบถาวร''

ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวว่า การสอนเสริมยังถือเป็นการช่วยอุดช่องว่างสำหรับพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงการเรียนออนไลน์ เพราะสถานการณ์ ?COVID SLIDE? ทำให้เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ บางคนเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต หรือบางคนเข้าถึงแต่ไม่ตั้งใจเรียนเพราะไม่เหมือนการเรียนกับครูจริง ๆ ?ความรู้จึงหายไปแน่นอน ในประเทศที่มีเศรษฐกิจดีอาจจะมีการลงทุนในการจ้างครูหรือติวเตอร์หรือใช้ผู้ช่วยสอนเข้ามาทำหน้าที่เป็นติวเตอร์หรือใช้บริการของภาคเอกชนเข้ามา ในประเทศอินเดียมี NGO กลุ่มประถม (Pratham) ที่จัดอาสาสมัครในหมู่บ้านเพื่อลงไปวัดผลการเรียนรู้และช่วยติวเด็กที่เรียนตามไม่ทัน สิ่งที่สำคัญคือการจัดการศึกษาช่วงโควิดต้องเป็นการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นให้เหมาะกับบริบทของนักเรียน ทั้งแบบเรียนออนไลน์ 100% หรือ ไฮบริด ที่ใช้การเรียนออนไลน์ ผสมการเรียนที่โรงเรียน การสลับชั้นเรียน การให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กเล็ก การยืดหยุ่นในการส่งการบ้าน การวัดผล

ขณะเดียวกันยังต้องหาทางป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาขยายตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด ?โดยต้องหาทางลด Learning Gap ในระบบการเรียนทางไกล ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต้องตระหนักความจริงที่ว่าเด็กมีความพร้อมกับการเรียนแบบออนไลน์ต่างกัน โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มยากจน ด้อยโอกาส ที่จะเป็นกลุ่มที่เสียเปรียบคนอื่นๆ ซึ่งนโยบายที่ควรทำคือการมุ่งไปที่การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในกลุ่มนี้เป็นลำดับต้นๆ รวมไปถึงเด็กเล็ก เด็กพิการ ผู้มีความต้องการพิเศษ โดยอาจใช้วิธีการเรียนในสถานที่จริง จัดทำห้องเรียนขนาดเล็ก (Learning Pod) ที่ใช้หลัก ?โซเชียล ดิสแทนซิ่ง?? หรือใช้วิธีการอื่น ๆ หากไม่สามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ เช่น สนับสนุนระบบ Learning Box, Black Box รถพุ่มพวง ครูหลังม้า อาสาสมัครการศึกษา ซึ่งอย่าไปคาดหวังว่าจะทำให้เรียนได้เหมือนในห้องเรียนปกติ 100% แค่ทำได้ 60-70 % ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว นี่เป็นเพียงแค่มาตรการช่วยบรรเทาเท่านั้น

''สุดท้ายการแก้ปัญหาความรู้ที่หายไปจริงๆ หลังจากโรงเรียนกลับมาเปิดแล้วจะต้องใช้วิธีการประเมินเพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้ว่าความรู้ของเด็กที่หายไปแต่ละคนมีความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน เพื่อที่ครูจะได้เข้าไปช่วยสอนเสริมได้ถูกต้องเหมาะสม จะหวังว่าหากนักเรียนได้รับการการเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องสอบแล้วจะไม่ต้องสนใจความรู้ที่หายไปคงไม่ได้ ภาครัฐและโรงเรียนจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการเน้นให้เกิดแนวทางในการการประเมินผล และติวสอนเสริมให้ความรู้ของนักเรียนกลับมา ไม่เช่นนั้นความรู้ในอนาคตของพวกเขาก็จะห่างหายไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ หากเด็กไม่มีความรู้พื้นฐาน?ที่แน่นพอ การเรียนขั้นต่อมาก็จะเป็นไปได้ยาก หากท่องสูตรคูณพื้นฐานยังไม่ได้ จะไปเรียนเรื่อง ครม. หรม. ก็ยิ่งตามไม่ทัน เพราะเนื้อหาจะยิ่งซับซ้อน ?อาจจะกลายเป็นคนที่โตมาแล้วเกลียดวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับทักษะและอาชีพของศตวรรษที่ 21 งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าจากสถานการณ์โควิด-19 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์เกิดสถานการณ์ความรู้หายไปที่รุนแรงมากที่สุดเมื่อเด็กไม่ได้ไปเรียนในห้องเรียนจริง เทียบกับความรู้ด้านการอ่าน ซึ่งคะแนนไม่ได้ลดลงมากนัก''


ที่มา https://www.eef.or.th/article-effects-of-covid-19