เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน (อ่าน 2873 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3910
เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน
เมื่อ:
เมษายน 29, 2021, 12:34:04 AM
การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นวิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของเด็กอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้วิธีการลงโทษ จะมีจุดมุ่งหมายให้เด็กรู้จักควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเอง มากกว่าที่จะโดนบังคับ เพื่อให้เด็กเกิดการปรับพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นและมีผลต่อเนื่องไปในอนาคต
การสร้างวินัยเชิงบวกนั้น มีความแตกต่างจากการลงโทษปกติ เพราะการลงโทษโดยทั่วไปนั้น เป็นการบังคับให้หยุดพฤติกรรมจากภายนอก ซึ่งสามารถหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กได้ทันที แต่ไม่อาจจะทำให้เด็กสำนึกได้ด้วยตัวเอง และยิ่งลงโทษมากเท่าไหร่ การแสดงพฤติกรรมต่อต้านของเด็กก็มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการสร้างวินับเชิงบวกที่เน้นการพูดคุย ปรับความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อหาทางแก้ปัญหาในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก ถึงแม้ว่าวิธีนี้อาจต้องใช้เวลาในการปรับพฤติกรรมนานกว่าวิธีแรก แต่ถ้าสามารถทำให้สำเร็จ จะทำให้เด็กมีวินัยจากใจของตัวเองและจะเป็นผลที่ดีต่อเด็กไปในระยะยาว
การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นวิธีการที่สอดคล้องกับธรรมชาติการรับรู้และการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวถึงเด็กจะรับรู้สิ่งที่เราสื่อสารได้ดีเมื่อเราตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจของเด็กก่อน แล้วสมองของเด็กจึงจะเปิดรับสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร และเด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เราสื่อสารได้ดีเมื่อเราสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กก่อน แล้วสมองของเด็กจะพร้อมทำความเข้าใจ
เทคนิคของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. ควรชมเชยนักเรียนแบบเฉพาะเจาะจงตามสมควร เพื่อให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ
2. ในการพูดคุยกับนักเรียน ครูผู้สอนควรยืนในระดับสายตากับนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนรู้สึกได้รับความใส่ใจ มีคุณค่าและเชื่อใจ
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีทางเลือกในเชิงบวก โดยไม่ใช้การสั่งหรือการบังคับ เช่น มีข้อเสนอให้นักเรียนเลือกว่า จะให้จัดสอบหรือจะทำรายงานมาส่งเก็บคะแนน ซึ่งสิ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
4. ใช้วิธีการเบี่ยงเบนพฤติกรรมแทนการสั่งให้หยุดหรือห้าม เช่น นักเรียนบางคนที่ชอบเหม่อลอยออกไปนอกหน้าต่าง ก็อาจเปลี่ยนที่นั่งให้ใกล้ชิดคุณครูหรือให้ห่างจากหน้าต่างแทนการไปดุต่อว่านักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความรู้สึกต่อต้านได้
5. ควรให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน ในฐานะเขาเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน เขาควรมีสิทธิ์ในการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับชั้นเรียนและควรมอบหมายหน้าที่ให้เขาดูแลตามสมควร
6. ใช้โทนเสียงปกติในการพูดคุยกับนักเรียน ไม่ตะโกนใส่ ซึ่งจะทำให้ชั้นเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดี นักเรียนก็พร้อมที่จะตั้งใจฟังครู และพฤติกรรมที่ดีของครูก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนต่อไป เพราะไม่มีใครชอบคนที่ตะโกนใส่ตัวเอง ดังนั้นจึงควรพูดคุยกับเด็กด้วยโทนเสียงปกติ
7. สอนให้เด็กรู้จักเลือกที่จะทำอะไรก่อนและหลัง
8. กำหนดเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน และกำชับให้นักเรียนคำนึงถึงการรักษาเวลาอยู่เสมอ
9. ครูควรมีโอกาสบอกความรู้สึกของตัวเองกับนักเรียน ถึงสิ่งที่นักเรียนกำลังกระทำอยู่ว่า ครูชอบและชื่นชมในสิ่งที่เขาทำดี หรือรู้สึกเสียใจกับพฤติกรรมไม่ดีของเขา ซึ่งจะทำให้เขาได้เรียนรู้ว่าทุกการกระทำของเขาส่งผลต่อความรู้สึกของคนอื่น
10. ส่งเสริมให้นักเรียนทำความเข้าใจตัวเอง ซึ่งแต่ละคนล้วนมีความแตกต่าง และแม้จะคนเดียวกัน แต่ในแต่ละวันก็มีอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน เราจึงควรสอนให้นักเรียนรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เพื่อที่จะได้จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเหมาะสม คือสามารถกำกับตัวเองได้นั่นเอง
การใช้คำพูดเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างวินัยเชิงบวก
จากเทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกจะเห็นได้ว่า เป็นวิธีที่ส่งเสริมให้ครูได้ใช้วิธีการเพื่อการสอนมากกว่าการสั่ง ซึ่งคีย์เวิร์ดที่สำคัญในเรื่องของการสร้างวินัยเชิงบวกนี้คือ เรื่องของการเลือกใช้คำ โดย ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ได้บอกถึงแนวทางในการตรวจสอบคำพูดของตัวเองว่า ช่วยให้นักเรียนมีวินัยเชิงลบหรือเชิงบวกหรือไม่ ได้แก่
1. คำพูดนั้น เป็นการสั่ง หรือ การสอน การสั่งคือ การบังคับให้ทำ ส่วนการสอนคือการบอกและส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำด้วยตัวเอง ซึ่งการสอนนั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจของนักเรียนได้ดีกว่าการสั่งหรือการบังคับ
2. คำพูดนั้น เป็นสิ่งที่พูดถึงอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เราควรจะพูดถึงพฤติกรรมของนักเรียนในเรื่องของปัจจุบัน ไม่ควรจะยกเรื่องในอดีตหรืออนาคตมากล่าวถึง เช่น เราพบว่านักเรียนหลับระหว่างเรียนหนังสือ เราควรจะพูดคุยกับเขาเฉพาะพฤติกรรมดังกล่าว และไม่ควรต่อว่าเด็กถึงการมาสายของเด็กเมื่อหลายวันก่อน หรือพูดถึงเรื่องที่เราคิดว่าเขาจะทำ แต่เขายังไม่ได้ทำ เป็นต้น
3. คำพูดนั้น เข้าใจยากหรือง่ายสำหรับนักเรียนหรือไม่ นักเรียนแต่ละระดับ มีระดับความเข้าใจในการสื่อสารแตกต่างกัน การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
4. คำพูดลักษณะของคำพูด ควรเปลี่ยนจาก ?ห้าม ไม่ อย่า หยุด? ซึ่งเป็นคำที่ทำให้สมองต้องประมวลผล 2 รอบ ให้เป็นการบอกสิ่งที่ต้องการให้ทำไปตรงๆ เช่น แทนที่จะบอกว่า ?อย่าวิ่ง? ให้เปลี่ยนเป็น ?ค่อยๆ เดิน? เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้คำและการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อนักเรียนนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างวินัยเชิงบวก ซึ่งแน่นอนว่า ในช่วงแรกอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากในการจัดการชั้นเรียน แต่ถ้าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การสร้างวินัยเชิงบวกนี้จะทำให้การจัดการชั้นเรียนไปเรื่องที่ง่ายดายขึ้น และส่งผลดีกับนักเรียนเพราะจะทำให้เขาเป็นคนที่รู้จักควบคุมตัวเอง มีเหตุผล และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้เลยก็ว่าได้
เอกสารอ้างอิง
https://www.kroobannok.com/3168
https://www.thaihealth.or.th/Content/34289-10%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81
https://www.roong-aroon.ac.th/?p=7739
ที่มา : trueปลูกปัญญา
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?